ปานแบบนี้อันตรายควรปรึกษาแพทย์
ถ้าคุณพ่อ คุณแม่พบว่า ลูกน้อยมีปานที่สีเปลี่ยนแปลงไป คือจางลง หรือเข้มขึ้นกว่าเดิม ผิวหนังมีการบวม หรือนูนขึ้น และมีผิวหนังเกิดขึ้นใหม่อย่างผิดปกติ ควรพบแพทย์
ปานส่วนใหญ่นั้น จะไม่ก่อให้เกิดอันตราย ยกเว้น ปานชนิด hemangiomas และ port-wine stains ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น ทำให้แผลเปิด เลือดออกง่าย อวัยวะที่อยู่รอบๆ ได้รับผลกระทบทำให้ทำงานผิดปกติ เช่น บริเวณปาก หรือตา และอาจมีการเจริญเติบโตรวดเร็วกว่าปกติ
ในบางครั้งปาน หรือไฝอาจทำให้กลายเป็นมะเร็งได้ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ จึงควรรีบพบแพทย์โดนเร็วที่สุด
ปานแดงในเด็กเล็กอันตรายหรือไม่?
ปานแดงในเด็กเล็ก คือโรคเนื้องอกของหลอดเลือดชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง เป็นโรคผิวหนังที่ไม่มีสาเหตุ เป็นเนื้องอกที่พบได้บ่อยในเด็ก ประมาณ 4% ของเด็กวัยก่อน 1 ขวบ และพบบ่อยในเด็กหญิงบ่อยกว่าเด็กชาย ซึ่งช่วงแรกๆ จะเติบโต และค่อยๆ ลดขนาดลง จนหายไปเอง
เด็กทารกที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ คือ ทารกเด็กผู้หญิง, เด็กทารกคลอดก่อนกำหนด, ทารกน้ำหนักน้อย, คุณแม่มีอายุมากกว่า 30 ปี และคุณแม่ที่คลอดลูกน้อยมาแล้วหลายคน
โดยปกติแล้ว จะมีการตรวจร่างกายเด็กทารกทุกครั้งที่ฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังปานแดงในเด็กเล็ก เพราะปานแดงเป็นเนื้องอกที่หายได้เอง แต่ก็มีบางตำแหน่งที่อาจทำให้มีผลข้างเคียง เช่น
- ปานแดงที่เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร ควรตรวจหาความผิดปกติ
- ปานแดงที่เกิดขึ้นบริเวณหนังตา ซึ่งอาจบดบังการมองเห็น หรือทำให้การมองเห็นผิดปกติได้
- ปานแดงที่เกิดขึ้นบริเวณกรามล่าง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทางการหายใจ
- ปานแดงที่เกิดขึ้นบริเวณหลัง และทวารหนัก ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดปกติทางระบบปัสสาวะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่