ลูกมีขี้หู แคะหูให้ลูก ได้ไหม ควรทำความสะอาดอย่างไร? - Amarin Baby & Kids
แคะหูให้ลูก

ลูกมีขี้หู แคะหูให้ลูก ได้ไหม หูลูก ควรทำความสะอาดอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
แคะหูให้ลูก
แคะหูให้ลูก

แคะหูให้ลูก – หนึ่งในเรื่องของการดูแลรักษาความสะอาดให้ลูกวัยทารก ที่คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านอาจยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ แน่นอนว่าต้องมีเรื่องการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณหูลูกวัยทารก เพราะอย่างเราๆ เวลาเรารู้สึกว่ามีขี้หู ไม่ได้แคะหูมานานแล้วหลายคนก็เลือกที่จะใช้คอตตอนบัดแคะเข้าไปในหูเพื่อทำความสะอาด หลายคนอาจจะรู้สึกว่ายิ่งแคะก็ยิ่งเพลิน แต่สำหรับทารกล่ะ? หากเรามองเห็นว่าลูกวัยทารกของเรามีขี้หู เราจะทำแบบเดียวกันได้มั้ย? หรือวควรต้องทำยังไงหากต้องการทำความสะอาดหูให้ลูก วันนี้เรามาไขข้อข้องใจในเรื่องนี้กันค่ะ

ลูกมีขี้หู แคะหูให้ลูก ได้ไหม หูลูก ควรทำความสะอาดอย่างไร?

เมื่อพูดถึงการทำความสะอาดหูของทารก ความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก  มีวิธีการและเครื่องมือมากมายในการทำความสะอาดหูของทารก ซึ่งความจริงแล้วคุณพ่อคุณแม่สามารถทำความสะอาดหูให้ลูกได้ แต่ควรเป็นการทำความสะอาดเฉพาะบริเวณหูชั้นนอก และรอบ ๆ เท่านั้น  โดยสิ่งที่ต้องมีในการทำความสะอาดหูให้ลูกวัยทารก คือ ผ้าเช็ดตัวเนื้อนุ่ม หรือสำลีก้อน และน้ำอุ่น  วันนี้เรามาดูวิธีทำความสะอาดหูของลูกน้อย พร้อมคำแนะนำด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กกันค่ะ

วิธีทำความสะอาดหูของลูกน้อย

ในการทำความสะอาดหูของทารกทุกวันหรือเป็นประจำ ควรใช้สำลีก้อนชุบน้ำอุ่น หรือผ้าขนหนูนุ่มๆ กับน้ำอุ่น (ไม่ร้อน) ก็ได้ โดยการทำความสะอาด จะอยู่ในบริเวณหูชั้นนอก ซึ่งเป็นวิธีที่กุมารแพทย์แนะนำมากที่สุด

  • ชุบผ้าขนหนูด้วยน้ำอุ่นพอหมาดๆ  ตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำไม่ร้อนเกินไป
  • เช็ดรอบหูชั้นนอกของทารก ทั้งใบหู และปากรูหู เพื่อทำความสะอาดคราบขี้หู (Ear Wax)
  • ไม่ควรใช้ชายผ้าสอดไปในรูหูของทารก (รวมถึงคอตตอนบัด) เพราะไม่ใช่วิธีการทำความสะอาดหูของทารกที่ถูกต้อง

เหตุใดจึงไม่ควรใช้คอตตอนบัด แคะหูให้ลูก

สำลีก้านหรือคอตตอนบัด อาจไม่ปลอดภัยที่จะใช้กับทารกหรือเด็กเล็ก ความจริง ตั้งแต่ปี 1990-2010 การทำความสะอาดหูโดยใช้การแคะหูเป็นสาเหตุที่เด็กเล็กในสหรัฐอเมริกาต้องเข้ารับการรักษาห้องฉุกเฉินบ่อยครั้งด้วยอาการบาดเจ็บที่หู เด็กกว่า 260,000 คนได้รับผลกระทบจากการทำความสะอาดหูที่ไม่ถูกวิธี สิ่งที่ควรพึงระลึกไว้เสมอ คือ หากคุณเห็นคราบขี้หู หรือของเหลวที่เกาะอยู่ด้านนอกหู ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นชุบน้ำอุ่นเช็ดออก และให้ทิ้งสิ่งที่อยู่ในหู (ส่วนที่มองไม่เห็น) ไว้ เพราะการแคะหูให้เด็กเล็กเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่แก้วหู กระดูกหู หูชั้นใน ได้ ซึ่งล้วนแต่ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนทางสุขภาพในระยะยาวสำหรับเด็กได้

 

แคะหูให้ลูก
แคะหูให้ลูก ( Credit : www.thebump.com)

ข้อควรระวังในการทำความสะอาดหูทารกเด็กเล็ก

  • ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดรูหู เพราะจะทำให้ผิวหนังบริเวณรูหูแห้ง อาจเกิดการระคายเคืองได้
  • ระวังอย่าให้น้ำเข้ารูหู ขณะอาบน้ำหรือสระผมให้ลูก หากกังวลว่าขณะอาบน้ำจะมีน้ำเข้าหูลูกให้ใช้สำลีปั้นก้อนขนาดพอเหมาะอุดไว้บริเวณหูลูกได้

อุทาหรณ์!! เลี้ยงหมาในบ้าน ระวัง เห็บหมาเข้าหูลูก

หูชั้นกลางอักเสบในเด็ก หูติดเชื้อในเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล็กถ้าลูกป่วย!

