หมอเตือน? 4 ผลร้าย หากพ่อแม่ดูแลฟันน้ำนมของลูกไม่ดี! - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ดูแลฟันน้ำนม

หมอเตือน? 4 ผลร้าย หากพ่อแม่ดูแลฟันน้ำนมของลูกไม่ดี!

event
ดูแลฟันน้ำนม
ดูแลฟันน้ำนม

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้กล่าวว่า… เมื่อลูกฟันน้ำนมผุ ทันตแพทย์จะแนะนำให้รักษารากฟันน้ำนมไว้ก่อน โดยยังไม่ถอนออกจนกว่าฟันแท้จะขึ้น ซึ่งการรักษารากฟันน้ำนมในเด็ก เป็นวิธีการหนึ่งที่จะเก็บรักษาฟันน้ำนมเอาไว้ในช่องปากจนใกล้เวลาฟันแท้จะขึ้น เพื่อให้เด็กได้ใช้ฟันในการเคี้ยวอาหารตามปกติ และไม่ให้สูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนวัยอันควร

4 ผลร้ายหากพ่อแม่ ดูแลฟันน้ำนม ของลูกไม่ดี

เพราะมีคุณพ่อคุณแม่หลายคนเข้าใจผิดอยู่ในเรื่องของฟันน้ำนมและการขึ้นของฟันแท้ในช่องปาก โดยมักจะเชื่อว่าฟันน้ำนมไม่สำคัญ ถ้าหากลูกมีฟันน้ำนมผุแล้วต้องถอนฟันออกไปก็ไม่เป็นไร เพราะหากไม่มีฟันน้ำนมแล้วเดี๋ยวฟันแท้ก็จะขึ้นมาแทนที่ในไม่ช้า

แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป … เพราะหากเด็กมีการสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด ในขณะที่หน่อฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทนที่ยังมีการสร้างฟันไม่เสร็จ ฟันแท้ที่คุณพ่อคุณแม่รอคอยก็จะยังไม่ขึ้นสู่ช่องปากของลูก ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อลูก ตามมา ดังนี้

1. ไม่มีฟันในการช่วยบดเคี้ยวอาหาร ฟันน้ำนมถือเป็นประตูด่านแรกของการย่อยอาหารที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในเด็กเล็กที่ใช้ฟันน้ำนมในการกัดกินและบดเคี้ยวอาหารก่อนจะกลืนลงสู่กระเพาะ เพื่อนำอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองและร่างกายที่สมบูรณ์ต่อไป หากต้องถูกถอนฟันไปก่อนกำหนด ก็อาจทำให้ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้และเกิดผลเสียต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายตามมา

เมื่อลูกเคี้ยวอาหารไม่ได้ ร่างกายจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งอาการปวดฟันยังส่งผลต่อการนอนหลับและการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กตัวเล็กๆ สามารถขัดขวางพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และสติปัญญาได้

Must read >>REM Sleep ช่วงการนอนของทารกที่ทำให้ลูกโตช้า

2. เด็กที่มีฟันน้ำนมผุก็มักจะพบว่าฟันแท้ผุไปด้วย เนื่องจากเด็กที่มีฟันผุจะมีเชื้อก่อโรคฟันผุในช่องปากมากกว่าปกติซึ่งจะส่งผลให้ฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นใหม่นั้นเกิดฟันผุได้เช่นเดียวกัน และในเด็กที่มีฟันผุลุกลามมาก สามารถพบการติดเชื้อและเป็นหนองลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงได้ เช่น แก้ม ดวงตา และสมอง หรืออาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

Must read >> เตือนลูกฟันผุ พัฒนาการล่าช้า-เตี้ยแคระแกร็น

3. ฟันแท้จะขึ้นมีโอกาสจะสูญเสียช่องว่างบริเวณฟันที่ถูกถอนไป ทำให้ฟันซี่ข้างเคียงล้มเอียงมาปิดช่องว่างได้ ส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากในระยะยาวได้เช่นเดียวกัน และถ้าฟันน้ำนมผุทะลุโพรงประสาทฟัน เด็กจะมีอาการปวดฟันฟันผุเป็นหนอง มีเชื้อโรคในช่องปาก โดยเฉพาะฟันกราม หากผุแล้วลุกลามมาก อาจส่งผลให้ต้องถูกถอนไปก่อนเวลาอันสมควร

 

