สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่บางคน อาจมีความตื่นเต้นที่จะได้อุ้มลูกเป็นครั้งแรก ซึ่ง ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง มีกี่ท่า หรือควรจะอุ้มทารกรกแรกเกิดอย่างไร จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษา หรือซ้อมอุ้มตุ๊กตาดูก่อน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับลูกน้อยเมื่อถึงเวลาอุ้มจริงๆ
การอุ้มลูกน้อย หรือวิธีอุ้มทารกให้ถูกต้อง มักจะเป็นปัญหากับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่เป็นอย่างมาก เพราะลูกตัวเล็กและพ่อแม่ก็กลัวลูกจะตก หรือ เจ็บ เพราะเด็กทารกยังเบาะบาง คอเด็กยังไม่แข็ง ถ้าอุ้มผิดก็อาจทำให้กระดูกคอเคลื่อนที่ได้ ยิ่งไม่มีคุณยาย หรือว่าผู้ใหญ่อยู่ที่ให้การสอนอยู่ด้วยยิ่งเป็นปัญหาสำหรับพ่อแม่มือใหม่ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่หลีกเหลี่ยงไม่ได้เลย ในเวลาที่ต้องทำกิจวัตรให้ลูก เช่น อุ้มดูดนม อุ้มจับเร่อ เปลี่ยนผ้าอ้อม หรืออุ้มอาบน้ำ เป็นต้น
ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง มีกี่ท่า
การอุ้ม คือการแสดงออกถึงความรัก และเป็นวิธีถ่ายทอดความอบอุ่นจากแม่สู่ลูก ที่ลูกน้อยสามารถสัมผัสได้โดยตรง การอุ้มเด็กทารกนั้นจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก แต่เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรเลย หากคุณแม่และคุณพ่อมือใหม่รู้จักเรียนรู้และมีวิธีอุ้มลูกที่ถูกต้อง แถมยังเป็นการทำความรู้จัก และเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ดังนั้นแล้วลองไปดูท่าอุ้มต่างๆ ที่ควรอุ้มลูกน้อย เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี กันค่ะ
1. ท่าเปล
วิธีนี้เป็นวิธีทั่วไป และเป็นวิธีที่ดีที่จะดูแววตาของทารก นอกจากนั้นยังเป็นวิธีธรรมชาติที่สุดและง่ายที่สุดสำหรับการอุ้มทารกด้วยเช่นกัน ท่านี้เป็นท่าที่ง่ายที่สุดในการอุ้มทารกที่มีผ้าพันไว้ สิ่งที่คุณควรทำเวลาอุ้มท่านี้ คือ:
- การอุ้มทารกด้วยท่าเปล อันดับแรกให้ทารกนอนราบและอุ้มขึ้นโดยมือข้างหนึ่งอยู่ใต้คอและศีรษะ อีกข้างอยู่ใต้ก้นและสะโพก
- กางนิ้วให้มากที่สุดเวลาอุ้มเข้าหาหน้าอกของคุณ เพราะจะทำให้ประคองได้ดีเวลาอุ้มทารก
- ค่อยๆ เลื่อนมือจากศีรษะและคอไปยังหลังของลูกน้อยอย่างอ่อนโยนศีรษะของทารกจะอยู่ที่แขน ให้งอแขนและข้อศอกเล็กน้อย
- มืออีกข้างประคองช่วงก้นและสะโพกของทารก
- อุ้มทารกไว้ใกล้ๆ ตัวของคุณ และสามารถโยกทารกไปมาได้เล็กน้อย
