ทำไม ลูกไม่เล่นของเล่น ที่ซื้อให้ เล่นแต่อะไรก็ไม่รู้!? - Amarin Baby & Kids
ลูกไม่เล่นของเล่น

ไขข้อข้องใจ ทำไม ลูกไม่เล่นของเล่น ที่ซื้อให้ เล่นแต่อะไรก็ไม่รู้!?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกไม่เล่นของเล่น
ลูกไม่เล่นของเล่น

ลูกไม่เล่นของเล่น –  คิดว่าคุณพ่อคุณแม่หลายบ้านอาจเคยมีประสบการณ์ที่ซื้อของเล่นให้ลูกเล่นด้วยความตั้งใจของพ่อแม่ที่อยากสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกในการเล่น แต่ความหวังพังทลายเมื่อลูกไม่เล่นตามที่เราคาดหวังไว้ วันนี้เรามาไขข้อข้องใจถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้การเล่นของเล่นของเด็กๆ ไม่เป็นไปอย่างที่เราต้องการ ลูกไม่ยอมเล่นของเล่นที่ซื้อให้ ชอบเล่นกับอะไรที่ไม่ใช่ของเล่น เป็นเพราะอะไรกันนะ?

ไขข้อข้องใจ ทำไม ลูกไม่เล่นของเล่น ที่ซื้อให้ เล่นแต่อะไรก็ไม่รู้!?

เชื่อว่าพ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนใช้เวลาไม่น้อยหมดไปกับการค้นคว้าเกี่ยวกับของเล่นเด็กใหม่ ๆ ที่อินเทรนด์และคิดว่าดีที่สุด และเหมือนว่าจะเหมาะสมกับการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ของเด็ก แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นหลายครั้งคือ ของเล่นทั้งหมดถูกทิ้งขว้างอยู่บนพื้น เพราะสิ่งที่ลูกต้องการเล่นด้วยในตอนนั้นกลายเป็น ขวดน้ำ รีโมทคอนโทรล ลังกระดาษ หรือตะกร้าผ้า!

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะ ว่าสาเหตุที่ลูกชอบเล่นอะไรก็ตามที่ไม่ใช่ของเล่น อย่างเช่น ขวดน้ำ รีโมท กุญแจ ลังกระดาษ และอื่นๆ อีกมากมาย เป็นเพราะว่าจินตนาการของเด็กเล็กหรือวัยเตาะแตะนั้นมีสูงมากกว่าที่พ่อแม่คิด ไม่ว่าเราหยิบยื่นอะไรให้ หรือพวกเขาคลานต้วมเตี้ยมเดินเตาะแตะไปเจออะไรเข้าพวกเขาจะสามารถจินตนาการในการเล่นสนุกกับสิ่งนั้นๆ ได้เสมอ