4. โรคฟันผุยังทำให้เด็กเกิดปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์ด้วย เพราะฟันน้ำนมยังมีบทบาทในการใช้พูดออกเสียงพยัญชนะ สำหรับลูกที่กำลังอยู่ในวัยหัดพูด หาก ดูแลฟันน้ำนม ไม่ดี ฟันน้ำนมซี่หน้าผุและถูกถอน อาจทำให้ลูกมีปัญหาในการออกเสียง เนื่องจากความสำคัญของฟันน้ำนมซี่คือทำให้เด็กออกเสียงได้ชัดเจน เกิดผลต่อภาพลักษณ์และบุคลิกภาพที่ดีและมีรอยยิ้มที่สวยงาม เสริมความมั่นใจ ไม่มีอุปสรรคในการเข้าสังคม สำหรับเด็กที่ฟันน้ำนมซี่หายไปบางคนอาจไม่อยากไปโรงเรียนเพราะโดนเพื่อนล้อเมื่อมีฟันหน้าหลอหรือฟันผุดำไม่สวยงาม

ดูแลฟันน้ำนม

วิธี ดูแลฟันน้ำนม ป้องกันไม่ให้ลูกฟันน้ำนมผุ

  • ฝึกให้ลูกเข้านอนโดยไม่มีนิสัยติดขวดนม
    สอนให้เด็กใช้แก้วน้ำแทนขวดนมและฝึกดูดจากหลอด ตั้งแต่อายุ 6 – 12 เดือน และควรเลิกใช้ขวดนม เมื่ออายุ 1 ปี ไปแล้ว

Must read >> 5 วิธีช่วยคุณแม่ เลิกขวดนม ให้ลูกตอน 1 ขวบ

  • ฝึกนิสัยไม่ให้ลูกกินขนมจุบจิบ หรืออาหารรสหวาน เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของฟันผุ หากลูกอยากกินก็ควรให้กินไปในมื้ออาหาร
  • เลือกอาหารว่างที่มีประโยชน์ไม่เติมน้ำตาลและไม่ทำให้ฟันผุ เช่น นมจืด ผลไม้ แซนวิสทูน่า ปลาเส้น เป็นต้น

Must read >> 10 ขนมเด็ก สุขภาพดีก็มีในโลก

  • ให้ลูกแปรงฟัน หรือ บ้วนปากหลังดื่มนม รับประทานขนม หรือหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • ควรแปรงฟันให้ลูกด้วยยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง เวลาเช้า – ก่อนนอน
  • เมื่อลูกอายุ 4 ขวบ ฝึกให้ลูกแปรงฟันอย่างถูกวิธี และช่วยแปรงซ้ำเป็นประจำ

Must read >> Super Nanny | Ep.22 | แนะวิธี! เลือกแปรงสีฟันให้ลูก
ตั้งแต่แรกเกิด (ฟันซี่แรก) – 12 ปี

Must read >> Super Nanny | Ep.25 | แนะ 4 ขั้นตอนการแปรงฟันลูกน้อยที่ถูกวิธี

หลักการสำคัญของการดูแลฟันน้ำนม คือ การป้องกันฟันผุง่ายกว่าการรักษา อีกทั้งยังไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างและส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพฟันที่ดี โดยเริ่มจากการดูแลฟันของลูกน้อยตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกที่ขึ้นสู่ช่องปาก เพื่อให้ลูกมีสุขภาพฟันที่ดีตั้งแต่ชุดฟันน้ำนมจนเปลี่ยนสู่ชุดฟันแท้ โดยการฝึกเด็กเพื่อให้เกิดความเคยชินกับการทำความสะอาดฟัน สันเหงือก กระพุ้งแก้ม ลิ้น และอวัยวะในปากโดยรอบ และการเลือกอาหารตลอดจนอาหารว่างที่มีประโยชน์ไม่ก่อให้เกิดฟันผุ

อีกทั้งการพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจฟันและแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างช้าภายในขวบปีแรก และรับการรักษาเมื่อเกิดฟันผุตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก่อนจะลุกลาม รวมถึงการหมั่นตรวจเช็คฟันประจำสม่ำเสมอทุก 6 เดือน เพื่อให้ลูกมีสุขภาพฟันน้ำนมที่ดีและเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพฟันแท้ที่ดีในอนาคต มาถึงตรงนี้จึงอาจบอกได้ว่าสุขภาพฟันที่ดีของลูกขึ้นอยู่กับมือของคุณพ่อคุณแม่ทุกคนนั่นเองนะคะ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงเรื่องการ ดูแลฟันน้ำนม จาก : dt.mahidol.ac.thwww.thaihealth.or.thwww.childrenhospital.go.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up