การอุ้มท่าเปลเป็นท่าอุ้มที่คุณแม่สามารถสื่อถึงความรัก ความผูกพันต่อลูกได้มากที่สุด เพราะทั้งคุณแม่และคุณลูกจะมองเห็นหน้ากัน และลูกน้อยจะได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่ได้อย่างชัดเจน ท่านี้สามารถใช้ทั้งให้นมและอุ้มเล่นกับลูกได้ค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
2. ท่าอุ้มพาดบ่าหรือทาบลำตัว
เป็นท่าอุ้มที่ให้ความอบอุ่นและทำให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย และสามารถเหยียดตัวได้ตามสบาย โดยคุณแม่จะรับน้ำหนักลูกด้วยมือที่รองก้นข้างหนึ่ง และอีกมือหนึ่งประคองหลังลูก ท่านี้คุณแม่อาจจะใช้อุ้มลูกน้อยหลังให้นมเสร็จ เพื่อให้ลูกน้อยเรอขณะเดียวกันก็เป็นท่าอุ้มที่ป้องกันอาการท้องอืดในลูกน้อยได้ด้วย โดยมีวิธีดังนี้
- สอดมือขวาใต้ศีรษะและคอลูก ส่วนมือซ้ายควรจะคอยประคองก้นและกระดูกสันหลัง
- อุ้มลูกขึ้นมาในระดับหัวไหล่ ศีรษะลูกไม่ควรพับข้ามไหล่ของคุณแม่ไปข้างหลัง แล้วใช้แขนรองรับก้นลูก ขาของลูกควรห้อยต่ำกว่าแขนของคุณแม่
- เพื่อความมั่นคงยิ่งขึ้นควรประคองศีรษะลูกด้วยมือข้างที่ว่าง และถ้าคุณต้องโน้มตัวไปข้างหน้า ทุกครั้งต้องไม่ลืมใช้
- มือประคองศีรษะและคอของลูกด้วย
3. ท่าอุ้มที่ท้อง
ท่านี้สามารถทำให้ลูกน้อยของคุณสงบลงได้เวลาอยู่ไม่สุข มาดูว่ามีอะไรบ้างที่คุณต้องทำในการอุ้มท่านี้
- ให้ศีรษะและหน้าอกของทารกอยู่บนแขนของคุณในลักษณะคว่ำ
- ดูให้ดีว่าหน้าของลูกน้อยหันออกข้างนอกสามารถหายใจได้ และหนุนอยู่บนแขนของคุณ
- เคาะหรือนวดหลังของทารกเล็กน้อยด้วยมืออีกข้างหนึ่ง
- คอยดูว่าศีรษะและคอของทารกได้รับการประคองอย่างดีตลอดเวลา
4. อุ้มแบบตาสบตา
ท่านี้เป็นท่าที่จะทำให้คุณสื่อสารกับลูกน้อยได้ดีที่สุด มาดูกันว่าวิธีการที่คุณต้องทำมีอะไรบ้าง:
- วางมือข้างหนึ่งไว้หลังคอและศีรษะของทารก
- มืออีกข้างประคองก้นของทารกไว้
- อุ้มทารกไว้ด้านหน้าของคุณในระดับต่ำกว่าหน้าอก
- ยิ้มและหยอกล้อเจ้าตัวน้อยแสนน่ารักของคุณ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
5. ท่าถือลูกบอล
ท่านี้เหมาะกับการป้อนอาหารให้ลูกน้อย สามารถทำได้ไม่ว่าคุณจะยืนหรือนั่ง มาดูกันว่าคุณต้องทำอะไรบ้าง
- วางมือไว้ที่หลังศีรษะและคอของทารกให้หลังของทารกนอนอยู่บนแขนข้างเดียวกัน คุณสามารถเปลี่ยนแขนในการอุ้มได้ แค่ต้องมั่นใจว่าศีรษะและคอของลูกน้อยจะถูกประคองไว้ตลอด
- ทารกมีการบิดตัวด้วยการถีบขาหาคุณมากขึ้น
- ขยับทารกเข้าใกล้อกหรือเอวของคุณ
- ใช้มือข้างที่ว่างป้อนอาหารทารก หรือช่วยประคองศีรษะทารกก็ได้
6. ท่า”เปิดโลกกว้าง”
หากลูกน้อยของคุณเป็นเด็กที่ช่างอยากรู้อยากเห็นท่านี้เป็นท่าที่เหมาะมากที่จะทำให้ลูกน้อยของคุณมองเห็นว่ามีอะไรรอบๆ ตัวบ้าง ทั้งหมดที่คุณต้องทำก็คือ
