หลังจากกลับจากโรงพยาบาลแล้ว พ่อแม่มือใหม่มักจะทำตัวไม่ถูกเมื่อต้องเลี้ยงลูกน้อยตามลำพัง มาดูวิธี การดูแลทารกหลังคลอด ว่าต้องเลี้ยงอย่างไร? กินนม นอน อาบน้ำ วันละกี่ครั้ง?
การดูแลทารกหลังคลอด เลี้ยงยังไง? กินนม-อาบน้ำ กี่ครั้ง?
ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกคลอด – 28 วัน เป็นช่วงที่ต้องปรับตัวเป็นอย่างมาก จากเดิมที่อยู่ในครรภ์ของแม่ที่มีสภาพแวดล้อมอบอุ่น ก็ต้องมาอยู่ในโลกภายนอกที่ไม่คุ้นเคย อีกทั้งยังไม่สามารถสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจได้ว่าตนเองรู้สึกอย่างไร หวาดกลัว หิวนม ง่วงนอน และยังไม่สามารถบอกได้ว่าตนเองรู้สึกอย่างไร จึงเป็นช่วงชีวิตที่มีความต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ ทีมแม่ ABK จึงได้รวบรวม 10 วิธี การดูแลทารกหลังคลอด เลี้ยงอย่างไร กินนม นอน อาบน้ำวันละกี่ครั้ง ดังนี้
10 วิธี การดูแลทารกหลังคลอด
-
การให้นมลูก
เวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มให้นมบุตรคือ การให้นมลูกทันทีหลังคลอด โดยปกติลูกน้อยจะตื่นตัวมากหลังคลอด และเมื่อวางลูกน้อยบนหน้าอก ลูกอาจเคลื่อนตัวไปที่เต้านมและเริ่มดูดนมได้เอง อย่ากังวลว่าจะไม่สามารถให้นมลูกได้ทันทีหลังคลอด เด็กแรกคลอดส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาแม้ว่าน้ำนมของคุณแม่จะมาช้า นอกจากนี้ยังควรมีความถี่ในการให้นมลูกทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมงในช่วงแรกหรือตามที่ลูกน้อยต้องการ วิธีนี้จะเป็นการกระตุ้นให้เต้านมผลิตน้ำนมได้มากขึ้นและเพื่อลดหรือป้องกันอาการคัดตึงเต้านม ไม่ควรให้ลูกน้อยดื่มน้ำในช่วงนี้
อ่านต่อ
ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง ช่วยให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมอย่างเต็มที่
10 เรื่องอะไร ควรทำ ไม่ควรทำ ช่วงให้นมลูก
2. การนอนหลับให้เพียงพอ
การนอนหลับ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับทารก เพราะการนอนหลับที่เพียงพอจะมีผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและสมองของลูกน้อย การนอนหลับจะช่วยเชื่อมต่อสิ่งต่าง ๆ ในสมองของลูก สมองของลูกจะค่อย ๆ พัฒนาและแข็งแรงขึ้นตลอดการนอน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกได้นอนหลับได้อย่างเพียงพอ ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน
ทารกแรกเกิดควรนอนคว่ำหรือนอนหงาย? เนื่องจากช่วง 1-2 เดือนแรก ลูกน้อยยังคอไม่แข็งดี สถาบันการแพทย์ทั่วโลกและในประเทศไทยแนะนําให้ลูกน้อยนอนหงาย เพราะเป็นท่าที่ปลอดภัยมากที่สุด แต่ถ้าอยากให้ลูกน้อยนอนคว่ำหรือนอนตะแคงเพราะความเชื่อที่ว่าหัวจะสวย คุณแม่ควรจะต้องดูลูกน้อยอยู่ตลอดเวลาอย่าละสายตาเพื่อความปลอดภัยในการหายใจของเขา เช่น หัวอาจจะไปซุกอยู่ในที่นอนทําาให้หายใจไม่สะดวก จนอาจเกิดอันตรายได้
อ่านต่อ
ตารางการนอนของทารก นอน/ตื่นกี่ครั้ง นอนนานแค่ไหน?
