1. รอบรู้เรื่องผ้าอ้อมสำเร็จรูป
1.1 เด็กควรใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปตั้งแต่อายุเท่าไร
เด็กสามารถเริ่มใส่ผ้าอ้อมได้ตั้งแต่แรกเกิด เพราะในวัยแรกเกิดหรือวัยทารกยังไม่สามารถที่จะควบคุมการขับถ่ายได้ดี สำหรับเด็กวัย 1 เดือนแรกจะมีการขับถ่ายอุจจาระบ่อยคุณพ่อคุณแม่อาจเลือกใช้ผ้าอ้อมผ้าในตอนกลางวันและผ้าอ้อมสำเร็จรูปในตอนกลางคืน และใช้สำลีชุบน้ำเปล่าต้มสุกเช็ดทำความสะอาด โดยให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แล้วซับให้แห้ง สำหรับการเลิกใช้ผ้าอ้อมสำหรับรูปนั้นโดยเฉลี่ยแล้วอายุที่ควรให้เลิกใช้ผ้าอ้อมคือ 2 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ ทัศนคติของแต่ละบ้าน และความพร้อมของลูกน้อยเป็นสำคัญ ควรจะเริ่มให้ลูกน้อยเลิกผ้าอ้อมก็ต่อเมื่อลูกน้อยสามารถแยกความเปียกความแห้ง โดยที่เขาจะเป็นคนบอกคุณเองเมื่อเขารู้สึกไม่สบายตัวหลังจากขับถ่ายลงบนผ้าอ้อม จากนั้นจะเริ่มให้เขาเข้าห้องน้ำเองโดยยังมีการใส่ผ้าอ้อมอยู่ และชมเขาทุกครั้งที่เขาสามารถเข้าห้องน้ำเองได้
โดยทั่วไปเด็กจะเลิกใส่ผ้าอ้อมในช่วงกลางคืนได้ช้ากว่าช่วงกลางวัน โดยเฉพาะเด็กที่ดื่มนมมื้อดึก ดังนั้นการเลิกผ้าอ้อมช่วงกลางคืนของเด็กควรจะงดนมมื้อดึกไปด้วย ร่วมกับการสังเกตว่าผ้าอ้อมแห้งสนิทหลังจากตื่นนอนตอนเช้าเป็นเวลาหลายๆวันติดกัน การเลิกผ้าอ้อมในช่วงกลางคืนเริ่มจากการที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มพาเขาเข้าห้องน้ำก่อนเข้านอน ในช่วงแรกอาจใส่ผ้าอ้อมช่วยไปก่อน หรืออาจตั้งเวลาในช่วงกลางดึกเพื่อปลุกให้เขาลุกมาเข้าห้องน้ำ 1-2 ครั้ง ทำเช่นนี้ติดต่อกันเรื่อยๆ เมื่อทำได้ดีแล้ว ลูกน้อยจะปฏิเสธการใส่ผ้าอ้อมในช่วงกลางคืน เพราะจะรู้สึกสบายตัวมากกว่าค่ะ
1.2 การใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปจำเป็นและมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน
ปัจจุบันผ้าอ้อมสำเร็จรูปกลายเป็นความจำเป็นสำหรับคุณพ่อคุณแม่เกือบทุกบ้านเนื่องจากข้อดีของผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่เด่นชัดที่สุดคือความสะดวกสบายใช้แล้วทิ้ง ไม่ต้องซัก รักษาความสะอาดได้ง่ายกว่าผ้าอ้อมแบบผ้า ที่สำคัญคือใช้งานง่ายกว่าแบบผ้าอ้อมผ้าที่ต้องมาคอยผูกปมหรือติดเข็มกลัด รวมทั้งสามารถพกพาไปไหนมาไหนสะดวกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาต้องเดินทาง นอกจากนี้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปช่วยดูดซับความชื้นทำให้ลูกน้อยหลับสบาย ไม่รบกวนการนอนเวลาที่เปลี่ยนผ้าอ้อมผ้าซึ่งต้องเปลี่ยนบ่อยๆหรือทุกครั้งที่ลูกน้อยขับถ่าย
1.3 วิธีการเลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ดี
