ลูกติดมือ ไม่มีจริง! ยิ่งอุ้มลูกบ่อย ลูกยิ่งเลี้ยงง่าย อารมณ์ดี- Amarin Baby & Kids
อุ้มลูกบ่อย

ลูกติดมือ ไม่มีจริง! ยิ่งอุ้มลูกบ่อย ลูกยิ่งเลี้ยงง่าย อารมณ์ดี

Alternative Textaccount_circle
event
อุ้มลูกบ่อย
อุ้มลูกบ่อย

คุณพ่อคุณแม่ไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก่า น่าจะเคยได้ยินคำแนะนำจากผู้ใหญ่หรือคุณย่าคุณยายมาบ้างว่า “ อย่า อุ้มลูกบ่อย เดี๋ยวจะทำให้ติดมือ! ”     เพราะเมื่อลูกน้อยร้องไห้ทีไร   เมื่อเข้าไปอุ้มลูกก็จะหยุดร้องไห้ทันที!   ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนชะงัก  ลังเลที่จะอุ้มลูกเวลาร้องไห้    กลัวว่าอุ้มแล้วจะทำให้ลูกเคยตัว  ทำให้ต้องอุ้มตลอดเวลา เหมือนที่ผู้ใหญ่เตือนมาหรือเปล่า?

อุ้มลูกบ่อย จะติดมือไหม ปัญหาคาใจพ่อแม่มือใหม่

ก่อนอื่นอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกันใหม่   โดยต้องถอดคำว่า “ติดมือ” ออกจากพจนานุกรมของการเลี้ยงลูกไปเลย โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่มีเบบี๋วัยแรกเกิด  0-6 เดือน งานวิจัยและคุณหมอเด็กหลายท่านให้ข้อมูลไปในทางเดียวกันว่า เด็กแรกเกิดเคยชินกับการใช้ชีวิตอยู่ในท้องคุณแม่ที่แสนอบอุ่น มืดๆ ห่อๆ  มีน้ำคร่ำที่ทำให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวยุกยิกอยู่ตลอดเวลา

อุ้มลูกบ่อย

แต่พอออกมาลืมตาดูโลกแล้ว โลกนี้มันช่างกว้างใหญ่ หนูนอนอยู่คนเดียวมันเคว้งคว้าง น่ากลัวเสียเหลือเกิน ด้วยเหตุนี้ หนูเลยต้อง “สื่อสาร” บอกพ่อแม่ให้รู้ว่า “หนูไม่โอเคกับความรู้สึกโดดเดี่ยวแบบนี้นะ”   ใครก็ได้ช่วยมาให้ความอบอุ่นหนูหน่อยเถอะ

MUST READ : ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ?

MUST READ: แม่อุ้มลูก ข้างซ้ายเพราะอะไร

” อุ้มลูกบ่อยไม่ดี”   แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนไหนควรอุ้ม

สำหรับเด็กแรกเกิด – 6 เดือน ไม่มีคำว่า “อุ้มลูกบ่อย เกินไป” หรือ “ติดมือ” เมื่อลูกเรียกร้อง คุณแม่ควรอุ้มลูกเสมอ เพราะเด็กวัยนี้กำลังสร้างความไว้ใจ (trust) กับโลกใบใหม่  และผู้มีบทบาทสำคัญที่สุด ก็คือแม่หรือคนเลี้ยงดู ทารกที่ได้รับการตอบสนอง มีคนมาอุ้ม กอด พูดคุยปลอบโยน จะมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เลี้ยง เด็กจะมั่นใจว่ามีคนคอยดูแล

อุ้มลูกบ่อย

เมื่อโตขึ้น เด็กๆเหล่านี้จึงมีแนวโน้มที่จะเลี้ยงง่าย มีความมั่นคงทางจิตใจ และอารมณ์ดี ต่างกับเด็กทารกที่ไม่มีคนดูแล           ทำความสะอาดร่างกาย ปล่อยให้ไม่สบายตัวหรือหวาดกลัวนานๆ ซึ่งนั่นอาจทำให้เด็กขาดความอบอุ่น โตขึ้นมักมีนิสัยเรียกร้องความสนใจตามมา

แต่เมื่อลูกโตขึ้น และเข้าสู่วัย 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่และลูกน้อยทำความรู้จักจนเริ่มรู้ใจ   ไว้ใจกันมากขึ้นแล้ว อาจไม่ต้องเด้งตัว พุ่งไปหาลูกทันทีอเวลาได้ยินเสียงร้องไห้ เหมือนตอนช่วงแรกๆ  แค่ส่งเสียงตอบรับรู้ พูดคุย บอกให้รอ แล้วค่อยๆ วางมือจากภารกิจตรงหน้าอย่างไม่เร่งร้อน  ก่อนไปหาลูก วิธีการนี้จะช่วยให้ลูกเริ่มรู้จักการรอคอยและเชื่อใจว่า  เดี๋ยวก็จะมีคนมาดูแลแน่นอน

อ่าน เทคนิคแสดงความรักแบบลูกไม่ติดมือ หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up