ลูกไม่เล่นของเล่น
ลูกไม่เล่นของเล่น

และนี้คือเหตุผลที่เด็กๆ ชอบเล่นกับสิ่งของต่างๆ ต่อไปนี้ที่อยู่ในบ้าน

  • กุญแจ  ด้วยความแวววาว และ ขนาดที่พอๆ กับของเล่น เวลาหฃ่นพื้นมีเสียงที่ไพเราะ และสามารถเล่นสนุกกับการซ่อนหาในที่เล็กๆ เช่น กระเป๋าได้จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเจ้าตัวเล็กถึงได้ชอบกุญแจ
  • รีโมทคอนโทรล ปุ่มนุ่มๆ หลากสีสันที่แสดงไฟกะพริบเมื่อกด ทำให้รีโมทคอนโทรลเป็นของเล่นที่น่าพึงพอใจของเด็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสามารถเปิดและปิดสิ่งอื่นๆ ได้! ยิ่งสร้างความรู้สึกมหัศจรรย์ขั้นสุดให้กับเด็กๆ ได้มาก
  • กระดาษทิชชู่ การดึงกระดาษทิชชู่จากกล่องสร้างความอัศจรรย์ใจให้เด็กๆ เมื่อพวกเขาพบว่ายิ่งดึงยิ่งก็ยิ่งมีอีกชิ้นหนึ่งโผล่ออกมาครั้งแล้วครั้งเล่า แถมทิชชู่ยังนิ่มพอที่จะฉีกเอาเข้าปากได้! 
  • ขวดน้ำ ขวดน้ำเป็นเหมือนของวิเศษสำหรับเด็กๆ ยิ่งเป็นขวดที่มีน้ำอยู่ข้างในไม่ต้องพูดถึง ด้วยลักษณะของขวดใส่ๆ บีบแล้วมีเสียงกร็อบแกร๊บ ก็เพียงพอที่จะสะกดให้เด็กสนใจได้นานหลายนาที
  • พาชนะต่างๆ  ช้อน ไม้พาย ชาม หม้อ และกระทะ เป็นของเล่นคลาสสิกที่กลายเป็นเครื่องดนตรีแสนสนุกได้ แค่เอามือเคาะๆ จับแล้วตีๆ ก็มีเสียงประหลาดเกิดขึ้นได้แล้ว!
  • ลังใส่ของ ด้วยกล่องที่เต็มไปด้วยสิ่งของต่างๆ มากมาย ให้ความรู้สึกไม่ต่างอะไรกับของเล่นใหม่มากมายมากองอยู่ตรงหน้า เป็นธรรมดาที่จะกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นให้ลูกได้มาก และมักจะจบด้วยการ รื้อค้น เขวี้ยงปา ยิ่งมีเสียงต่างๆ เด็กๆ ก็จะยิ่งหัวเราะชอบใจ

ลูกเก็บของเล่นพัฒนาทักษะ EF ทักษะทางสมองที่จำเป็นสำหรับลูก

ของเล่น เสริมIQ EQลูกน้อย..ใครว่าอัจฉริยะสร้างไม่ได้!

ของเล่นธรรมชาติ ของเล่นเสริมพัฒนาการ ที่ไม่สำเร็จรูป แต่มหัศจรรย์ต่อลูกน้อย

นอกจากนี้ สาเหตุที่ลูกไม่ยอมเล่นของเล่นที่เราซื้อให้อาจมีสาเหตุอื่นๆ อีกมากมาย ได้แก่

1. มีตัวเลือกมากเกินไป

การมีของเล่นมากเกินไป ทำให้เด็กๆ ถูกกระตุ้นเกินขอบเขต อาจทำให้เด็กสนใจที่จะเล่นน้อยลง เพราะหมดพลังไปกับการต้องใช้สมองในการคิดไตร่ตรองมากเกินไปที่จะเริ่มต้นเล่นอะไรสักอย่าง นอกจากนี้การมีของเล่นมากเกินไปจะทำให้เด็กไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ ทำให้เปลี่ยนความสนใจไปเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วหรือละความสนใจได้ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะมีของเล่นเพียงชิ้นเดียว เราก็สามารถหาวิธีการต่างๆ ให้ลูกเล่นสนุกได้ ไม่ว่าจะเป็นเศษไม้ชิ้นเดียว หรือฝากาน้ำเก่าๆ สำหรับเด็กเล็กแล้วอาจเป็นของเล่นที่สนุกสนานกว่าของเล่นราคาแพงตามห้างสรรพสินค้าเสียอีก

2. พื้นที่ในการเล่นไม่เพียงพอ

การมีพื้นที่โล่งๆ สำคัญอย่างยิ่งในการที่เด็กๆ จะมีพื้นที่ในการจินตนาการ สร้างสรรค์ และสำรวจ ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ แค่พื้นที่ที่พวกเขามีอิสระเพียงพอในการครอบครองและสามารถจัดแจงย้ายของเล่นไปมาเพื่อสร้างหอคอยหรือเมืองต่างๆ  พยายามรักษาพื้นที่เปิดโล่งในบ้านอย่างน้อยหนึ่งจุดให้ปลอดโปร่งเปรียบเหมือนดั่งกระดาษแผ่นใหม่ที่รองานศิลปะ หากคุณไม่มีพื้นที่ที่คิดว่าเหมาะสมในบ้าน ให้ลองสร้างพื้นที่เปิดโล่งให้มากขึ้นในห้องเพื่อส่งเสริมการเล่นปลายเปิดให้ลูก

