ทารก 0-1 ปี
แหล่งรวบรวมความรู้ ทารก 0-1 ปี บทความ ด้านโภชนาการและพัฒนาการเด็ก ของทารกแรกเกิด 1 เดือนถึง 1 ปี ลูกจะเปลี่ยนไปยังไงบ้าง รวบรวมพัฒนาการทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ
ธรรมชาติมีสัมผัสแบบไหนบ้างนะ
มาชวนลูกน้อยสัมผัสธรรมชาติและพูดคุยกัน ก้อนหิน : ก้อนหินแข็งมีทั้งก้อนใหญ่ ก้อนเล็กจับดูให้ความรู้สึกหลากหลาย เพราะพื้นผิวต่างกันไป บางก้อนเรียบบางก้อนขรุขระ บ้างกลมมน บ้างมีเหลี่ยมคม กระทบกันแล้วมีเสียงด้วย โยนลงน้ำน้ำก็กระจายแถมมีเสียงดัง “จ๋อม” ด้วยนะ ดิน : ดินแม้จะแข็งและขรุขระ แต่เมื่อขยำๆ ก็กลายเป็นดินร่วนๆ สีดำของดินก็ติดอยู่ที่มือ ดินกลางแดดมีความแข็ง แต่ดินหลังฝนตกจะนุ่มและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ บนพื้นดินบางที่ก็มีมด บางที่มีดอกไม้ ต้นไม้ และสิ่งต่างๆ อีกมากมาย หญ้า : ลองเดินบนหญ้าดูสิจ๊ะ แรกๆ หนูจะรู้สึกเจ็บ แต่สักพักจะรู้สึกคัน และสักพักหนูจะรู้ว่านุ่มเท้าแค่ไหน ใบหญ้ามีสีเขียว โอนอ่อนไปมาได้ แถมยังมีกลิ่นหอมสดชื่นด้วยนะ ทราย : พื้นทรายมีความหยาบ สาก และเบา เวลาลมพัดมาทรายก็ปลิวว่อน แต่ลองเอาน้ำมาผสมทรายดูสิจ๊ะ ทรายเปียกจะเย็นชื้นและเหนียวขึ้น จะปั้นเป็นลูกบอลหรือสร้างเป็นภูเขาก็ทำได้ง่ายๆ เชียว โคลน : โคลนเหนียวแสนเหนียว แต่นุ่มและลื่นเท้ามากเลยนะ ลองจับโคลนเย็นๆ […]
เรียกชื่อแล้วลูกไม่ตอบรับ สัญญาณออทิสติกหรือแค่ติดหน้าจอ?
ลูกหนึ่งขวบ ไม่ยอมตอบรับเวลาเรียกชื่อ แต่ถ้าชวนว่า “มาดูนี่เร็ว!” กลับสนใจ มองตามตลอด ตอนนี้ลูกเดินได้ เรียก ป๊ะ ม๊ะ (พ่อแม่) ก็ได้ เลยสงสัยว่า ทำไมเวลาเรียกชื่อถึงไม่ยอมตอบล่ะคะ?
