ลูกหนังหัวลอก พ่อแม่มือใหม่คนไหนเคยสังเกตกันบ้างว่า มีอะไรขาวๆ คราบไขมัน หรือคราบสะเก็ดหนาๆ ที่ติดอยู่บนศีรษะลูก ที่ถึงแม้จะคลอดออกมาได้หลายวันแล้วก็ตาม เอ้!!! ว่าแต่คุณแม่ควรแกะ แคะ ออกมาดีไหมนะ? หรือต้องดูแลหนังศีรษะลูกอย่างไรดี ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำเมื่อ ลูกหนังหัวลอก มาให้ได้ทราบกันค่ะ
ลูกหนังหัวลอก กับความบอบบางของ “กระหม่อม”
ก่อนที่จะพาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไปพบกับปัญหา ลูกหนังหัวลอก ที่มักเจอกันอยู่บ่อยๆ ว่าต้องดูแลรักษาอย่างไรถึงจะถูกต้องไม่เป็นอันตรายต่อลูก ผู้เขียนขอย้อนกลับไปว่ากันด้วยเรื่อง กระหม่อมเด็กก่อนค่ะ เพราะมีแม่ๆ ถามกันมา พอสมควรว่า ทำไม กระหม่อมเด็กจึงบาง?
กะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิดประกอบไปด้วยกระดูกแผ่นบางๆ ที่แยกออกจากกันเป็นชิ้นๆ ตรงรอยต่อที่กระดูกสี่ชิ้นมา ชนกัน ก็จะเกิดเป็นช่องว่าง และช่องว่างเหล่านี้มีทั้งหมดหลายช่อง แต่ที่สังเกตเห็นได้มีทั้งสิ้น 6 จุด ซึ่งหลังจากคลอดช่องว่างทั้ง 6 จุดจะขยายขนาดขึ้น และจะมีเนื้อเยื่อเส้นใยที่แข็งแรงช่วยปกป้องสมองที่ภายใน สำหรับจุดเปราะบางที่แผ่น กระดูกทั้งหมดมาบรรจบกัน เรียกว่า “กระหม่อม” มาดูกันว่าจุดของกระหม่อมทั้ง 6 จุดนี้นั้นแบ่งออกมาเป็นส่วนใดต่างๆ อะไรบ้างค่ะ
กระหม่อมหน้า 1 จุด
กระหม่อมหลัง 1 จุด
กระหม่อมข้างค่อนไปด้านหลัง 2 จุด
กระหม่อมกกหู 2 จุด
บทความแนะนำ คลิก>> กระหม่อมทารก ปิด-เปิด-โป่ง-ยุบ เรื่องสำคัญ แม่ต้องสังเกต
และเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 8 สัปดาห์ กระหม่อมข้าง กับกระหม่อมกกหู จะค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยกระดูก และก็จะค่อยๆ ปิดตัวจนสมบูรณ์ ส่วนกระหม่อมหน้า กับ กระหม่อมหลัง ยังไม่ปิดเหมือนกับกระหม่อมส่วนอื่น นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเขาถึงให้ระวังในส่วนกระหม่อม (ศีรษะ) ของลูกวัยทารกกันให้มากๆ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 4 เดือน กระหม่อมทั้ง 6 จุดจะแข็งแรงและปิดอย่างสมบูรณ์ค่ะ ที่สำคัญถึงกระหม่อมลูกจะแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้นแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำรุนแรงกับศีรษะลูกได้นะคะ อย่าลืมว่าภายในกะโหลกนั้นมี สมอง เนื้อสมองอยู่ หากเผลอไปเขย่าลูกอาจเสี่ยงทำลูกเสียชีวิตจากภาวะ Shaken Baby Syndrome ได้นะคะ ฉะนั้นต้องระวังกันให้มากๆ ด้วยนะจ๊ะ
อ่านต่อ 4 วิธีแก้ปัญหา หนังศีรษะทารกลอก หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่