ลูกไม่เล่นของเล่น

3. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ 

บางครั้งพ่อแม่ไม่ได้มีส่วนร่วมเพียงพอ หรือในทางกลับกัน อาจมีส่วนร่วมมากเกินไป จริงอยู่ที่เราเป็นเพื่อนเล่นคนแรกของลูก แต่เราต้องให้พื้นที่พวกเขาในการเรียนรู้และเติบโตด้วย ควรให้เด็กๆได้ใช้เวลาสักสองสามนาทีในการมองหาและเล่นของเล่นด้วยตัวเองในโอกาสต่างๆ ก่อนที่เราจะเข้าไปช่วยหรือร่วมเล่นด้วยพวกเขาจะมีโอกาสได้เรียนรู้ที่จะเล่นด้วยตัวเอง เมื่อลูกเรียกร้องให้เรามีส่วนร่วมก็เป็นโอกาสที่เราจะสร้างบทสนทนากับลูกเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเล่น สนับสนุนให้ลูกอธิบายกระบวนการคิดของพวกเขาโดยไม่ขัดขวางจินตนาการ

3. สมองของเด็กเติบโตอย่างรวดเร็ว

เมื่อเด็กอายุ 3 ขวบ สมองของพวกเขามีถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของสมองผู้ใหญ่ ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ ลูกของคุณอาจเบื่อของเล่นที่เราเพิ่งซื้อให้ใหม่หลังจากผ่านไปเพียงไม่กี่วัน หากเกิดเหตุการณ์นี้ การใช้วิธีหมุนเวียนของเล่นจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ค่ะ

4. ของเล่นไม่เหมาะสมกับวัยของลูก

เป็นไปได้ว่าของเล่นที่หยิบยื่นให้อาจยังไม่เหมาะกับวัยหรือพัฒนาการของลูก ความเหมาะสมกับวัยเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถตอบโจทย์ได้ว่าเด็กจะชอบของเล่นมากน้อยแค่ไหน ทางที่ดีควรพิจารณาช่วงอายุที่ผู้ผลิตแนะนำเพื่อเป็นแนวทางแต่บางครั้งก็ไม่ต้องยึดติดกับตัวเลขเสมอไป หากเรารู้จักความสามารถและพัฒนาการของลูกเป็นอย่างดี  อย่างไรก็ตามการเลือกของเล่นให้ลูกต้องคำนึงถึงพัฒนาการเป็นหลัก ต้องรู้ว่าลูกพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับของเล่นชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้แล้วหรือยัง ทางที่ดีพ่อแม่ควรเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะต่างๆ ของเด็กเล็กที่พัฒนาในแต่ละช่วงวัย ก่อนการช้อปปิ้งของเล่นในครั้งต่อไป

