เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ เสี่ยงต่ออะไรได้บ้าง?
การจะกล่าวว่า น้ำหนักเด็กทารกแรกเกิด เพียงอย่างเดียวมีผลโดยตรงกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับลูก คงจะไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะอย่างที่ได้กล่าวข้างต้นว่านอกจากจะดู น้ำหนักเด็กแรกเกิด แล้ว ยังต้องดูถึงกำหนดคลอดและอายุในครรภ์ประกอบอีกด้วย ดังนั้นเด็กที่เกิดครบกำหนดคลอด แต่มีน้ำหนักตัวน้อย ก็อาจจะไม่มีปัญหาหรือเสี่ยงต่ออาการต่าง ๆ ที่เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม อาการต่อไปนี้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อย
- ความเสี่ยงในการเสียชีวิตในระยะปริกำเนิด (ปริกำเนิด คือ การเสียชีวิตของตัวอ่อนหรือทารกแรกเกิดในช่วงของการคลอด ก่อนการคลอด และหลังการคลอดที่น้อยกว่า 28 วัน)
- ความเสี่ยงในการเสียชีวิตในขวบปีแรก
- มีความไวต่อการเจ็บป่วยและติดเชื้อต่าง ๆ
- มีปัญหาทางด้านการหายใจที่เรียกว่า ภาวะกดการหายใจในทารกแรกคลอด (Respiratory Distress Syndrome, RDS)
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างผิดปกติและเป็นอันตราย มักทำให้เกิดอาการสั่นและอ่อนเพลีย
- มีปัญหากับการดูดนม หรือ ปัญหาทุพโภชนาการ
- เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดข้น (Polycythemia) คือ ภาวะที่ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดในจำนวนที่มากผิดปกติ ทำให้เลือดข้นขึ้น ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย และทำให้เด็กแรกเกิดหน้าแดง มือและเท้าแดง ความดันโลหิตสูง เลือดกำเดาไหล ฟกช้ำ เป็นต้น
- มีพัฒนาการช้า
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่