คัมภีร์นอนหลับ สร้างอัจฉริยะให้ลูกน้อย
3. การร้องไห้
เป็นเรื่องธรรมดาของทารกแรกเกิดที่จะร้องไห้เป็นประจำ เนื่องจากยังไม่สามารถสื่อสารออกมาให้คุณพ่อคุณแม่รู้ว่ารู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อลูกร้องไห้คือ ดูว่าถึงเวลาให้นมหรือยัง ตรวจดูผ้าอ้อมว่าชื้นหรือไม่ ดูที่ท้องของลูกน้อย ว่าลูกน้อยรู้สึกท้องอืดหรือถึงเวลาขับถ่ายของลูกหรือไม่ หากตรวจดูครบแล้วว่าไม่ใช่สาเหตุจากข้างต้น ก็ให้ดูว่าลูกอาจจะไม่สบาย ณแม่ลองจับตัวลูกดูก็อาจจะรู้สึกได้ว่าลูกตัวร้อนผิดปกติ และอาจมีอาการน้ำมูกไหล ไอ อาเจียนร่วมด้วย ควรวัดอุณหภูมิเพื่อดูว่ามีไข้หรือไม่ หากคุณแม่พบว่าลูกไม่สบาย ควรรีบพาไปพบแพทย์
อ่านต่อ
ลูกร้องไห้งอแง ทารกร้องแบบไหนเรียกว่าผิดปกติ?
ลูกร้องโคลิค สาเหตุ อาการ และวิธีแก้ไข
4. การดูแล “สะดือ” ของลูกน้อย
ในขณะที่ทารกยังอยู่ในท้องแม่ สายสะดือ เป็นท่อที่เชื่อมระหว่างรกและลูกน้อยที่กำลังเจริญเติบโตในครรภ์ มีความยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร ประกอบด้วยเส้นเลือดดำ 1 เส้นคอยทำหน้าที่นำส่งเลือดที่อุดมไปด้วยอาหารและออกซิเจนจากรกไปสู่ทารกในครรภ์ และเส้นเลือดแดง 2 เส้นที่ทำหน้าที่ในการลำเลียงของเสียออกจากร่างกายของทารก
สายสะดือจะหยุดการทำหน้าที่ที่สำคัญในการขนส่งเลือดไปมาระหว่างแม่และลูกเมื่อถูกตัดขาดด้วยเครื่องมือแพทย์ภายหลังการคลอด โดยสายสะดือที่ถูกตัดออกนั้นจะค่อย ๆ แห้ง เปลี่ยนเป็นสีดำ ก่อนจะหลุดออกในช่วงสัปดาห์แรกและกลายเป็นสะดือที่มองเห็นได้บนร่างกาย ดังนั้น สะดือ ก็เป็นเหมือนแผลจากการตัดสายสะดือนั่นเอง สะดือ จึงถือว่าเป็นจุดที่บอบบาง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เป็นซอกอับชื้น เชื้อราและยีสต์เจริญเติบโตได้ดี
อ่านต่อ
ทำความสะอาดสะดือลูก..อย่างถูกวิธีกันเถอะ
สะดือหลุด กี่วันแห้ง? พร้อมวิธีดูแลหลังลูกสะดือหลุด
5. การดูแลช่องปากของลูกน้อย
หลังจากให้ลูกทานนมอิ่มแล้ว การเช็ดทําความสะอาดช่องปากของลูก ก็ถือเป็นเรื่องสําคัญ เนื่องจากคราบนมที่ติดตามเหงือกและลิ้นของลูก อาจทําให้เกิดฝ้าขาวขึ้นได้ ดังนั้น คุณแม่มือใหม่ต้องใส่ใจ และหมั่นดูแลทําความสะอาดช่องปากของลูกเป็นประจําทุกวัน โดยเฉพาะเหงือกเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับฟันซี่น้อยๆ ของลูกที่จะขึ้นในไม่ช้า และนมแม่เป็นอาหารธรรมชาติที่วิเศษที่สุดสําหรับลูกน้อย เพราะมีคุณค่าทางอาหาร ย่อยง่าย มีภูมิคุ้มกันโรค