วิธีรับมือเมื่อลูกไม่เล่นของเล่น

  • เล่นให้ดู เมื่อลูกของคุณได้ของเล่นชิ้นใหม่ ให้ทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่างว่าเล่นอย่างไร คุณควรให้คำแนะนำและความช่วยเหลือแบบใช้มือ เพื่อสอนและส่งเสริมให้ลูกของคุณเล่นกับของเล่นใหม่อย่างเหมาะสม
  • ให้เวลาลูก หากลูกของคุณไม่สนใจของเล่นทันทีหลังจากที่คุณแนะนำมัน หรือเสียสมาธิขณะเล่น ลองให้เวลากับลูกมากขึ้น เพื่อสำรวจและค้นพบของเล่นในแบบของตัวเองแทนในแบบที่คุณต้องการให้เป็น  การปล่อยให้เด็กพัฒนาความสนใจในบางสิ่งบางอย่างในเวลาของตนเองจะส่งผลให้มีการเล่นที่เป็นอิสระมากขึ้นและการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
  • ชื่นชม เมื่อลูกของคุณเล่นกับของเล่นอย่างเหมาะสม ควรชื่นชมและบอกให้พวกเขารู้ว่าพวกเขาทำได้ดี ตัวอย่าง เช่น  ต่อบล็อกเก่งจัง ทำได้ดีมากลูก!
  • สร้างเรื่องราว พ่อแม่สามารถสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับวิธีที่เควรและไม่ควรเล่นกับของเล่น สอนวิธีการที่เหมาะสมในการเล่นกับของเล่นและเหตุผลที่เราควรเล่นกับของเล่นแต่ละชิ้นให้ลูกได้เข้าใจ
  • ผลัดเปลี่ยนของเล่น หากลูกของคุณยังคงเพิกเฉยต่อของเล่นเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หรือมากกว่านั้น ให้นำของเล่นออกจากมุมของเล่น และเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้าหรือที่เก็บของที่ลูกของคุณไม่เห็นมัน แล้วลองเสนอให้ลูกเล่นอีกครั้งในสองสามสัปดาห์ถัดไป คุณอาจพบว่าของเล่นที่ก่อนหน้านี้ถูกละเลยอาจกลายเป็นของเล่นชิ้นโปรดชิ้นใหม่ได้ โดยที่ลูกของคุณได้พัฒนาทักษะใหม่ๆ และสามารถรับมือกับความท้าทายที่ของเล่นนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น วิธีผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนของเล่นนี้ช่วยในการสร้างของเล่นใหม่อีกครั้ง ช่วยยืดอายุของของเล่น และช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้จากของเล่นแต่ละชิ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการเล่นพร้อมแล้ว
  • เข้าใจเมื่อลูกไม่พร้อม เด็กบางคนอาจยังไม่พร้อมสำหรับพัฒนาการที่จะเล่นกับของเล่นชิ้นใดชิ้นหนึ่ง แม้ว่าผู้ผลิตจะจำกัดอายุไว้ก็ตาม  ของเล่นจะสนุกยิ่งขึ้นสำหรับทั้งคุณและลูก เมื่อลูกสามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ลูกของคุณเล่นของเล่นได้อย่างปลอดภัย อย่าลืมทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง หมั่นให้ลูกฝึกฝน และชมเชยเสมอ และถ้าจำเป็นอย่าลังเลที่จะนำของเล่นออกไปเก็บไว้จนกว่าลูกของคุณจะสามารถเล่นกับมันได้อย่างเหมาะสม

แม้การเลือกของเล่นสำหรับเด็กไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเด็กแต่ละคนมีความสนใจที่แตกต่างกัน ไปบางครั้งของเล่นที่พ่อแม่เห็นว่าเหมาะกับลูก เด็กอาจไม่สนใจ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป หากเรารู้วิธีในการเลือกของเล่นที่เหมาะสมให้กับลูกด้วยความเข้าใจในพัฒนาการและความต้องการของลูกตลอดจนทักษะต่างๆ ที่ลูกมี เมื่อลูกสนุกไปกับของเล่นที่อยู่ตรงหน้า สามารถเล่นได้อย่างถูกวิธี ก็จะเป็นการเสริมสร้างทักษะความฉลาดที่รอบด้านด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดในการเล่น (PQ)ได้อีกด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : parents.com , waytoplay.toys , greenpinatatoys.com , montikids.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

พี่น้อง แย่งของเล่น พ่อแม่ควรทำยังไง? ไม่ให้พี่น้อยใจที่ต้องเสียสละให้น้อง!

เทคนิค “จับ-จด” เปลี่ยนชีวิต สร้างนิสัยรู้จักคิด หยุด! ลูกงอแง ร้องซื้อของเล่น

ระวัง! ของเล่นอาบน้ำ เป็ดเหลือง ทำลูกติดเชื้อ เสี่ยงตาบอด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up