หลักการง่ายๆของผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการคือการมีผิวสัมผัสด้านในที่อ่อนโยนอ่อนนุ่มต่อผิวของลูกน้อย นั่นคือมีความยืดหยุ่นที่ดีเยี่ยม ( higher elasticity) และให้ความชุ่มชื้นกับผิวของลูกน้อยรวมทั้งสามารถระบายอากาศได้ดีเหมือนผ้า มีความสามารถในการดูดซับได้ดีได้เร็ว และแห้งสนิท ( excellent hydrophobic properties) เพราะทุกๆหยดของปัสสาวะอุจจาระเป็นสารระคายเคืองและส่งผลให้เกิดผดผื่นรวมทั้งง่ายต่อการติดเชื้อได้ และเนื้อสารตัวซึมซับของผ้าอ้อมสำเร็จรูปนั้นต้องจับตัวเป็นก้อนหลังผ่านการดูดซับ ต้องไม่แตกแยกออกจากกันเพื่อการซึมซับทั่วทั้งแผ่น ขนาดของผ้าอ้อมโดยเฉพาะขอบขาของผ้าอ้อมควรกระชับเข้ากับวงขา และมีขอบปกป้องชั้นในป้องกันการรั่วซึม เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีอุจจาระหรือปัสสาวะซึมเปื้อนออกมา เมื่อลูกน้อยเดินหรือคลานผ้าอ้อมจะต้องไม่ขยับเขยื้อนและทำให้เกิดการเสียดสีซึ่งเป็นสาเหตุของการระคายเคือง ทำให้ลูกน้อยไม่สบายตัว ผ้าอ้อมสำร็จรูปที่ดีควรประกอบด้วยสารที่ไม่ระคายเคือง ( Nontoxic and non – stimulated) เช่น ไม่มีสารคลอรีน ( Chlorine- free) ไม่มี สารลาเท็กซ์ ไม่มีสีไม่มีน้ำหอมหรือสารโลหะหนัก ไม่มีformaldehyde รวมทั้งสารเรืองแสงต่างๆเป็นต้น และยิ่งจะดีขึ้นไปอีกถ้าเรามีผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่นผ้าอ้อมที่ทำจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
2. ปัญหาการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปในเด็ก
2.1 เด็กใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปนานๆทำให้ขาโก่งจริงหรือไม่
เรามักจะได้ยินเสมอว่าถ้าให้ลูกน้อยใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ลูกน้อยขาโก่ง ซึ่งความจริงแล้วการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปหรือผ้าอ้อมเด็ก ไม่ใช่สาเหตุและไม่ทำให้ลูกขาโก่งแน่นอน เพราะความจริงแล้วเด็กแรกเกิดดูเหมือนขาโก่งนั่นเป็นเพราะในช่วงที่อยู่ในท้องแม่ซึ่งมีพื้นที่จำกัด ทำให้ทารกในครรภ์ต้องอยู่ในท่าที่ทำให้ขาทับกันหลายลักษณะ เช่น ท่าขัดสมาธิ ท่าไขว้ขา หรือท่าคู้เข่าคล้ายนั่งกอดเขา และโค้งไปตามรูปท้องของแม่ เมื่อคลอดออกมาแล้วขาก็ยังอยู่ในรูปทรงโก่งงอตามท่าทางที่อยู่ในครรภ์นั่นเอง แต่ขาที่ดูโก่งจะค่อยๆ เหยียดตรงได้เองเมื่อลูกโตขึ้น เพราะร่างกายและกระดูกจะยืดออกตามการเจริญเติบโต เด็กที่โตขึ้นขาโก่งมักจะเกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือ พันธุกรรม และความผิดปกติของกระดูกซึ่งเกิดจากโรคที่เป็นมาตั้งแต่เกิด นอกจากนี้ถ้าผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่คุณพ่อคุณแม่เลือกให้ลูกน้อยมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นสูงผ้าอ้อมก็จะหดตัวและคลายตัวตามสรีระและการเคลื่อนไหวของลูกน้อยได้จะยิ่งไม่มีผลต่อกระดูกและกล้ามเนื้อของลูกน้อยแน่นอน
2.2 เด็กงอแงทุกครั้งที่ใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเป็นเพราะอะไรและควรแก้ไขอย่างไรให้เด็กยอมรับการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
ปัญหาการปฏิเสธการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปหลัก ๆ น่าจะเกิดจากการที่คุณพ่อคุณแม่เลือกใช้ผ้าอ้อมที่ไม่มีการระบายความชื้นที่ดีพอทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายตัว ร้อน อึดอัด หรือมีขนาดที่ไม่เหมาะสมกับขนาดของร่างกายลูกน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนาดรอบขาและเอว ส่งผลให้ลูกน้อยไม่ชอบที่จะใส่ผ้าอ้อม ซึ่งก็คงจะเป็นลักษณะเดียวกับผู้ใหญ่ที่เลือกเสื้อผ้าที่คับและหนามากเกินไป
