การ ห่อตัวลูก เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้ เพราะผ้าห่อตัวจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่นคล้ายยังอยู่ในท้องแม่ที่คุ้นเคย อีกทั้งยังเป็นเสมือนการปลอบโยนและช่วยกล่อมให้ลูกหลับได้ในคราวเดียวกัน
ทำไมต้อง ห่อตัวลูก
เชื่อว่ามีคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคน ต้องเคยสงสัยว่า… ทำไมต้องใช้ผ้าห่อตัวเด็กด้วย ซึ่งเหตุผลของการห่อตัวเด็กก็เพราะตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่ลูกอยู่ในท้องโดยได้รับการปกป้องดูแลอย่างดีภายในร่างกายของคุณแม่ พร้อมมีการพัฒนาและเจริญเติบโต ลอยตัวอยู่ในถุงน้ำคร่ำ ซึ่งอุณหภูมิในนั้นจะอุ่นๆ ทำให้ลูกน้อยรู้สึกสบายและปลอดภัย เมื่อคลอดออกมาสู่โลกภายนอก ลูกน้อยจะยังไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาวะแวดล้อมและอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปได้ ทำให้เกิดความระแวงหรือหวาดกลัว โดยแสดงออกด้วยการร้องไห้
การห่อตัว สามารถช่วยกระชับแขนขาของลูกน้อยให้แนบแน่นกับลำตัวไม่เคว้งคว้างจะทำให้ลูกรู้สึกเสมือนว่ากำลังนอนคู้ตัวอยู่ในครรภ์ ช่วยลดอาการสะดุ้งตกใจ (จากเสียงดังรอบข้าง) ซึ่งการห่อตัวยังช่วยลูกเกิดความอบอุ่น ทั้งยังรักษาอุณหภูมิในร่างกายของลูก ทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยเหมือนตอนที่อยู่ในท้องแม่นั้นเอง
ประโยชน์ของผ้าห่อตัวทารก
- ผ้าห่อตัวสามารถช่วยกระชับแขนขาของทารกให้แนบแน่นกับลำตัวไม่ให้เคว้งคว้างทำให้ทารกรู้สึกเสมือนว่ากำลังนอนคู้ตัวอยู่ในท้องแม่
- ช่วยลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดังรอบข้าง
- ช่วยให้เกิดความอบอุ่น รักษาอุณหภูมิของร่างกายทารก ทำให้ไม่รู้สึกหนาวเย็น
- ช่วยพยุงตัวทารก เนื่องจากเด็กแรกเกิดตัวยังอ่อน คอยังไม่แข็งทำให้อุ้มยาก การห่อตัวจะช่วยเพิ่มแรงพยุงและอุ้มง่ายขึ้น เวลาจะเปลี่ยนให้อีกคนอุ้มก็จะง่ายขึ้นด้วย
- ช่วยเรื่องการพัฒนาระบบประสาทโดยเฉพาะเด็กเล็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยมากๆ การห่อตัวจะช่วยลดปฏิกิริยาที่ไวมากต่อการกระตุ้นจากการถูกสัมผัสครั้งแรก ช่วยให้เด็กปรับตัวกับการถูกสัมผัสได้ดีขึ้น
เพราะเหตุใดการห่อตัวทารกแรกคลอดอาจเสี่ยงต่อโรคไหลตาย ?
แม้ว่าการห่อตัวทารกน้อยจะเป็นวิธีที่ช่วยให้ทารกนอนหลับได้ดีขึ้น แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายได้ สาเหตุพื้นฐานที่สามารถอธิบายได้คือ เมื่อทารกน้อยเริ่มพลิกตัวนอนคว่ำในขณะได้รับการห่อตัวอาจทำให้ขาดอากาศหายใจเนื่องจากการคว่ำหน้าลงบนวัสดุรองนอน ทารกน้อยจะไม่สามารถพลิกตัวกลับมานอนหงายได้เอง เนื่องจากแขนขาถูกห่อไว้ นอกจากนี้การศึกษาในต่างประเทศพบว่าทารกที่ได้รับการห่อตัวในขณะหลับจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าทารกที่ไม่ได้รับการห่อตัวหลังได้รับการกระตุ้นด้วยเสียงดัง ถ้าหากทารกน้อยมีความบกพร่องในการควบคุมการทำงานของหัวใจและไม่สามารถปลุกให้ตื่นจากการนอนหลับ อาจนำไปสู่การลดการตอบสนองของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งเป็นกลไกหลักที่ก่อให้เกิดโรคไหลตายในทารกหรือ sudden infant death syndrome (SIDS) นอกเหนือจากภาวะเสี่ยงต่อโรคไหลตายในทารกแล้ว การห่อตัวทารกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจริญพัฒนาของสะโพกที่ผิดปกติ อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน ปอดบวม หรืออาจเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน
อ่านต่อ >> “ห่อตัวลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงเวลานอน” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่