เพราะเป็นคุณแม่มือใหม่ที่มีลูกครั้งแรกก็เจอศึกหนักตั้งแต่ตั้งครรภ์แฝด ทั้งยังเกือบสูญเสียลูกน้อยไป ทำให้คุณแม่โอปอลล์สัญญากับตัวเองว่าทุกเรื่องที่เกี่ยวกับลูก เธอต้องเรียนรู้เพื่อทำหน้าที่ปกป้องลูกน้อยให้ดีที่สุด
และการได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรณรงค์ให้คุณแม่ได้รู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับโรคไอพีดี ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เธออยากแชร์ ซึ่งเมื่อได้อ่านบทความความของ พ.ญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจกุมารแพทย์ทารกแรกเกิด ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ได้น่าสนใจทีเดียว
มารู้จักโรคไอพีดีกันดีกว่าค่ะ
โรคไอพีดี (IPD,Invasive Pneumococcal Disease) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ชนิดรุนแรงและแพร่กระจาย ประกอบด้วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ, โรคติดเชื้อในกระแสเลือด, โรคปอดอักเสบหรือปอดบวม หรือทำให้เป็นโรคที่พบบ่อยกว่าไอพีดีแต่ไม่รุนแรง เช่นโรคหูชั้นกลางอักเสบ(หูน้ำหนวก), โรคไซนัสอักเสบ, โรคคออักเสบบางครั้งแม้เป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงในเบื้องต้นแต่ถ้ารักษาไม่ถูกต้อง เชื้ออาจลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงและสมองได้
โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูง หรือเมื่อรักษาหายอาจมีผลแทรกซ้อนตามมาภายหลัง เช่น อาจมีความผิดปกติของระบบประสาท, การได้ยินบกพร่อง ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก โดยอุบัติการณ์ของการเกิดโรคไอพีดี (IPD) ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีเป็น 11.7 ต่อแสนประชากร1
โรคไอพีดีติดต่อได้อย่างไร
เชื้อนิวโมคอคคัสมักอาศัยอยู่ในโพรงจมูกหรือคอของคนทั่วไปทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ขึ้นกับอายุและสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ตรวจพบเชื้อได้ในสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ โดยที่ผู้ที่เป็นพาหะจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
แต่จะแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้โดยการ ไอ จามการเอาของเล่นเข้าปาก การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำถ้วยเดียวกันซึ่งเป็นการแพร่กระจายในลักษณะเดียวกับโรคหวัด ฉะนั้นเด็กเล็กที่ไม่มีภูมิต้านทานก็จะติดเชื้อได้ง่าย
อาการของโรค
โรคที่เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส อาจก่อโรคได้ทั้งแบบชนิดรุนแรง (ไอพีดี)และแบบไม่รุนแรง
1.โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ซึมลง อาเจียน คอแข็งส่วนในเด็กทารกจะมีไข้สูง ซึม ร้องกวนงอแง กระหม่อมโป่งตึงโคม่าไม่รู้สึกตัว ชักและอาจเสียชีวิตถ้าไม่เสียชีวิตก็อาจมีความผิดปกติของระบบประสาท เช่น หูหนวกระดับสติปัญญาต่ำ แขนขาเกร็ง เป็นโรคลมชัก เนื่องจากสมองถูกทำลายการวินิจฉัยโรคนี้ต้องมีการตรวจเพาะเชื้อจากการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง
2.โรคติดเชื้อในกระแสเลือดเด็กจะมีอาการไข้สูง ซึมลง ร้องกวนงอแงความดันโลหิตต่ำหรือช็อค และเสียชีวิตถึง 20%2 เชื้อจากกระแสเลือดอาจกระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้ เช่น ปอดอักเสบเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
3.โรคปอดอักเสบ มีไข้สูง ไอ เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ และเหนื่อยหอบถ้ารุนแรงมากอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเนื่องจากภาวะการหายใจล้มเหลว เสียชีวิตได้ 5-7%3 และมีภาวะแทรกซ้อน เช่นเชื้อจากปอดเข้ากระแสเลือด ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากขึ้นภาวะหนองที่ช่องปอด ภาวะปอดแฟบ เป็นฝีในปอดทำให้ต้องผ่าตัดระบายหนองหรือตัดเนื้อปอดที่เสียหายหรืออุดตันซึ่งถ้าทิ้งไว้จะเป็นแหล่งของเชื้อโรคภาวะเยื่อหุ้มหัวใจที่อยู่ใกล้กับปอดอักเสบติดเชื้อทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติอาการปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสมักมีการดำเนินโรคอย่างรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยอาการทรุดหนักได้ภายใน 2-3 วัน บางรายก็อาการไม่ดีขึ้นทั้งๆที่ให้ยาฆ่าเชื้อไปแล้วแต่เป็นเพราะเชื้อดื้อยา