ดังนั้นการที่จะทำให้ลูกน้อยมีทัศนคติต่อการใส่ผ้าอ้อมที่ดีเราควรเลือกผ้าอ้อมที่มีขนาดพอเหมาะกับขนาดตัวลูกน้อยไม่ใช่ดูเพียงอายุที่พอดี ควรดูเรื่องขนาดรอบเอวและรอบต้นขาไปพร้อมๆกันด้วยเพราะเด็กแต่ละคนมีรูปร่างที่แตกต่างกันไป และผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ดีควรดูดซับความชื้นได้ดี ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถระบายความร้อน ที่สำคัญต้องไม่มีสารระคายเคือง ที่ทำให้เกิดอาการแพ้และไม่สบายตัว นอกจากนี้เราควรเปลี่ยนผ้าอ้อมลูกน้อยบ่อยๆ ทุก 4-6 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นต้องหมั่นคอยสังเกตว่าผ้าอ้อมของลูกน้อยมีปัสสาวะล้นเกินหรือมีอุจจาระออกมา เพราะลูกน้อยไม่สามารถบอกเราได้เมื่อไม่สบายตัว แต่จะแสดงออกผ่านอาการงอแง และเราควรเปลี่ยนผ้าอ้อมหลังจากลูกน้อยถ่ายให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หรืออย่างน้อยไม่ควรเกิน 10-15 นาทีหลังถ่ายอุจจาระเพราะการทิ้งอุจจาระในผ้าอ้อมจะทำให้ลูกน้อยไม่สบายตัว แถมยังเป็นการสะสมของเชื้อโรคได้อีกด้วย
3. ปัญหาสุขอนามัยและการแพ้ผ้าอ้อมในเด็ก
3.1 วิธีสังเกตอาการแพ้ผ้าอ้อมในเด็ก
ก่อนอื่นเราควรจะทำความเข้าใจกันก่อนค่ะว่าอาการผื่นที่บริเวณผ้าอ้อมสาเหตุหลักจริงๆไม่ได้เกิดจากการที่ลูกน้อยแพ้ผ้าอ้อมหรือสารที่มีอยู่ในผ้าอ้อม โดยผื่นผ้าอ้อมนี้พบได้บ่อยในเด็กทารกโดยเฉพาะช่วงอายุ 3- 18 เดือนโดยพบถึงร้อยละ 20 ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี
ลักษณะของผื่น ในระยะแรกผื่นจะมีสีแดงตามส่วนนูนที่สัมผัสกับผ้าอ้อมที่เปียกชื้น คือบริเวณต้นขาด้านใน ก้น ท้องน้อยช่วงล่างและบริเวณอวัยวะเพศ โดยผิวหนังในซอกลึก หรือตามรอยพับ จะไม่มีผื่นแต่ถ้าผื่นเป็นมากขึ้น จะมีอาการถลอกของผิวหนัง ถ้าเป็นมากผิวหนังจะหลุดลอกคล้ายโดนน้ำร้อนลวกและผื่นจะขยายขนาดกว้างขึ้น สาเหตุเกิดจากหลายๆปัจจัยร่วมกันโดยสาเหตุหลักที่พบบ่อยๆ คือการที่ผิวหนังสัมผัสสารระคายเคืองโดยเฉพาะ การที่ผิวสัมผัสกับปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเวลานานๆร่วมกับมีภาวะเปียกชื้น ทำให้ผิวหนังถูกทำลายได้ง่ายเมื่อมีการเสียดสีจากการใส่ผ้าอ้อม
วิธีการที่พ่อแม่จะสามารถสังเกตได้ง่ายๆคือทารกหรือลูกน้อยอาจเริ่มมีการร้องกวนเช่นเวลากลางคืนนอนหลับอยู่อาจมีการร้องงอแงเวลาที่ลูกน้อยขับถ่ายเพราะมีอาการแสบผิวหนังโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะร้องงอแงเวลาที่เราเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือเวลาเช็ดทำความสะอาดและมีการสัมผัสบริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อม
3.2 การใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปมีอันตรายหรือไม่ และมีสารอะไรบ้างในผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ทำให้เด็กเกิดอาการแพ้
