ปานแดงกับการรักษา
ปานส่วนใหญ่นั้น ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะให้ลูกน้อยทำการรักษาเพื่อความสวยงาม หรือเมื่อเกิดอาการแทรกซ้อน หรือพบว่ามีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปเป็นอย่างอื่นที่ร้ายแรง ซึ่งโดยทั่วไปการรักษา เช่น การผ่าตัด และการใช้เลเซอร์เฉพาะทาง เป็นต้น ขึ้นอยู่กับชนิดของปาน
ซึ่งแนวทางในการรักษาในเด็กเล็กมีดังนี้
1.รับประทานยาสเตียรอยด์ เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ หลังจากนั้นค่อยๆ ลดขนาดยาลง วิธีนี้ทำให้ก้อนเนื้องอกลดขนาดลงประมาณ 1 ใน 3 แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรืออัตราการเพิ่มของส่วนสูงลดลง
2.ฉีดยาสเตียรอยด์ที่ก้อนเนื้องอก ซึ่งเหมาะกับปานที่ไม่ใหญ่ บริเวณปาก จมูก แก้ม หู อาจมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผิวหนังที่ฉีดยาบางลง หรืออาจมีอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นขึ้น
3.รักษาด้วยยาชนิดอื่นๆ เช่น ยาเคมีบำบัด ซึ่งมีผลข้างเคียงจากยาค่อนข้างสูง
4.ผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก มักทำเมื่อลูกน้อยอายุ 3 – 5 ขวบ ก่อนเข้าโรงเรียน อาจมีผลข้างเคียง เช่น มีอาการเลือดออกจากการผ่าตัด เพราะเป็นเนื้อส่วนที่มีเส้นเลือดอยู่มาก
5.การรักษาด้วยเลเซอร์ โดยจะทำการรักษาทุก 2 – 4 สัปดาห์ ซึ่งจำนวนครั้งในการรักษาขึ้นอยู่กับขนาด
เครดิต: Sunisa Wittayavorabhum, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, หาหมอ.com
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ปานแรกเกิด เด็กกระดองเต่า เรื่องจริงสุดเศร้าของเด็กชายวัย 6 ขวบ
เบบี๋ผู้มี ปานแดงรูปหัวใจ จุติในท้องคุณแม่วันวาเลนไทน์!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่