หนูร้อง เพราะอยากบอกว่า…
…หนูหิว สาเหตุอันดับต้นๆของการร้องไห้ของเด็กทารกคือความหิว “ดังนั้นใครมีนมแม่มากพอก็ควรให้ลูกได้กินนมแม่ แต่ในกรณีที่แม่มีน้ำนมน้อยเกินไปก็ไม่ต้องเครียด เพราะสามารถให้นมขวดแทนได้ สำคัญคือลูกต้องอิ่ม นอกจากนี้ข้อดีของนมขวดที่หลายคนมักมองข้ามไปคือ คุณพ่อมีบทบาทมากขึ้น สามารถช่วยคุณแม่ให้นมลูกแทนได้ด้วย” …หนูง่วงลูกน้อยในขวบปีแรกมักใช้เวลานอนมาก เฉลี่ยวันละ 14-18 ชั่วโมง หากลูกนอนไม่พอเพราะถูกรบกวนเป็นสาเหตุให้งอแงได้การจัดสภาพแวดล้อมการนอนจึงสำคัญ ลูกควรมีเตียงเป็นสัดเป็นส่วน อุณหภูมิห้องพอเหมาะ สถานที่เงียบสงบ และแสงไฟไม่สว่างเกินไป ไม่ควรอุ้มลูกมานอนหลับบนตัว เพราะจะทำให้ติด วันไหนไม่มีใครอุ้มนอนบนตัว จะร้องไม่ยอมนอนเลย …หนูไม่สบายตัวเลย ลูกอาจหงุดหงิดเพราะรู้สึกเฉอะแฉะ หรือว่ามีแมลงอย่างยุงหรือมดมากัดทำให้เจ็บและคัน …หนูอยากเล่นด้วย การเล่นกับลูกนอกจากจะสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้ประสาทสัมผัสทุกอย่างพัฒนาขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของลูกเมื่อเติบโตขึ้น …อุ้มหนูหน่อยนะการกอดและสัมผัสที่ดีคือสิ่งสำคัญที่ลูกวัยนี้ต้องการ ดังนั้นไม่ว่าลูกจะร้องด้วยเหตุใด คุณแม่ควรรีบอุ้มปลอบเพื่อให้เขาสงบเป็นอย่างแรก และการทำเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการสปอยล์ลูกแต่อย่างใด เรื่องโดย : กองบรรณาธิการ
มือน้อยนี้…ที่หนูเลิฟ
Q: ลูกอายุ 6 เดือนดูจะสนใจมือตัวเองมากเป็นพิเศษ ชอบนั่งมองมือ กุมมือ บีบมือ หรือบางทีก็อมมือทั้งมือเลยค่ะ ทำไมชอบมือขนาดนี้ก็ไม่รู้ “วัย 4-6 เดือนเป็นวัยที่เริ่มสนใจร่างกายของตัวเองและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เด็กวัยนี้ชอบมองมือ มองเท้า และนิ้ว ไม่ถือว่าผิดปกติค่ะ เขากำลังเรียนรู้ว่า ฉันมีมือ มีเท้า มีนิ้ว รวมถึงเรียนรู้รสชาติ และผิวสัมผัสวัสดุต่างๆ ทั้งผิวตัวเองและพื้นผิวของสิ่งรอบตัว ดังนั้นถ้าลูกจะอมมือหรือดูดมือบ้างก็ไม่ต้องกังวลค่ะ อย่างไรก็ตาม ถ้าลูกอมมือบ่อยมากหรืออมมือตลอดเวลา อาจเป็นสัญญาณว่า เจ้าตัวน้อยถูกปล่อยปละละเลยให้อยู่คนเดียวมากเกินไปจนรู้สึกเหงา จึงต้องกระตุ้นตัวเอง หากทำบ่อยๆ เข้า จะกลายเป็นนิสัยที่เลิกยาก คุณแม่ควรหาเวลาเล่นกับลูกบ่อยๆ และหาของเล่นที่สะอาดปลอดภัย สามารถเอาเข้าปากได้มาเบี่ยงเบนความสนใจของลูกบ้างค่ะ บทความโดย : พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด ภาพ : กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
ทำไงดี ฟันเบบี๋ไม่ยอมขึ้น!
ลูกสาวอายุ 11 เดือน กินนมแม่ล้วน ร่างกายแข็งแรง เดินได้ตั้งแต่ 8 เดือนกว่า แต่ว่าฟันยังไม่ขึ้นสักที ผิดปกติหรือเปล่าคะเนี่ย?