- ให้หลังของทารกแนบกับหน้าอกของคุณ และอย่าลืมต้องมั่นใจว่าหัวของทารกได้รับการดูแลที่ปลอดภัย
- ให้มือข้างหนึ่งประคองก้นของทารก
- นำมืออีกข้างประคองอกของทารกไว้โดยพาดมาด้านหน้าของทารก
- ดูให้ดีว่าศีรษะของทารกได้รับการประคองอย่างปลอดภัยจากหน้าอกของคุณ
- หากคุณนั่งอยู่ สามารถวางทารกไว้บนตักของคุณได้เลยโดยไม่ต้องเอามือประคองก้นของทารกก็ได้
“วิธีการอุ้มทารกที่ถูกต้อง ท่าที่ 7 และวิธีการส่งต่อทารก”
7. อุ้มทารกไว้แนบสะโพกหรือข้างลำตัวเมื่อทารกถึงวัยที่สามารถประคองศีรษะของตัวเองได้แล้ว
สำหรับทารกที่โตขึ้นมาหน่อยประมาณ 4-6 เดือน ทารกสามารถประคองศีรษะของตัวเองได้แล้ว! คุณสามารถอุ้มไว้ข้างลำตัวได้เลย (การอุ้มทั้งหมดนี้สำหรับทารกที่เด็กมากๆ จนกระทั่งถึงวัยหัดเดิน) :
- อุ้มให้ข้างลำตัวทารก (แนบลำตัว) หรือตรงกลาง (คร่อมตัวคุณ) ไว้ที่ข้างลำตัวหรือสะโพกของคุณ ให้แน่ใจว่าจะอุ้มให้ด้านซ้ายหรือกลางตัวของทารกอยู่ทางด้านขวาของคุณ หรือฝั่งตรงข้ามขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากอุ้มทารกไว้ข้างไหน ต้องแน่ใจว่าหากอุ้มทารกไว้ข้างนั้นๆ แล้วจะไม่มีปัญหาอะไร อย่าลืมให้ความปลอดภัยแก่ศีรษะของทารกเป็นพิเศษ และดูให้ดีว่าหน้าของทารกไม่ได้คว่ำอยู่ (จากการอุ้มแบบนี้ เหล่าคุณแม่มักจะอุ้มลูกน้อยไว้ทางขวาแนบกับด้านซ้ายของลูกน้อย (ให้ขาของลูกคร่อมตัวแม่) และให้หน้าของลูกหันไปข้างหน้า)
- ใช้แขนของคุณ “ประคอง” ขาและหลังของทารก จับให้ถนัดและสบายที่สุดสำหรับคุณและลูกน้อย
- คุณสามารถใช้มืออีกข้างช่วยประคองขาและหลัง หรือว่าส่วนอื่นๆ ที่คิดว่าต้องการการดูแลมากที่สุดก็ได้ นอกจากนั้นคุณสามารถใช้มือข้างนี้ป้อนอาหาร หรือทำงานที่จำเป็นอื่นๆ (ทารกไม่ได้ต้องการการประคองมากๆ ตลอดเวลา และคุณก็จะรู้สึกอุ้มทารกได้สบายมากขึ้นด้วย)
- วิธีการอุ้มแบบนี้เป็นท่าทั่วไป สำคัญ และสะดวกสบาย โดยเฉพาะเวลาที่คุณมีงานหลายอย่างต้องทำ ใช้ท่านี้อย่างชำนาญและระมัดระวัง รับรองเลยว่าคุณจะต้องพึงพอใจมากๆ แน่นอน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การส่งต่อเด็กทารกแบบถูกวิธี
1.ใช้มือข้างที่ถนัดสอดใต้ศีรษะและคอลูก เพื่อช่วยในการประคองน้ำหนัก ส่วนมืออีกข้างคอยประคองก้นและกระดูกสันหลัง
2.ให้คนรอรับไขว้แขนเตรียมไว้ (ดังรูป)
3.ประคองศีรษะและคอของลูกด้วยแขนข้างหนึ่ง โดยส่งศีรษะของลูกไปก่อน พร้อมทั้งบอกให้คนรอรับประคองศีรษะลูกไว้
4.จากนั้นค่อยวางตัวเด็กลงบนแขนที่ไขว้กันรออยู่ค่ะ
√เคล็ดลับการอุ้มลูก