ไม่ต้องเตรียม สะอาด และสะดวก คุณแม่จึงควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย ๆ 3-4 เดือน ตลอดจนทําให้เกิดฝ้าขาวในปากน้อยกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมขวด การดูแลความสะอาดช่องปากของลูกน้อย เพื่อทําให้เด็กปากสะอาดไม่เกิดเชื้อรา ทําให้ลูกเคยชินกับการมีสิ่งของเข้าปาก ซึ่งจะช่วยให้ลูกยอมรับการแปรงฟันได้ง่ายเมื่อถึงเวลาที่ต้องแปรงฟัน โดยการใช้ผ้านุ่มสะอาดพันปลายนิ้ว ชุบน้ำสะอาด เช็ดเหงือก
อ่านต่อ
วิธีทำความสะอาดลูกน้อย ตั้งแต่หัวจรดเท้า (มีคลิป)
6. การขับถ่าย
ข้อมูลเรื่องการขับถ่ายของลูกแรกเกิด – 1 เดือน ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรรู้ โดยลูกอายุเท่านี้ ใน 1 วันต้องปัสสาวะ หรือ อุจจาระ วันละกี่ครั้ง และลักษณะหรือสีควรเป็นแบบไหน นั่นก็เพื่อเช็กสุขภาพร่างกายของลูกน้อยในวัยแรกเกิดที่จะต้องปรับตัวเองหลังคลอดออกมา ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ระบบภายในหลังกินนมไปมีอะไรผิดปกติหรือไม่ ซึ่งถ้าลูกทารกขับถ่ายผิดปกติ หรือมีสีอึอึ๊แปลกๆ คุณแม่ต้องสังเกตให้ดีแล้วรีบไปปรึกษาคุณหมอ
อ่านต่อ ลักษณะ และ สีอุจจาระทารกแรกเกิด บอกสุขภาพได้มากกว่าที่คิด
7. สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยด้วย “วัคซีน”
ในช่วงแรกเกิด – 12 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ลูกจะได้รับวัคซีนบ่อยที่สุดในช่วงชีวิตเลยก็ว่าได้ เป็นเพราะทารกแรกเกิด จำเป็นต้องได้รับภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคร้ายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งวัคซีนในแต่ละชนิดนั้นสร้างมาจากไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกทำให้สิ้นฤทธิ์ด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์จนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้แล้ว และวัคซีนเหล่านี้จะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ได้อีกด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรไปพบหมอตามนัดทุกครั้ง หากมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนวันนัด ควรโทรไปปรึกษาพยาบาลก่อนทุกครั้งว่าสามารถเลื่อนฉีดได้ถึงเมื่อไหร่ เพราะวัคซีนบางชนิดจะมีช่วงอายุที่ต้องฉีด หากเลยจากช่วงนั้น ๆ แล้ว อาจจะฉีดไม่ได้ เป็นต้น
อ่านต่อ
ตารางวัคซีน 2564 ปีนี้มีปรับรายละเอียด? ลูกต้องฉีดอะไร ตอนไหนบ้าง เช็กเลย!