ปล่อยลูกวัย 1 ขวบ ล้มๆ ลุกๆ สร้างกำลังแขนขาให้แข็งแรง
ลูกเล็กวัยวัย 0-1 ขวบอยู่ในช่วงพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทั้งหยิบ จับ นั่ง คลาน และยืน เมื่อให้ลูกน้อยคลานหรือหัดเดินในธรรมชาติ เขาย่อมคลานได้ยากกว่า ยืนและเดินได้ยากกว่าในบ้านที่มีพื้นราบเรียบ แต่การล้มๆ ลุกๆ ของลูกน้อย เขาจะได้หัดใช้กำลังแขนขาของตัวเองในการพยุงร่างกายมากกว่าเดิม ต้องใช้สมดุลร่างกายมากกว่าเดิม ทำให้ลูกน้อยสร้างความแข็งแรงให้แขนขาและเดินได้มั่นคงอย่างรวดเร็ว เหมือนกับนักกีฬาวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางที่เคยผ่านอุปสรรคมาแล้ว ก็จะวิ่งได้อย่างคล่องแคล่วทุกสภาพพื้นผิว สูดกลิ่นธรรมชาติให้ปอดได้หายใจ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่การได้อยู่ในที่อากาศถ่ายเท มีแต่อากาศบริสุทธิ์ย่อมดีต่อสุขภาพทั้งกายและใจ หากคุณแม่หมั่นอุ้มลูกน้อยเดินเล่นหรือให้เขาคลานเล่นในสวน ทั้งคุณและลูกเขาก็จะได้ออกกำลังกายและหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์เข้าปอด จะยิ่งทำให้ลูกน้อยแข็งแรง และไม่เป็นภูมิแพ้ง่ายๆ ด้วยค่ะ เปิดประสาทสัมผัสด้วยมือเท้าเปล่า ลูกวัยนี้เรียนรู้จากประสาทสัมผัสได้ดีที่สุด และแหล่งที่สร้างประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสได้หลากหลายที่สุดก็หนีไม่พ้นธรรมชาติ ลองพาลูกน้อยไปเล่น คลาน หรือเดินบนพื้นผิวในธรรมชาติแบบต่างๆ แล้วบอกให้ลูกน้อยรู้จักสัมผัสเหล่านั้นให้มากขึ้นสิคะ
อย่ารู้สึกผิดเลย…ถ้าแม่ลูกวัย 1 ขวบจะซึมเศร้า
การมีลูกใหม่เป็นเรื่องที่น่ายินดีปลาบปลื้มใจของทุกคนในครอบครัว แต่มีคุณแม่หลายคนที่ไม่ได้รู้สึกเช่นนั้นและมีแต่อารมณ์ลบเต็มไปหมด ที่รู้จักกันในชื่อ “baby blues” ก่อนจะรู้สึกผิด คุณรู้ไหม… ไม่ใช่คุณแม่ไม่รักลูกหรือเป็นแม่ที่ไม่ดี แต่เป็นอาการของโรคอารมณ์แปรปรวนหรือซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งมักเกิดขึ้นได้บ่อยถึงร้อยละ 75 เลยทีเดียวเกิดเพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของฮอร์โมนหลังคลอด โดยปกติจะหายเป็นปกติภายใน 10 วัน แต่หากคุณแม่พื้นฐานเป็นคนเครียดง่ายอยู่แล้วอาจทำให้กลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งคนมีภาวะซึมเศร้ามักมองทุกสิ่งเหมือนผ่านแว่นสีดำ คือมองเห็นอะไรแย่เกินความเป็นจริงอาจถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเองและลูกก็ได้ ภาวะนี้ทำให้คุณแม่มีหลากหลายอารมณ์ลบ หดหู่ ซึมเศร้า วิตกกังวล เฉยชา หงุดหงิด รำคาญ ทนเสียงร้องไห้ของลูกไม่ไหวจนบางครั้งเผลอตวาดใส่ลูกหรือทำลูกเจ็บ จนรู้สึกผิดและโทษตัวเอง ไม่มีแม่คนไหนสมบูรณ์แบบ ที่เลี้ยงลูกไม่ผิดพลาด ทุกอย่างต้องผ่านการเรียนรู้และฝึกฝนทั้งนั้น สิ่งไหนไม่ถูกต้องก็แก้ไขให้ถูกต้อง แค่นี้คุณก็เป็นแม่ที่ดีเยี่ยมแล้ว
ดูแลฟันลูกน้อย ตั้งแต่ซี่แรก และวิธีทำความสะอาดฟัน
เมื่อลูกเริ่มมีฟันขึ้น เราสามารถ ดูแลฟันลูกน้อย ได้ตั้งแต่ซี่แรก ฟันน้ำนมซึ่งจะเริ่มขึ้นประมาณ 6 เดือน เด็กส่วนใหญ่จะมีฟันครบ 20 ซี่ เมื่ออายุ 2-3 ขวบ และฟันหน้าล่างจะขึ้นเป็นอันดับแรก ตามด้วยฟันหน้าบนภายใน 1-2 เดือน ส่วนใหญ่ฟันน้ำนมจะหลุดประมาณ 6-7 ขวบ และมีฟันแท้
4 ข้อข้องใจ เรื่องฟันขึ้น
สารพันคำถามที่พ่อแม่อยากรู้เรื่องฟันของเบบี๋ ทำไมฟันขึ้นช้า ถ้าลูกขากรรไกรเล็กล่ะ?