- ให้นั่งเมื่ออุ้มทารกครั้งแรกเพราะเป็นการเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด
- ดูจากคนที่มีประสบการณ์ในการอุ้มทารกบ่อยๆ ก่อนที่คุณจะเริ่มอุ้ม
- พยายามเล่นและสื่อสารกับทารกก่อนอุ้ม เพราะจะทำให้ทารกคุ้นเคยกับคุณ เขาจะจดจำเสียง กลิ่น และหน้าตาของคุณได้
- หากคุณเห็นศีรษะที่อ่อนโยนและปลอดภัย คุณทำได้ดีแล้ว
- ทางเลือกอื่นๆ ในการประคองศีรษะของทารกด้วยการใช้ด้านข้างของศอก ให้ใช้มือซ้ายช่วยประคองลำตัวของทารก
- เด็กทารกชอบถูกอุ้ม คุณอาจเห็นว่าคุณทำแบบนั้นบ่อยๆ เป้สำหรับอุ้มทารกสามารถช่วยคุณได้ ทำให้คุณทำงานต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
คำเตือน
- ความผิดพลาดในการประคองศีรษะของทารกจะทำให้เกิดการบาดเจ็บในระยะยาวได้
- ห้ามอุ้มทารกขณะที่ถือของร้อน อาหาร หรือทำอาหาร
- การเขย่าหรือเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเกินไปจะทำให้ทารกได้รับอันตราย
- การอุ้มทารกตรงๆ (บริเวณท้อง) ในลักษณะที่ทารกไม่สามารถนั่งได้เองจะทำให้เกิดความเสียหายต่อกระดูกสันหลังของทารก
ชมคลิป >> “วิธีการอุ้มทารกแบบง่ายๆ 16”
ทั้งนี้นอกเหนือจากวิธีท่าอุ้มที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ยังมีท่าอุ้มเด็กทารกที่แสนง่าย กับวีดีโอสาธิตการอุ้มลูกของคุณพ่อท่านหนึ่ง ลองไปชมวิธีการอุ้มลูกที่หลากหลายและง่ายดายของคุณพ่อท่านนี้กันค่ะ ทั้งนี้ก็หวังว่าคุณแม่ รวมทั้งคุณพ่อมือใหม่ที่ได้ดูเทคนิคและวิธีการอุ้มจากคลิปนี้ ก็คงจะมีความกล้ามากขึ้นในการอุ้มเจ้าตัวเล็กของคุณนะคะ
การอุ้มลูกนับเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อีกเรื่องหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องอุ้มให้ถูกวิธีการต่าง เพราะทารกเกิดมาพร้อมกับหลังที่โค้งงอ ดังนั้นกระดูกสันหลังของลูกจะต้องเหยียดตรงขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนถัดมา ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากคุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกอย่างถูกต้อง อย่างวิธีแล้ว ก็ถือว่ากำลังช่วยกระบวนการดังกล่าวนี้ของลูกน้อยได้เป็นอย่างดีเลยล่ะค่ะ และเพื่อพัฒนาการที่ดีและความปลอดภัยของลูกน้อยอีกด้วย
อ่านต่อบทความน่าสนใจ
- ท่าซุปเปอร์แมน ท่าเซิ้งกระติ๊บ ทำให้ลูกหยุดร้องไห้
- อุ้มลูกผิดท่า ระวัง! คุณแม่อาจพลาดท่าให้โรคร้าย
- อันตราย !! จากการ อุ้ม เขย่าทารก “Shaken baby syndrome”
ขอบคุณข้อมูลจาก : th.wikihow.com , baby.haijai.com
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : How to DAD