สำหรับเด็กอ่อน 0-6 เดือน
จะใช้วิธีการเช็ดจมูกมากกว่าการสวนล้าง หากมีน้ำมูกมากต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและให้พยาบาลเป็นผู้ดูดด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อลดการระคายเคืองของเยื่อบุโพรงจมูก ในเด็กเล็กที่มีน้ำมูกไม่มากคุณแม่สามารถกำจัดน้ำมูกให้ลูกได้เองดังนี้
1. ห่อตัวทารก เพื่อป้องกันการขยับไปมา
2. อุ้มในท่าศีรษะสูงเล็กน้อย หยดน้ำเกลือ 2-3 หยด ในจมูกข้างที่มีน้ำมูกหรือทั้ง 2 ข้าง ปล่อยไว้นาน 5 – 10 นาที จนน้ำมูกอ่อนตัว
3. ใช้ลูกยาง ดูดน้ำมูกในโพรงจมูกออกให้หมด
4. ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำเกลือแล้วเช็ดในรูจมุกอีกครั้งหลังดูดน้ำมูกเสร็จ
5. หลังดูดน้ำมูกเสร็จ สิ่งสำคัญคือ ต้องล้างทำความสะอาดลูกยางแล้วตากให้แห้ง เพื่อป้องกันการสระสมของเชื้อโรค และเข้าสู่ร่างกายลูกหากต้องใช้เป็นประจำ ควรดูดน้ำมูกลูกวันละ 1-2 ครั้ง หากพบว่าปริมาณน้ำมูกมีมากขึ้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
ชมคลิปสาธิตวิธีการล้างจมูกให้ลูกน้อยวัยแรกเกิด – 6 เดือน
สำหรับเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้หรือ อายุ 6 เดือนขึ้นไป
เด็กวัยนี้กระดูกคอเริ่มแข็งแรงเด็กคว่ำได้เองแล้ว คุณแม่สามารถอุ้มลูกในท่าคว่ำได้โดยไม่อันตราย การล้างจมูกจึงแตกต่างจากวัยทารก มีวิธีการดังนี้
1. ล้างมือคุณแม่ให้สะอาด
2. ใช้ผ้าห่อตัวลูกในกรณีที่ดิ้นมากๆ ซึ่งการห่อตัวเด็กจะช่วยให้ผู้ล้างจมูกสามารถล้างจมูกได้สะดวก นุ่มนวลและไม่เกิดการบาดเจ็บ
3. อุ้มลูกในท่าอุ้มลูกฟุตบอลหรือท่ารักบี้หนีบไว้ด้านข้างคว่ำหน้าลง มือประคองที่ใต้คางไว้ให้มั่นคง
4. ดูดน้ำเกลือให้เต็มไซริงต์หรือลูกยาง (เตรียมไว้ก่อนจะดีกว่า)
5. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูกลูกข้างใดข้างหนึ่งก่อน การฉีดให้ฉีดต่อเนื่องครั้งเดียว น้ำเกลือและน้ำมูกจะไหลออกมาจากโพรงจมูก ปล่อยให้ลูกได้พักหายใจแล้วทำซ้ำจนกว่าจะสะอาด
6. ทำซ้ำหลายๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก
7. ในกรณีที่รู้สึกว่ามีเสมหะในลำคอ ให้สอดลูกยางแดงเข้าทางปากเพื่อดูดเสมหะในคอออก ถ้าต้องการให้เด็กไอเอาเสมหะออก ให้สอดลูกยางแดงลึกถึงประมาณโคนลิ้นเพื่อกระตุ้นให้ไอ และทำการดูดเสมหะเหมือนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยระหว่างดูดเสมหะ ให้จับหน้าเด็กหันไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก
อ่านต่อ >> “วิธีล้างจมูกสำหรับเด็กอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป (มีคลิป)” คลิกหน้า 3