ไม่อยากให้ใครสัมผัส ลูกแรกเกิด พูดอย่างไรไม่เสียน้ำใจกัน
ช่วงที่ลูกเกิดใหม่เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรับแขกมากมาย แต่ถ้าคนที่มาเยี่ยมอยากสัมผัสตัวเจ้าตัวน้อย อาจจะเพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อโรคต่างๆ จะปฏิเสธอย่างไรดีล่ะ?
ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา..อันตรายหรือไม่? ระวังก่อนติดเชื้อ หรือ เกิดภาวะขาดน้ำ
ส่วนสาเหตุที่ลูกร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา หากตั้งแต่เกิด คุณแม่ไม่เคยเห็นน้ำตาของลูกเลย อาจเป็นเพราะต่อมน้ำตายังทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่วนใหญ่เมื่อโตแล้วจะดีขึ้น แต่ถ้าลูกเคยร้องไห้มีน้ำตามาก่อน การร้องไห้ไม่มีน้ำตา
ท่าทางแบบไหนการันตี เบบี๋สุขใจสุดๆ
ท่าทีแบบไหนละที่บอกว่าลูกน้อยรู้สึกดี ก็หัวอกพ่อแม่ไม่อยากเห็นลูกมีทุกข์ และอยากให้เขามีความสุขสบายใจแบบเห็นๆ กันอีกด้วย มาดูกัน!
ทำอย่างไร เบบี๋สุขใจได้ทั้งวี่วัน
มาลองวิธีเพิ่มความสุขคูณสองให้กับคุณแม่และลูกน้อยแบบชั่วโมงต่อชั่วโมง พร้อมเวลาที่เหมาะสำหรับการนอนกลางวัน กินอาหาร เดินเล่น และอื่นๆ ด้วย!
ฝึกลูกให้ ถนัดขวา ไปเลยดีไหม
ควรสอนลูกให้ใช้แต่มือขวาเท่านั้นหรือเปล่า ที่นี่มีคำตอบ!
10 เคล็ดลับช่วยไม่ให้ ทารกป่วย เพิ่มภูมิคุ้มกันลูกน้อย
พ่อแม่ทุกคนไม่อยากให้ลูก ทารกป่วย ซึ่งถึงจะเป็นไปไม่ได้ แต่หากรู้วิธีลดโอกาสการป่วยหนักของลูก คุณก็รับมือกับป่วยแรกของลูกน้อยได้อย่างมั่นใจ
เบบี๋ตัวแค่เนี้ย รู้อะไรหลายอย่าง!
“เจ้าตัวน้อยซึ่งมีหน้าที่กิน นอนและขับถ่ายเป็นหลักเหมือนไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย ที่จริงมีหลายอย่างที่ลูกน้อยรับรู้และเรียนรู้ ตั้งแต่ก้าวแรกที่เขาออกมาอยู่ในโลกกว้างแล้ว”
6 โรคฮิต ที่เบบี๋มักเป็น คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ไว้!
โรคฮิตของลูกน้อย 6 โรคที่มักเป็น คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ไว้ เมื่อเด็กเจ็บป่วย สิ่งสำคัญพ่อแม่จะทราบได้ก็คือ “อาการของโรค” ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายแสดงออกมา
ปัญหา และการดูแล “เด็กคลอดก่อนกำหนด”
เด็กคลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะที่คุณพ่อ คุณแม่ทุกคนไม่อยากพบเจอ ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ และคลอดลูกน้อยก่อน 37 สัปดาห์ นั่นถือว่าคุณแม่มีภาวะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมีผลต่อสุขภาพลูกน้อย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาอีกด้วย