อาการตัวเหลือง – หรือโรคดีซ่านในทารกแรกเกิด เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อทารกมีระดับบิลิรูบินซึ่งเป็นเม็ดสีเหลืองที่ผลิตขึ้นในระหว่างการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงตามปกติซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อย อย่างไรก็ตามทารกบางรายอาจตัวเหลืองนานผิดปกติ หากคุณพ่อคุณแม่รู้เท่าทันภาวะตัวเหลือง ย่อมช่วยให้สังเกตอาการและความผิดปกติต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของลูกน้อยในระยะยาว
ทำความเข้าใจ Jaundice อาการตัวเหลือง ในทารก สาเหตุและวิธีรับมือ
อาการตัวเหลืองของทารก คือ การเปลี่ยนสีของผิวหนังและดวงตาของทารกแรกเกิด ภาวะตัวเหลืองในทารกเกิดขึ้นเนื่องจากเลือดของทารกมีบิลิรูบิน (bil-ih-ROO-bin) มากเกินไป ซึ่งเป็นเม็ดสีเหลืองของเซลล์เม็ดเลือดแดง อาการตัวเหลืองในทารกเป็นอาการทั่วไป โดยเฉพาะในทารกที่เกิดก่อนตั้งครรภ์ 38 สัปดาห์ (ทารกคลอดก่อนกำหนด) และทารกที่กินนมแม่บางส่วน ภาวะตัวเหลืองในทารกมักเกิดขึ้นเนื่องจากตับของทารกยังทำหน้าที่ได้ดีพอที่จะกำจัดบิลิรูบินในกระแสเลือด
การผลิตบิลิรูบิน (bil-ih-ROO-bin)ในทารกแรกเกิด
บิลิรูบิน เป็นสารประกอบสีเหลืองที่เกิดขึ้นในกระบวนการขั้นสุดท้ายของการสลายตัว (Catabolism) ของเซลล์เม็ดเลือดแดง ทารกแรกเกิดผลิตบิลิรูบินในอัตราประมาณ 6 ถึง 8 มก. ต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นอัตราการผลิตที่มากกว่าผู้ใหญ่ถึงสองเท่า สาเหตุหลักมาจากภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกินไป และการหมุนเวียนของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้นในทารกแรกเกิด ซึ่งโดยปกติแล้วการผลิตบิลิรูบินจะลดลงถึงระดับผู้ใหญ่ภายใน 10 ถึง 14 วันหลังคลอด
สาเหตุหลักของ อาการตัวเหลือง ในเด็กแรกเกิด
ทารกที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการตัวเหลือง ได้แก่
- ทารกที่คลอดก่อนกำหนด (ก่อน 37 สัปดาห์)
- ทารกที่ได้รับนมแม่หรือนมผงไม่เพียงพอ
- ทารกที่กรุ๊ปเลือดไม่เข้ากับกรุ๊ปเลือดของแม่
ทารกที่มีกรุ๊ปเลือดไม่เข้ากันกับของมารดาสามารถพัฒนาแอนติบอดีสะสมที่สามารถทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงและทำให้ระดับบิลิรูบินเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันได้
สาเหตุอื่นๆ ของ อาการตัวเหลือง ในเด็กแรกเกิด ได้แก่:
- มีเลือดออกภายในร่างกาย
- ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของตับ
- การขาดเอนไซม์บางชนิด
- ความผิดปกติในเซลล์เม็ดเลือดแดงของทารก
- โรคท่อน้ำดีตีบ ทารกจะมีอาการตัวเหลืองร่วมกับอุจจาระสีซีด
- ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน
- การติดเชื้อในกระแสเลือด
ประเภทต่างๆ ของ อาการตัวเหลือง ในทารกแรกเกิดสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
1. อาการตัวเหลือง ทางสรีรวิทยา (Physiological jaundice)
เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด อาการตัวเหลืองชนิดนี้เป็นเรื่องปกติของทารกแรกเกิด เนื่องจากอาการดีซ่านทางสรีรวิทยานั้นเกิดขึ้นในทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ภายในวันที่สองหรือสามหลังคลอด หลังจากที่ตับของทารกพัฒนาจะเริ่มกำจัดบิลิรูบินส่วนเกิน ซึ่งอาการดีซ่านทางสรีรวิทยามักไม่ร้ายแรงและสามารถหายไปเองได้ภายในสองสัปดาห์
2. อาการตัวเหลือง ทางพยาธิวิทยา (๋Jaundice pathological)
ภาวะตัวเหลืองทางพยาธิวิทยา เป็นประเภทที่ร้ายแรงที่สุด มักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง หลังคลอด และระดับบิลิรูบินของทารก จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ การเกิดภาวะเลือดแม่และเลือดลูกไม่เข้ากันในระบบหมู่เลือด ABO หรือโรคตับ ซึ่งจำเป็นต้องไปพบแพทย์ทันที และอาจจำเป็นต้องถ่ายเลือด ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถดำเนินต่อไปได้ในระหว่างการรักษา
3. อาการตัวเหลือง จากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีปัญหา
ในช่วงสองสามวันแรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อปริมาณน้ำนมของแม่เหลือน้อยและทารกมีปัญหาในการดูดนม ทารกอาจเกิดภาวะขาดน้ำ เนื่องจากบิลิรูบินถูกขับออกในปัสสาวะและอุจจาระ ส่งผลให้ปัสสาวะลดลงและอุจจาระไม่บ่อย จึงเกิดการสะสมของบิลิรูบิน แม้ว่าอาจพบได้ในทารกที่คลอดครบกำหนดแต่ก็พบได้น้อยกว่าในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาในการดูดนมแต่เมื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประสิทธิภาพปัญหานี้จะหมดไป
4. ตัวเหลือง จากน้ำนมแม่
บางครั้ง สารในน้ำนมแม่อาจส่งผลต่อการที่ตับของทารกสลายบิลิรูบิน ซึ่งอาจทำให้เกิดการสะสมของบิลิรูบิน อาการตัวเหลืองจากน้ำนมแม่อาจปรากฏขึ้นหลังจากทารกอายุได้ 1 สัปดาห์ และอาจใช้เวลาหนึ่งเดือนหรือมากกว่านั้นจึงจะหายไป
ทารกที่กินนมแม่ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ จะมีภาวะตัวเหลืองหลังจากสัปดาห์แรก สูงสุดประมาณสองสัปดาห์ และสามารถคงอยู่ได้นานถึงสามถึงสิบสองสัปดาห์ โรคดีซ่านของน้ำนมแม่เกิดจากสารในน้ำนมแม่ที่เพิ่มการดูดซึมของบิลิรูบินผ่านทางเดินลำไส้ การให้นมแม่มักจะดำเนินต่อไปหรือถูกขัดจังหวะเพียงช่วงสั้นๆ
5 . ตัวเหลืองจากภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
โรคดีซ่านอาจเกิดขึ้นได้หากมีการสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น (ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก) เช่น ที่เห็นได้เมื่อมีกลุ่มเลือดของมารดาและทารกในครรภ์ไม่ตรงกัน ส่งผลให้เกิดความไม่ลงรอยกันของ ABO หรือโรคที่ทำให้เม็ดเลือดแตกในทารกแรกเกิด (โรค Rh) ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดขึ้นได้หากทารกมีรอยฟกช้ำหรือมีเลือดออกในระหว่างคลอด
อ่านต่อ….ทำความเข้าใจ Jaundice อาการตัวเหลือง ในทารก สาเหตุ และวิธีรับมือ ได้ที่หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่