อุทาหรณ์! ลูก ขี้หูเหม็น ขี้หูหมักหมมจนเน่า! เกือบเป็นหูน้ำหนวก

อะไรทำให้ขี้หูสะสมในหูทารก?

ขี้หูสะสมในทารกเกิดขึ้นได้ไม่บ่อย เพราะโดยปกติ ช่องหูของเด็กวัยนี้จะผลิตขี้หูในปริมาณที่เหมาะสม แต่ในบางกรณี ขี้หูที่สะสมมากเกินไปอาจรบกวนการได้ยิน หรือทำให้เกิดอาการปวดหรือไม่สบาย ลูกน้อยของคุณอาจดึงหูเพื่อแสดงความรู้สึกไม่สบาย

สาเหตุบางประการของการสะสมของขี้หู ได้แก่ :

  • การใช้คอดตอนบัดขนาดใหญ่หรือเท่ากับรูหู ปั่นหู แคะหู อาจดันขี้หูให้ลึกลงไป ทำให้เกิดปัญหาขี้หูอุดตันได้ในภายหลัง
  • นิ้วทารกแหย่หูบ่อยๆ อาจทำให้ขี้หูสะสมในรูหูได้
  • การให้เด็กใส่ ที่อุดหู (Ear Plug) สามารถดันขี้หูกลับเข้าไปในหู และทำให้เกิดการสะสมของขี้หูภายในได้

อย่าพยายามกำจัดขี้หูให้ลูกเอง หากคุณกังวลเรื่องขี้หูของลูก ให้พาลูกไปพบกุมารแพทย์ เพื่อให้แพทย์ประเมินว่าจำเป็นต้องกำจัดขี้หูออกหรือไม่

ขี้หูเป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่?

หากสังเกตเห็นขี้หูอยู่ในหูของลูก คุณไม่จำเป็นต้องพยายามแคะออกมา เพราะสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กแล้ว ขี้หู ถือว่ามีประโยชน์อย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง  เช่น

  • ปกป้องแก้วหู และช่องหู ไม่ให้อับชื้น ช่วยป้องกันเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย และการติดเชื้อต่างๆ
  • ดักจับสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง และอนุภาคอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เข้าไปในช่องหูที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองหรือบาดเจ็บ

 

แคะหูให้ลูก

เมื่อไหร่ที่ต้องขอความช่วยเหลือ

ควรไปพบแพทย์ทันที หากคุณสังเกตเห็นว่ามีเลือดออกจากหูของลูก หรือ เสียการทรงตัวในการเดิน  นอกจากนี้ ควรแจ้งให้กุมารแพทย์ทราบ เมื่อลูกมีพฤติกรรมผิดปกติต่างๆ เช่น มีพฤติกรรมดึงหูตัวเองบ่อยจนผิดสังเกต หรือ เห็นได้ชัดความสามารถในการได้ยินลดลง หรือมีสิ่งคัดหลั่งไหลออกจากหูของลูกเป็นสีเหลืองเขียว ในบางกรณีแพทย์อาจตัดสินใจนำขี้หูของทารกออกหากขี้หูทำให้เด็กรู้สึกไม่สบาย เจ็บปวด หรือถูกรบกวนการได้ยิน ในบางกรณีหากแพทย์สังเกตเห็นสัญญาณของการติดเชื้อที่หูของเด็ก แพทย์อาจสั่งยาหยอดหูยาปฏิชีวนะสำหรับลูกน้อยของคุณ

เรื่องขี้หู อาจดูเป็นเรื่องเล็ก แต่ก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ หากดูแลไม่ถูกวิธีอาจเกิดการบาดเจ็บ หรือทำให้เด็กได้รับผลกระทบที่รุนแรงได้ เช่น มีปัญหาด้านการได้ยิน คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลหูของลูกอย่างใกล้ชิด และทำอย่างระมัดระวังมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อเด็กๆ เติบโตขึ้นถึงวัยที่สามารถดูแลตัวเองได้ดีขึ้น การปลูกฝังให้ลูกใส่ใจ ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย และเข้าใจในความสำคัญของการมีสุขอนามัยที่ดีย่อมส่งเสริมให้พวกเขาเกิดทักษะความฉลาดด้าน ความฉลาดต่อการมีสุขภาพที่ดี (HQ) ซึ่งจะเป็นเสมือนเกราะป้องกันที่แข็งแรงต่อปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ ของลูกในวันที่พวกเขาต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : thebump.comhealthline.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ฝีในต่อมน้ำลาย ก้อนแข็ง ๆ หลังติ่งหูทารก สัญญาณบอกโรค

โรคหูติดเชื้อ คืออะไร? จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็น

เจาะหูให้ลูก เจาะให้ดี อย่าเจาะแบบนี้มันอันตราย (มีคลิป)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up