วิธีรับมือเมื่อลูกต้องเข้า NICU
ไม่มีคุณแม่คนไหนที่จะไม่เสียใจเมื่อต้องอยู่ห่างจากลูก หลังจากที่ลูกอยู่ในท้องของตัวเองมานานถึง 9 เดือนหรอกค่ะ แต่เมื่อลูกได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญแล้ว คุณแม่ควรทำใจไม่ควรเป็นกังวล เพราะความกังวลของคุณแม่จะส่งผลให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้นะคะ ดังนั้น ควรทำใจให้สบาย และอยู่เฝ้าลูกเพื่อที่จะให้นมได้ทุก ๆ 3 ชั่วโมง ด้วยการบีบน้ำนมแม่ใส่แก้วเล็ก ๆ แล้วป้อนลูกทางช่องกลม ๆ ของตู้อบ นอกจากนี้พยาบาลที่อยู่ในห้อง NICU จะสอนวิธีการดูแลทารกแรกเกิดให้คุณแม่ เช่น การอาบน้ำให้กับทารกแรกเกิด การดูแลรักษาความสะอาดของสะดือลูก วิธีการให้นมแม่ การห่อตัว การทำให้ลูกร่างกายอบอุ่น เป็นต้น
ดูแลอย่างไร เมื่อลูกออกจาก NICU
การที่ลูกน้อยได้ออกจากห้อง NICU คือ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่รอคอย แต่ถึงแม้ว่าลูกจะแข็งแรงสำหรับโลกภายนอกแล้ว แต่การดูแลทารกที่ออกจาก NICU ควรจะระมัดระวังเป็นพิเศษมากกว่าทารกทั่วไป เพราะทารกมีโอกาสที่ะติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าเด็กคนอื่น เพราะระบบภูมิคุ้มกันของทารกอาจยังไม่แข็งแรงพอ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้
- จำกัดปริมาณคนเยี่ยม และดูแลรักษาความสะอาดของคนที่จะมาเยี่ยม คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจกับญาติ ๆ ว่าทารกแรกเกิดมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย สำหรับคนที่ต้องการจะมาเยี่ยม ควรล้างมือและดูแลรักษาความสะอาดก่อนจะจับตัวลูกน้อย งดการกอดหรือหอม โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถบอกคนอื่น ๆ ได้ว่าเมื่อลูกแข็งแรงดีพอแล้ว ทุกคนจะได้ชื่นชมหลาน ๆ แน่นอน เชื่อได้ว่าญาติ ๆ และ เพื่อน ๆ เข้าใจอย่างแน่นอนค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง ลูกหนังลอกแสบทั้งตัวจาก “โรค 4S” แม่เตือน! อย่าให้ใครหอม
พ่อแม่ควรระวัง! 5 โรคที่มาพร้อมจูบ
- หลีกเลี่ยงการพาลูกไปที่สาธารณะ ห้างสรรพสินค้า หรือ ที่ที่มีคนอยู่จำนวนมาก โดยหากไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรพาลูกออกไปนอกบ้านเลยค่ะ ควรไปเมื่อจำเป็นจริง ๆ เช่น พาลูกไปพบแพทย์ตามนัด
- เตรียมสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ อากาศภายในบ้านควรถ่ายเท ไม่อับชื้น ควรแยกสัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากลูกไปก่อนในช่วงนี้ ปรับอุณหภูมิในบ้านไม่ให้ร้อน หรือเย็นจัดเกินไป ไม่ควรเปิดพัดลมจ่อตัวลูก
บทความที่เกี่ยวข้อง เปิดพัดลมจ่อ ลูกเสี่ยงปอดอักเสบ
ทารกแรกเกิดควรสวมเสื้อผ้าแบบไหน? เมื่ออยู่ในห้องแอร์
- นมแม่ช่วยได้ ในนมแม่นั้น อุดมด้วยสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นทั้งต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย นมแม่เป็นวัคซีนธรรมชาติลูกจะได้รับภูมิต้านทานโรคได้โดยตรงจากน้ำนมแม่ ทั้งยังมีสารช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันโรคภูมิแพ้ และยังมีประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย
NICU คือ ห้องที่คุณพ่อคุณแม่ไม่อยากให้ลูกเข้าไปอยู่ แต่เชื่อเถอะค่ะว่า การที่ลูกได้อยู่ห้อง NICU นั้น ปลอดภัยกับลูกน้อยมากที่สุดแล้วค่ะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ ผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้นะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
6 วิธีลด อาการท้องแข็ง ไม่อยากคลอดก่อนกำหนด อย่าทำสิ่งนี้
ยายับยั้งการคลอด ช่วยไม่ให้ลูกคลอดก่อนกำหนดได้จริงหรือ?
พบกับทารก คลอดก่อนกำหนด น้ำหนัก 400 ก. ต่อสู้ชีวิตจนรอด
ขอบคุณข้อมูลจาก : paolohospital, coggle.it
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่