ล้างจมูกลูก อย่างไรให้ปลอดภัย ถูกต้องแต่ละช่วงวัย - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids
ล้างจมูกลูก

ล้างจมูกลูก อย่างไรให้ปลอดภัย ถูกต้องแต่ละช่วงวัย

Alternative Textaccount_circle
event
ล้างจมูกลูก
ล้างจมูกลูก


สำหรับเด็กโตที่ให้ความร่วมมือและสั่งน้ำมูกได้ อายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป

ซึ่งเราจะไม่ใช้ลูกยางดูดน้ำนมูกแล้ว เพราะมีวิธีที่ดีกว่า สามารถลดน้ำมูกได้ดีกว่าคือ การล้างจมูก การล้างจมูกทำได้ไม่ยาก ดูครั้งแรกอาจจะดูหวาดเสียวสำหรับคุณแม่มือใหม่ อยากรู้ว่าลุกจะรู้สึกอย่างไร แนะนำให้ทำกับคุณแม่ก่อนค่อยไปทำกับลูกนะคะ ขั้นตอนมีดังต่อไปนี้ค่ะ

1. ให้ลูกนั่งหรือยืน และก้มหน้าเล็กน้อยเพื่อให้น้ำเกลือ และน้ำมูกไหลออกมาจากจมูกได้สะดวก แนะนำนั่งในห้องน้ำ เพื่อไม่ให้เลอะเปียก
2. ค่อย ๆ สอดปลายกระบอกฉีดยาเหมือนที่กล่าวมาข้างต้น และค่อย ๆ ฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5 – 1 ซีซีหรือเท่าที่เด็กทนได้ พร้อมกับสั่งให้เด็กกลั้นหายใจ หรือกลืนน้ำเกลือที่ไหลลงคอเป็นระยะ ๆ ระหว่างฉีดน้ำเกลือ หรือให้บ้วนทิ้งก็ได้
3. สั่งน้ำมูกพร้อม ๆ กันทั้งสองข้าง (ไม่ควรอุดรูจมูกอีกข้าง)
4. ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก

ชมคลิปสาธิตวิธีการล้างจมูกให้ลูกโตวัย 1 ปีขึ้นไป

วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูก
ให้ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเติบโตและเพิ่มปริมาณโดย
• ให้ล้างกระบอกฉีดยาและภาชนะที่ใส่น้ำเกลือ ด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน แล้วล้างด้วยน้ำประปาจนหมดน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน แล้วผึ่งให้แห้ง
• ล้างลูกยางแดงด้วยน้ำสบู่ทั้งภายนอกและภายใน และล้างตามด้วยน้ำประปาจนสะอาด และควรนำไปต้มในน้ำเดือดวันละครั้งโดยดูดน้ำเดือดเข้ามาในลูกยางแดง ต้มประมาณ 5 นาที เสร็จแล้วบีบน้ำที่ค้างในลูกยางออกจนหมด วางคว่ำในภาชนะที่สะอาด โดยคว่ำปลายลูกยางแดงลง

ควรล้างจมูกบ่อยเพียงใด

ควรล้างจมูกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งช่วงตื่นนอนตอนเช้าและก่อนเข้านอน หรือเมื่อรู้สึกว่ามีน้ำมูกมาก แน่นจมูก หรือก่อนใช้ยาพ่นจมูก หรือยาหยอดจมูก แนะนำให้ล้างจมูกก่อนเวลารับประทานอาหาร (ขณะท้องว่าง) หรือหลังรับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมงขึ้นไปเพื่อป้องกันการอาเจียนหรือสำลัก

ข้อควรระวัง

น้ำเกลือและอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำเกลือไม่ควรใช้ขวดใหญ่ เพราะการเปิดทิ้งไว้และใช้ต่อเนื่องนานจนกว่าจะหมดจะทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่ได้ โดยทั่วไปใช้ขวดละ 100 ซีซี เพื่อให้หมดเร็วจะได้ไม่เกิดการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ควรล้างจมูกเมื่อมีน้ำมูกเหนียวข้นจำนวนมาก (ถ้าน้ำมูกใส และมีจำนวนเล็กน้อยให้สั่งออกมา) หลังฉีดน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูกให้สั่งน้ำมูกออกทันที ไม่ควรกลั้นหายใจเพื่อกักน้ำเกลือให้ค้างในจมูกนาน เพราะน้ำเกลืออาจจะไหลย้อนไปในไซนัส และการสั่งน้ำมูกให้สั่งเบาๆ และไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง เพราะอาจทำให้แก้วหูทะลุได้

นอกจากนั้น ยังต้องระวังการนำเอาวัสดุช่วยแคะทั้งหลายเข้าไปในรูจมูกลึกเกินไป อาจจะทำให้เจ้าหนูรู้สึกเจ็บ และเกิดบาดแผลขึ้นได้ ซึ่งตามจริงแล้วคุณควรใส่ลึกเข้าไปประมาณ 0.5 เซนติเมตรก็เพียงพอแล้ว

คุณแม่ทราบขั้นตอนที่ถูกต้องแล้ว หวังว่าลูกๆที่บ้านที่เป็นหวัดอยู่ ณ ตอนนี้ คงหายใจโล่งกันทุกบ้านแล้วนะคะเพราะคุณแม่คือพยาบาลคนแรกของลูก ต้องดูแลลูกให้ถูกวิธีนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.si.mahidol.ac.th , www.sukumvithospital.com

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก 5 วิธีรักษาแบบไม่ต้องพึ่งยา

แม่เตือนแม่! ระวัง ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก ตาบวม เสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบลงตา

วิธีสังเกตอาการหอบในทารก หายใจหอบเป็นยังไง พ่อแม่ต้องสังเกตอาการลูก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up