ส่วนมากแล้วโดยตัวผ้าอ้อมหรือส่วนประกอบของผ้าอ้อมหลักๆจะมีองค์ประกอบอยู่สามชั้น นั่นคือชั้นที่อยู่ด้านในสุดที่สัมผัสกับผิวของลูกน้อยส่วนมากจะเป็นสารที่ดูดซับน้ำได้ดีเยี่ยม และคงความแห้ง อ่อนนุ่มโดยการผลักน้ำไปสู่ชั้นกลาง ( absorbent core ) ซึ่งจะดึงน้ำมากักเก็บไว้และเก็บไว้ในชั้นนี้ส่วนมากจะเป็นลักษณะเจลเม็ดใสๆ และชั้นนอกสุดจะเป็นส่วนที่กันน้ำ ( waterproof) เพื่อกันไม่ให้น้ำออกมาเปื้อนเสื้อผ้าด้านนอก ดังนั้นส่วนประกอบหลักๆมักจะไม่ส่งผลโดยตรงให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้ โดยมากมักจะเป็นสารเคมีต่างๆที่ใส่เพื่อเพิ่มการซึมซับมากกว่าที่ดีที่สุดควรเป็นสารจากธรรมชาติเช่นจากเยื่อไผ่ ( Bamboo ) และไม่ควรมีโลหะหนัก สี สารคลอรีนซึ่งเป็นตัวสำคัญทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นต้น นอกจากนี้สาเหตุอื่นๆที่เป็น สาเหตุหลักๆที่ลุกน้อยเกิดผดผื่นบริเวณผ้าอ้อมมักเกิดจาก
- การระคายเคืองจากปัสสาวะ อุจจาระ เพราะเอนไซม์ต่างๆในอุจจาระส่งผลให้ค่าความเป็นกรดด่างของผิวลูกน้อยสูงขึ้น รวมทั้งสบู่ โลชั่นที่ใช้ทาตัว เป็นต้น เนื่องจากผิวของลูกน้อยค่อนข้างบอบบางไวต่อสารต่างๆส่งผลให้เกิดการแพ้ระคายเคืองได้ง่ายโดยเฉพาะเด็กวัยแรกเกิด เพราะเด็กวัยนี้จะมีการขับถ่ายบ่อย ทำให้ง่ายต่อการเกิดผดผื่น
- การเสียดสีและการเช็ดขัดถู จากตัวผ้าอ้อมที่ขนาดไม่พอดีกับสรีระของลูกน้อย ซึ่งผ้าอ้อมที่ดีควรมียางรัดบริเวณโคนขาแยกเป็นสองชั้นด้านนอกและด้านในซึ่งควรจะอ่อนนุ่มและสอดรับกับร่างกายหรือสรีระของลูกน้อยเพื่อลดช่องว่างระหว่างผิวของลูกน้อยกับผ้าอ้อมซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเสียดสี รวมทั้งเสื้อผ้าที่ลูกน้อยใส่ควรเป็นผ้าโปร่งบางเบาสบายมากกว่าเป็นผ้าหนาเช่นยีนส์เป็นต้น
- การระคายเคืองจากสารที่เราใช้กับผิวของลูกน้อยเช่น ผ้าเช็ดทำความสะอาด ( baby wipes ) ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม.
- การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา โดยเฉพาะพื้นที่ที่ง่ายต่อการติดเชื้อเพราะมีความชื้นสูงคือ ก้น ต้นขาและบริเวณอวัยวะเพศ และการติดเชื้อรามีโอกาสสูงเพิ่มขึ้นถ้าลูกน้อยได้รับยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ
- การเริ่มต้นให้อาหารเสริมและอาหารที่มารดาทานกรณีที่ลูกน้อยทานนมมารดาก็มีส่วนเพราะอาจทำให้อุจจาระมีองค์ประกอบที่เปลี่ยนไป หรือทำให้ลูกน้อยอุจจาระเหลวมากขึ้น
ความใส่ใจในการเลือกผ้าอ้อมให้ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ยังเปี่ยมล้นอยู่เสมอในทุกๆรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นขนาดที่ต้องเหมาะสมกับตัวลูกน้อย การซึมซับที่ดีเยี่ยม ผิวสัมผัสที่นุ่มพิเศษ ระบบระบายอากาศเพื่อลดความอับชื่นของผ้าอ้อม และที่สำคัญที่สุดคือต้องปราศจากสารคลอรีน 100% ซึ่งสารคลอรีนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้ ระคายเคือง ให้เราดูแลลูกน้อยของคุณอย่างเต็มประสิทธิภาพ กับ Muumi baby Diaper
เครดิตบทความ
พญ.นวลรัตน์ หาญศิริพันธุ์