ทารกไม่ยอมนอนกลางคืน ลูกร้องงอแงทั้งคืนกล่อมนอนเท่าไหร่ก็ไม่ยอมนอน ฝันร้ายของแม่แต่เพราะอะไรลูกถึงได้มีอาการนี้ ทำความรู้จัก Overtired baby เพื่อสงบลูกน้อย
ทารกไม่ยอมนอนกลางคืน หรือลูกจะเป็น Overtired baby!!
ดูเจ้าตัวเล็กก็ง่วงนอนมากอยู่ หาวไม่ยอมหยุด คืนนี้แม่คงได้หลับสบาย เต็มอิ่มเสียที แต่เมื่อฝันร้ายมาเยือน ทำไมกล่อมลูกนอนเท่าไหร่ เจ้าตัวน้อยของแม่ก็ไม่ยอมนอนเสียทีนะ พอวางลงบนที่นอนก็ตื่นเสียละ ต้องมาเริ่มกล่อมนอนใหม่กันอีกแล้ว
ทำไม ทารกไม่ยอมนอนกลางคืน ??
แม่หลาย ๆ คนคงได้พบกับเหตุการณ์ การกล่อมลูกนอนมาราธอน กล่อมนอนเท่าไหร่ก็ไม่ยอมนอนเสียที หรือนอนเพียงไม่กี่นาที กล่อมเป็นหลายชั่วโมง เพียงไม่นานก็ตื่นมาร้องงอแงเสียแล้ว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ลูกเหนื่อยเกินไป (Overtired baby)
เหนื่อยเกินไป ง่วงมากจนเกินไป การได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอของทารก ทำให้เกิดอาการงอแง ร้องไห้ ทารกไม่ยอมนอนกลางคืน อาการแบบนี้ เกิดจากลูกน้อยเหนื่อยเกินไป และส่งผลกระทบต่อการนอน ทำให้นอนยาก และไม่ยอมหลับยอมนอนนั่นเอง เราเรียกภาวะแบบนี้ว่า Overtired baby
สังเกตอาการแสดงว่า ลูกคุณเหนื่อยเกินไป
เมื่อลูกน้อยของคุณผ่านช่วงเหนื่อย พวกเขาจะก้าวไปสู่ระยะที่เหนื่อยเกินไป แม้ว่าลูกจะอยู่ในวัยทารก แต่เชื่อเถอะว่า พวกเขาฉลาดพอที่จะสื่อสารได้แล้ว โดยการส่งสัญญาณของทารกที่เหนื่อยล้า ที่มีอาการให้สังเกตได้ ดังต่อไปนี้
- หาวมากขึ้น เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ เด็ก ๆ จะหาวมากขึ้นเมื่อเหนื่อย การวิจัยจากแหล่งที่เชื่อถือได้ไม่แน่ใจว่า การหาวมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ถ้ามี อาจเป็นไปได้ว่าการหาวปลุกสมองหรือเป็นวิธีการสื่อสาร
- ร้องไห้หนักขึ้น ทารกที่เหนื่อยเกินไป จะจู้จี้จุกจิก และร้องไห้ได้ง่ายขึ้น
- ขยี้ตา ดึงหู ทารกที่เหนื่อยล้าอาจขยี้ตา และใบหน้าหรือดึงหู
- ติดแม่ เมื่อลูกมีภาวะ overtired baby เด็กจะไม่ยอมอยู่ห่างจากแม่ ยึดมั่นในตัวคุณอย่างแน่วแน่
- ไม่ยอมนอน ร้องไห้งอแง หรือเมื่อนอนไปแล้วสักพักก็จะตื่นในเวลาที่รวดเร็ว
- นอนผิดเวลา . คุณอาจพบว่าลูกน้อยของคุณหลับไปในขณะที่คุณกำลังเตรียมขวดนมหรือกำลังตีไข่
- แอคทีฟมากเกินไป ทารกที่เหนื่อยล้าสามารถแสดงพลังงานได้มากมาย คุณสามารถโทษฮอร์โมนเหล่านั้น คอร์ติซอลและอะดรีนาลีนได้
ฮอร์โมนความเครียดในเด็ก
เมื่อลูกน้อยของคุณเหนื่อยเกินไป ระบบตอบสนองความเครียดของทารกจะเริ่มทำงาน กระตุ้นคอร์ติซอล และอะดรีนาลีนให้หลั่งไหลเข้าสู่ร่างกายเล็กๆ ของลูกน้อย คอร์ติซอล(Cortisol)ช่วยควบคุมวงจรการนอนหลับ และตื่นของร่างกาย อะดรีนาลีนเป็นตัวการสู้หรือหนี
Cortisol มีหน้าที่อะไร
Cortisol คือฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกาย (Stress hormone) ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาปริมาณมากที่สุดในตอนเช้า ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น และมีพลังต่อสู้ในวันใหม่ของทุกวัน และจะลดลงเหลือเพียง 10% ในช่วงเย็น
นอกจากนี้ ในสถานการณ์คับขัน Cortisol ยังมีหน้าที่กระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และอัตราการเต้นหัวใจเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้ต่อสู้กับปัญหาข้างหน้า แต่ถ้าเรามีความเครียดสะสมเรื้อรัง จากการทำงานหนักมากเกินไป พักผ่อนไม่พอ หรือ ออกกำลังกายเกินพอดี ระดับ Cortisol ที่สูงขึ้นจะเริ่มส่งผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจาก ฮอร์โมนตัวนี้มีฤทธิ์ ในการสลายและทำลายล้าง (Catabolic hormone) ทำให้ร่างกายเสื่อมและแก่เร็ว แต่ถ้ามีน้อยไป ก็จะทำให้ ไม่มีแรงลุกขึ้นจากที่นอนตอนเช้า ขาดความกระตือรือร้น และอ่อนเพลียตอนกลางวัน
อะดรีนาลีน มีหน้าที่อะไร
อะดรีนาลีน คือฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไตหลั่งออกมาเพื่อตอบสนองปฏิกิริยาของร่างกายที่สั่งให้ต่อสู้ หรือหนีเมื่อตกอยู่ในเหตุการณ์อันตราย ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว บีบตัวแรง และหลอดลมในปอดขยายตัวขึ้น
เมื่อฮอร์โมนทั้งสองนี้อยู่ในระดับสูง จะมีบทบาทสำคัญในการหลั่งออกมาตามกระแสเลือดในร่างกาย ทำให้ร่างกายยากที่จะผ่อนคลาย และสงบทำให้การที่ลูกจะเข้านอน หลับสนิท เป็นเรื่องที่ยาก
เด็กต้องการนอนนานแค่ไหน??
ทารกต้องการการนอนหลับในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการทางสมองที่เหมาะสม ซึ่งเป็นระยะเวลาการนอนหลับโดยเฉลี่ยสำหรับทารกในช่วง 24 ชั่วโมง เป็นดังนี้
- 0–3 เดือน ต้องการการนอนนาน 16–17 ชั่วโมง
- 4–6 เดือน ต้องการการนอนนน 14–15 ชั่วโมง
- 6–12 เดือน ต้องการการนอนนาน3–14 ชั่วโมง
และจากข้อมูลของ American Academy of Pediatrics เด็กวัยหัดเดิน (อายุ 12 ถึง 24 เดือน) ต้องการการนอนหลับระหว่าง 11 ถึง 14 ชั่วโมงในช่วง 24 ชั่วโมง
อ่านต่อ>>>วิธีช่วยให้ลูกหลับสบาย และวิธีป้องกันไม่ให้ลูกเป็น Overtired baby คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่