เด็กแรกเกิดตัวเหลือง คืออะไร? ทำไมถึงอันตราย? คืออย่างนี้ค่ะ ปกติแล้วหลังจากลูกคลอดออกจากท้องแม่แล้ว คุณหมอจะทำการตรวจร่างกายของลูกว่ามีสิ่งผิดปกติอะไรหรือไม่ อาการตัวเหลืองก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณหมอจะต้องตรวจ เพราะ เด็กแรกเกิดตัวเหลือง ที่ไม่ได้รับการรักษา สารเหลืองนี้จะเข้าไปอยู่ในเนื่อเยื่อสมอง ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ได้ อันตรายมากใช่ไหมล่ะคะ เรามาทำความรู้จักกับภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดกันดีกว่าค่ะ
เด็กแรกเกิดตัวเหลือง อันตรายหรือไม่? รักษาอย่างไร?
อะไรคือภาวะตัวเหลือง?
เด็กแรกเกิดตัวเหลือง สามารถพบได้ถึง 50% ของเด็กแรกเกิดทั้งหมด หมายถึงครึ่งนึงของเด็กแรกเกิดจะมีภาวะนี้ เด็กที่มีภาวะตัวเหลือง จะมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” ในเลือดสูงกว่าปกติ บิลิรูบินนี้เกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นภาวะปกติของร่างกายทุกคน แต่ในเด็กแรกเกิดที่ยังเจริญเติบโตไม่มากพอที่จะกำจัดสารบิลิรูบินและขับออกจากร่างกายทางอุจจาระและปัสสาวะได้ จึงส่งผลให้ผิวหนังและตาขาวของทารกมีสีเหลือง
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกตัวเหลือง?
อ่านมาถึงตรงนี้ แม่ ๆ หลายคนอาจจะกังวลใจว่าลูกเราจะตัวเหลืองไหม เพราะอาการนี้พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิดทั่วไป อย่าเพิ่งกังวลใจไปค่ะ เพราะถึงจะมีอาการตัวเหลือง ก็ไม่ได้หมายความว่าสารเหลืองจะขึ้นไปทำลายสมองได้ในทันที ปกติแล้วหลังจากคลอดได้ 1-3 วัน คุณหมอจะตรวจค่าของสารเหลืองที่มีอยู่ในร่างกายก่อนค่ะ หากมีค่าสูงเกินระดับที่ 13 คุณหมอจะรีบทำการรักษาโดยการถ่ายเลือดทันที หากค่าของสารเหลืองมีค่าเกินระดับที่ 8 คุณหมอจะรักษาโดยการส่องไฟ และหากมีค่าต่ำกว่านั้น คุณหมอจะให้กลับบ้านเพื่อปล่อยให้กลไกของร่างกายที่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นแล้ว จะสามารถขับสารเหลืองออกมาได้เอง
แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อได้กลับบ้านแล้ว ค่าของสารเหลืองจะไม่มีทางขึ้นมาในระดับที่เป็นอันตรายได้อีกนะคะ ในวันที่ 5-7 หลังคลอด คุณหมอจะนัดมาตรวจค่าของสารเหลืองอีกครั้ง เพื่อดูว่าร่างกายได้สร้างกลไกการขับสารเหลืองได้ดีพอหรือยัง หากยังไม่ดีพอ คุณหมอก็จะดูสาเหตุว่ามีสิ่งใดผิดปกติหรือไม่ เช่น ลูกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอในการช่วยขับสารเหลือง ลูกติดเชื้อไวรัส ตับอักเสบ เป็นต้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ เด็กแรกเกิดตัวเหลือง มีอาการอย่างไร?