เขย่าทารก อันตราย

อันตราย !! จากการ อุ้ม เขย่าทารก “Shaken baby syndrome”

event
เขย่าทารก อันตราย
เขย่าทารก อันตราย

เขย่าทารก

ในเด็กทารกกะโหลกศีรษะยังเติบโตไม่เต็มที่ หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกไม่ดีเท่าที่ควร และไม่ทันระวังจนเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ ผลกระทบจะร้ายแรงมากกว่าผู้ใหญ่ นั่นเพราะเด็กทารกจะมีสมองบางส่วนที่ยังไม่ได้ถูกหุ้มไว้ด้วยกระดูกหรือกะโหลก ศีรษะของทารกจึงบอบบางมาก

⇒ Must read : กระหม่อมทารก ปิด-เปิด-โป่ง-ยุบ เรื่องสำคัญ แม่ต้องสังเกต

 การเขย่าทารก (Shaken Baby Syndrome) มีอาการอย่างไร ?

การที่พ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูลูก พลั้งเผลออุ้มลูกขั้นมาแล้วจับตัวเด็กเขย่าถึงแม้แม้จะเป็นการเขย่าเบาๆ ก็ทำให้ศีรษะของเด็กสั่นสะเทือนได้ค่ะ ซึ่งอาการที่จะสังเกตถึงความผิดปกติของลูกหลังเกิดจากที่มีการสั่น หรือ เขย่าทารก สามารถสังเกตความผิดปกติได้ ดังนี้…

  • เด็กมีอาการหายใจติดขัด
  • เด็กไม่สามารถยกศีรษะขึ้นได้
  • เด็กจะตัวแข็ง และขยับตัวไม่ได้
  • เด็กไม่สามารถดูดและกลืนน้ำนม
  • เด็กจะมีความอยากนม / อาหารลดลง
  • เด็กจะไม่ยิ้มแย้มหรือเปล่งเสียงตามธรรมชาติ
  • เด็กจะมีรอยช้ำบนแขนหรือหน้าอก และหน้าซีด
  • เด็กมีความเฉื่อยชา และไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย
  • เด็กจะมีศีรษะหรือหน้าผากบวม หรือมีปุ่มเนื้อบูดออกมาจากศีรษะ
  • เด็กจะไม่สามารถจดจ่อหรือจ้องมองสิ่งของที่เคลื่อนไหวผ่าน มีอาการตาโรย (lethargic eyes)

 

เขย่าทารกเครดิตภาพ : bushywood.com

Good to know… “กะโหลกและสมองของทารก ยังอ่อนนุ่มหากเกิดการกระทบกระเทือนและบอบช้ำอย่างรุนแรง สามารถนำไปสู่การเป็นอัมพาตและอาจเสียชีวิต

 

เพื่อเป็นการยืนยันว่าการอุ้ม เขย่าทารกนั้นอันตรายต่อชีวิตของลูก แพทย์หญิงลูซินดา ไดคส์ กุมารแพทย์แห่งโรงพยาบาลและคลินิกของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้เตือนถึงพ่อแม่ว่าการจับลูกเล็กๆ เขย่าด้วยอารมณ์โมโห อาจทำให้สมองกระทบกระเทือนโดยถาวรได้ “ขณะที่สมองถูกเขย่าให้เคลื่อนไปมาอยู่ภายในกะโหลกศีรษะนั้น เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงระหว่างสมองกับกะโหลกศีรษะจะยืดตัวออก และเกิดการฉีกขาดทำให้มีเลือดไหลภายใน เลือดนี้จะไปกดสมอง ขณะเดียวกันสมองอาจจะเกิดการฉีกขาดจากแรงเขย่าในทันที”2

การเขย่าทารก (Shaken Baby Syndrome) มีผลเสียมากกว่าผลดี ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากความรัก หรืออารมณ์โมโหชั่ววูบ ก็อาจทำให้เกิดโศกนาฏกรรมที่ทำให้พ่อแม่เสียใจไปตลอดชีวิต ฉะนั้นหากรักลูกควรรักและดูแลทะนุถนอมอย่างถูกวิธี ที่สำคัญไม่ว่าลูกจะมีอาการผิกปกติใดๆ เกิดขึ้นจากสาเหตุใดก็ตาม พ่อแม่ไม่ควรนิ่งเฉยกับลูก แต่ควรจะรีบพาลูกไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที ด้วยความห่วงใยค่ะ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ 


อ้างอิงข้อมูลจาก

1http://www.vcharkarn.com/ vnews/142803.เขย่าลูก อันตรายมหันต์ 2https://www.doctor.or.th/article/detail/6244.แม่จ๋า..อย่าเขย่าหนูแรงนะจ๊ะ http://www.bushywood.com/ministry_of_justice/murders/shaken_baby_syndrome.htm

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up