4. โรคหูชั้นกลางอักเสบ เด็กจะมีอาการไข้สูง บ่นปวดหู งอแง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การติดเชื้ออาจลุกลามไปที่อวัยวะข้างเคียงหรือสมองได้ และสามารถเกิดหูน้ำหนวกเรื้อรัง แก้วหูทะลุ การได้ยินบกพร่อง ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กด้วย
โรคไอพีดีรักษาได้อย่างไร
การติดเชื้อนิวโมคอคคัส สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะถ้าเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง เช่น คออักเสบ หูน้ำหนวก หรือไซนัสอักเสบสามารถให้ในรูปแบบยารับประทานได้แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อไอพีดี จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเพราะโรคจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงมิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือเกิดความพิการทางสมองผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยในบางครั้งต้องรักษาในไอซียูต้องได้รับยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดพร้อมกับการรักษาอาการที่เกิดขึ้น เช่นปัญหาการหายใจล้มเหลวขาดออกซิเจนทำให้ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ยากันชัก ยาเพิ่มความดันโลหิต เป็นต้น
เด็กกลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคไอพีดี
1.เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีเนื่องจากเป็นวัยที่ภูมิต้านทานยังพัฒนาไม่เต็มที่เมื่อติดเชื้อมักจะมีอาการรุนแรง
2.เด็กทุกช่วงอายุที่มีภาวะต่อไปนี้
เด็กฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็กจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงขึ้นถึง 2-3 เท่า3
โรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคหอบหืด โรคไต โรคตับ โรคเบาหวานโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย โรคเลือด sickle cell disease*
เด็กที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานไม่ดี*
ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง* เช่น ติดเชื้อเอชไอวี* โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เด็กที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่นต้องได้ยาสเตียรอยด์ ยาเคมีบำบัด เป็นต้น
เด็กที่มีน้ำไขสันหลังรั่วหรือได้รับการผ่าตัดใส่วัสดุเทียมของหูชั้นใน
*ภาวะเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้สูงกว่าเด็กปกติถึง 50เท่า3
ข้อปฏิบัติเบื้องต้นในการป้องกันโรคไอพีดีในเด็ก
1. สอนให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ และปิดปากปิดจมูกทุกครั้งที่จาม หรือไอ
2. สอนให้เด็กหลีกเลี่ยงการสัมผัส กับคนที่เป็นไข้หวัดหรือป่วย
3. ให้ลูกกินนมแม่ซึ่งมีภูมิต้านทานโรคใครให้ลูกกินนมแม่อยู่ให้กินต่อเนื่องไปนานๆ
4. กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5. หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และการพาเด็กไปในที่ๆมีผู้คนแออัด
6. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสม โดยสามารถปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเรื่องลูก
เอกสารอ้างอิง
1. Rhodes J, Dejsirilert S, Maloney SA, Jorakate P, Kaewpan A, Salika P, et al. Pneumococcal Bacteremia Requiring Hospitalization in Rural Thailand: An update on incidence, Clinical Characteristics, Serotype Distribution, and Atimicrobial Susceptibility, 2005-2010. PLoS One. 2013;8:e66038.
2. World Health Organization. Pneumococcal vaccines WHO position paper 2012. Wkly Epidemiological Rec 2012; 14: 129-144.
3. Centers for Disease Control and Prevention. Epidemiology and Prevention of Vaccine-Preventable Diseases. Hamborsky J, Kroger A, Wolfe S, eds. 13th ed. Washington DC: Public Health Foundation; 2015.
PP-PNP-THA-0030