รวมแพ็กเกจวัคซีนเด็ก โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ปี 2564
8. อาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
ภาวะตัวเหลือง ในทารกหลังคลอดก็เป็นอีกภาวะที่พบได้บ่อยมากในปัจจุบัน ซึ่งเกิดได้หลากหลายสาเหตุ เช่น มีปัญหาโรคตับ ปัญหาของความผิดปกติของเอ็นไซม์ที่อยู่ในเม็ดเลือดบางประการ รวมทั้ง ปัญหาของกลุ่มเลือดของแม่กับลูกที่ไม่สัมพันธ์กัน แต่ที่พบบ่อยที่สุดคืออาการตัวเหลืองปกติในเด็ก ที่เกิดจากระบบการทํางานของตับยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ส่วนมากจะหายไปได้ภายในเวลาไม่นาน
เด็กแต่ละคนจะมีระดับของความเหลืองหรือที่เรียกว่าระดับบิลิลูบินไม่เหมือนกัน บางคนเป็นน้อยมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า บางคนก็มีระดับความเหลืองสูงจนคุณแม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า การรักษาก็จะดูเป็นระยะ ๆ ไปตามความรุนแรงของอาการตัวเหลืองนั้น โดยทั่วไปแล้วไม่ต้องทําอะไร หากเป็นน้อย ๆ จะหายไปได้เอง แต่ในกรณีที่ตัวเหลืองมองเห็นด้วยตา และตรวจสอบได้ว่ามีระดับบิลิลูบินสูงขึ้น คุณหมอจะให้การรักษาด้วยการอบไฟตามที่คุณแม่ได้รับทราบมาแล้ว จากนั้นก็จะตรวจระดับของบิลิลูบินเป็นช่วง ๆ การที่คุณหมอบอกว่าผลของบิลิลูบินปกตินั้นคงหมายความว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีอันตราย ทําให้ไม่ต้องมีการรักษาพยาบาลที่มากไปกว่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายเลือดซึ่งอาจมีความจําเป็นในเด็กที่มีตัวเหลืองมาก ๆ เด็กที่ตัวเหลืองจะหายเป็นปกติและสามารถเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ได้ ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะว่าเด็กที่มีอาการตัวเหลืองและคุณหมอได้ให้การดูแลรักษาในช่วงแรก คุณหมอจะตรวจกรองโรคต่าง ๆ ดังที่เรียนให้ทราบแล้ว คุณแม่คลายกังวลและเลี้ยงลูกไปตามปกติได้เลยค่ะ
อ่านต่อ
เด็กแรกเกิดตัวเหลือง อันตรายหรือไม่? รักษาอย่างไร?
ทารกตัวเหลือง กินน้ำจะหายไหม พ่อแม่ควรทำอย่างไร?
9. พัฒนาการทารกแรกเกิด
พัฒนาการต่าง ๆ ของเด็กทารกในวัยแรกเกิด – 12 เดือนนั้นมีความสำคัญมาก เพราะพัฒนาการในช่วงวัยนี้เป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านต่าง ๆ ในวัยอื่น ๆ จนกระทั่งลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ โดยพัฒนาการทารก ได้แบ่งออกเป็นหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จึงต้องเตรียมความพร้อมอย่างละเอียด แบบก้าวต่อก้าว เดือนต่อเดือน ว่าทำอย่างไรจึงจะเลี้ยงดูลูกให้เติบโตสมบูรณ์ และมีพัฒนาการที่ดีรอบด้านตั้งแต่ก้าวแรกที่เกิดมา
อ่านต่อ
เคล็ดลับดี๊ดี..กระตุ้นพัฒนาการ ทารกแรกเกิด-12 เดือน
สังเกตสัญญาณ “พัฒนาการล่าช้า” ของลูก
10. อย่าลืมดูแล”จิตใจ” ของหนูด้วยนะ!
นอกจากการดูแล ทารกทางด้านร่างกายแล้ว ด้านจิตใจของทารกนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน การให้ความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้ทารกมีการเรียนรู้ถึงความรักความไว้วางใจผู้อื่น เกิดทัศนคติที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและจะมีผลต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ การดูแลจิตใจสามารถทำได้โดย
- การสัมผัสกอดรัด จะก่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นเป็นสุขสงบ เกิดความมั่นใจต่อสิ่งแวดล้อมและคนรอบข้าง
- ควรตั้งชื่อลูกตั้งแต่แรกคลอด และเรียกชื่อทุกครั้งที่พูดคุยกับลูก การที่พ่อแม่พูดคุย ส่งเสียงพยักหน้าหรือยิ้ม จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของทารกได้อย่างดี
- ขณะที่อุ้มลูกอาจนวดนิ้วมือ แขน นิ้วเท้า เท้าของลูกเบาๆ จะท้าให้ลูกสบายตัวอารมณ์แจ่มใส
อ่านต่อ
5 มหัศจรรย์แห่งการกอด กอดลูกหอมลูก บ่อยๆ ดีกว่าที่คิด!
10 การกระทำพ่อแม่ ทำร้ายจิตใจลูก แบบไม่รู้ตัว!!!
ครบ จบทุกคำถามเกี่ยวกับ การดูแลทารกหลังคลอด กันแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการปฏิบัติจริง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่นะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, ผศ.พญ.ชมพูนุท บุญโสภา กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่