ตู้ยาสามัญประจำบ้านสำหรับลูกน้อยต้องมีอะไรบ้าง? - Page 4 of 4 - Amarin Baby & Kids

ตู้ยาสามัญประจำบ้านสำหรับลูกน้อยต้องมีอะไรบ้าง?

Alternative Textaccount_circle
event

baby_medicine_cabinet_meds410_424x302

  1. ครีมทากันผื่นผ้าอ้อม เด็กบางคนอาจมีผื่นขึ้นที่ก้นและบริเวณอวัยวะเพศ เนื่องมาจากการแพ้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป การใช้ครีมทากันผื่นผ้าอ้อมเป็นการรักษาเบื้องต้นที่พ่อแม่สามารถช่วยลดและบรรเทาอาการได้จนหาย ซึ่งครีมทากันผื่นผ้าอ้อม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปกป้องและดูแลผิวก้นหนู ๆ เสมือนเป็นเกราะป้องกันภายนอกจากสารระคายเคืองและความเปียกชื้นได้ยาวนาน ให้ใช้ทาบาง ๆ บริเวณก้นลูกหลังทำความสะอาดและซับให้แห้งแล้ว หรือทาทุกครั้งก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อปกป้องและบำรุงผิว
  2. ครีมทาแก้คันอักเสบบวมเอาไว้ใช้สำหรับทาลดอาการคัน อาการอักเสบจากยุงกัด มดและแมลงอื่น ๆ รวมถึงอาการแสบคันจากแดดและฝุ่นละออง อ่อนโยนไม่ระคายเคืองต่อผิวลูก ใช้ได้ตั้งแต่น้องมีอายุ 1 เดือนขึ้นไป
  3. ยาทากันยุงและยาทาแก้รอยดำจากยุงกัดเช่น ควรเลือกใช้นาเหล่านี้ที่มีข้อมูลฉลากยาบอกว่าใช้ได้สำหรับเด็กอายุกี่เดือนขึ้นไปเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย (อ่านต่อบทความน่าสนใจ >> เมื่อลูกโดนยุงกัด ทำอย่างไรดี!” คลิก)
  1. ปรอทวัดไข้ในปัจจุบันมีให้เลือกหลายชนิด โดยมีทั้งแบบดิจิทัลที่ใช้งานง่าย แม่นยำ และปลอดภัย ส่วนชนิดที่วัดทางหูจะมีราคาแพงกว่า แต่มีความแม่นยำน้อย ส่วนปรอทแก้วไม่ควรใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายได้หากแตกหัก
  2. เจลแปะลดไข้โดยส่วนตัวมองว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่ครับ และแพทย์เองก็ไม่แนะนำให้ใช้ด้วย ถ้าลูกมีไข้ต่ำ ๆ (เกิน 37.5 องศาเซลเซียส) ให้คุณแม่สามารถเช็ดตัวให้ลูกโดยใช้ผ้าเปียกแทนจะดีกว่าครับ ซึ่งจะช่วยทำให้ไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าลูกมีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ให้รับประทานยาลดไข้ในขนาดที่หมอแนะนำ
  3. ลูกยางแดง(อุปกรณ์ดูดน้ำมูก) ในกรณีที่เด็กมีปัญหาน้ำมูกคั่ง ทำให้ดูดนมหรือหายใจลำบาก คุณแม่สามารถใช้ลูกยางแดงหรืออุปกรณ์ดูดน้ำมูกที่ขายในแผนกขายของใช้สำหรับเด็กหรือตามร้านขายยาได้
  4. น้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ มีความเข้มข้น 9%  เป็นน้ำเกลือสำหรับล้างจมูกที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ไม่ใช่เอาน้ำกับเกลือที่มาผสมเองนะคะ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แนะนำให้ซื้อขนาดเล็กก็เพียงพอแล้ว เพื่อใช้ทำความสะอาดโพรงจมูก ลดปริมาณน้ำมูกที่คั่งค้างๆภายในรูจมูกให้ลูกหายใจได้สะดวกมีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนที่ดี และป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนในทารก โดยมีวิธีล้างจมูกเเบ่งเป็น 3 ช่วงวัย (อ่านต่อ >> วิธีล้างจมูกลูกอย่างไรให้ปลอดภัย ถูกต้องแต่ละช่วงวัย คลิก!)
  5. 8. ชุดป้อนยาทารกแนะนำแบบที่เป็นจุกเหมือนขวดนม ใช้ได้ตั้งแต่วัยแรกเกิด จะช่วยทำให้ป้อนยาลูกได้สะดวก มีปริมาณยาที่ถูกต้อง และป้องกันการหกเลอะเทอะในระหว่างการป้อนยาได้ ส่วนหลอดฉีดยา (Syinge) ก็สามารถนำมาใช้แทนได้ครับ แต่ลูกอาจจะสำลักหรือบ้วนยาออกมาและทำให้ได้รับยาในปริมาณน้อยกว่าโดสที่ควรจะเป็นได้
  6. สำลีแบบต่างๆ ทั้งสำลีก้าน (คอตตอนบัด) ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ สะอาด และปลอดภัย ควรมีไว้หลาย ๆ แบบ สำลีก้านเล็กเอาไว้เช็ดรูจมูก สำลีก้านใหญ่เอาไว้เช็ดรูหู ส่วนสำลีก้านธรรมดาเอาไว้เช็ดสะดือลูกและอื่น ๆ สำลีแผ่นแบบรีดข้าง เอาไว้ใช้สำหรับเช็ดตาลูก สำลีแบบก้อนหรือแบบแผ่น เอาไว้ใช้เช็ดก้นลูก ถ้าอยากประหยัดให้ซื้อแบบม้วนแล้วมาตัดเอาครับ มีขายตามร้านขายยาทั่วไป รวมถึงผ้าก๊อซ เอาไว้ชุบน้ำอุ่นใช้เช็ดปาก เช็ดเหงือก

และที่สำคัญ *ก่อนจะซื้อยานี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนนะคะ เพื่อให้ลูกได้รับตัวยาที่ถูกต้องกับโรค และเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาค่ะ*

นอกจากยาต่างๆ ที่แนะนำให้ใช้ข้างบนแล้ว อย่าลืมนำลูกเล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทารกที่เพิ่งเกิดไป ฉีดวัคซีคุ้มกันโรคต่างๆ ตามกำหนดระยะเวลา เพราะการฉีดวัคซีน ดี.พี.ที. กินวัคซีน โปลิโอ ฉีดวัคซีน บี.ซี.จี. จะช่วยป้องกันลูกของคุณจากโรคร้ายร้ายหลายชนิด คือ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ วัณโรค…จะได้ไม่ต้องเสียใจในภายหลังว่า ลูกของเราไม่น่าจะมาเจ็บป่วย หรือเสียชีวิตจากโรคที่ไม่น่าจะเป็นเหล่านี้

อ่านต่อบทความน่าสนใจ

คลิก >> ยาอมแก้เจ็บคอ และบรรเทาอาการไอที่ถูกจัดให้เป็นยาอันตราย

คลิก >> การใช้ยาในเด็ก ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยตามวัย


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.doctor.or.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up