ตะคอกใส่ลูก เสี่ยงทำลายสมอง
สอดคล้องกับที่ ดร.มาร์คัม ได้บอกว่า
“การตะโกนใส่หน้าลูกๆ ไม่เป็นผลดีต่อสมองของเด็กๆ ขณะเดียวกันยังทำให้สมองหลั่งสารเคมีที่ก่อให้เกิดการต่อต้าน และส่งผลต่อการเติบโตของลูกน้อยอีกด้วย ที่สำคัญ เด็กก็มักจะแสดงปฏิกิริยาต่อสู้กับพ่อแม่ นิ่งใส่ หรือตีพ่อแม่ บางครั้งอาจวิ่งหนี และเขม็งตาใส่
พฤติกรรมที่กล่าวมาล้วนไม่ส่งผลดีอะไรเลย ที่สำคัญ การที่ผู้ปกครองตะโกนใส่หน้าเด็กๆ ด้วยอาการเกรี้ยวกราด นัยหนึ่งก็เท่ากับเป็นการสอนเรื่องการใช้ความรุนแรง ผ่านการแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ซึ่งไม่ต่างจากการแสดงความรุนแรงผ่านทางกายแต่อย่างใด และพฤติกรรมดังกล่าวสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังเด็กที่กำลังจะโตได้”
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็ก ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารพัฒนาการลูกน้อย “Child Development” เมื่อปี 2013 ระบุไว้ว่า “การตะโกนใส่หน้าลูก อันที่จริงแล้วหมายถึงการสาปแช่งและดูถูกเด็กๆ ซึ่งถือได้ว่ารุนแรงไม่ต่างจากการลงโทษทางร่างกาย”
ขณะที่เว็บไซต์สุขภาพอย่าง “Healthline” ระบุว่า การตะโกนใส่หน้าเด็กๆ มักจะมาพร้อมกับคำพูดดูถูกเหยียดหยาม ซึ่งนั่นถือได้ว่าเป็นการล่วงละเมิดทางอารมณ์ และแสดงให้เห็นผลเสียในระยะยาว เช่น การที่เด็กเกิดความกังวล และมีความนับถือตัวเองต่ำ รวมถึงจะทำให้เด็กก้าวร้าว และทำให้เด็กอ่อนแอหากถูกแกล้ง เพราะจะทำให้เขาเข้าใจผิดว่าตัวเองเป็นดังเช่นที่ถูกว่ากล่าว ทำให้เกิดภาวะขี้ขลาดหรือไม่มั่นใจในตัวเอง
ดร.มาร์คัมแนะนำการแก้ปัญหาความรุนแรงดังกล่าว โดยการมองให้เป็นเรื่องตลก โดยเฉพาะเมื่อเด็กๆ ทำผิดพลาด หรือทำเรื่องผิดพลาดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เพราะหากพ่อแม่ตอบสนองด้วยอารมณ์ขัน จะทำให้พ่อแม่ยังสามารถรักษาอำนาจการควบคุมลูกไว้ได้ และไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ปกครองเสียไป หรือหากเด็กๆ แสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก พ่อแม่สามารถหาเวลาพักผ่อนร่วมกัน และใช้โอกาสดังกล่าวพูดคุยกัน เพื่อทำให้เด็กมีที่ระบายและปรับตัว ซึ่งจะสร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเด็กๆ นั่นจึงเท่ากับว่าครอบครัวได้สะท้อนผลที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก ซึ่งไม่ใช่การทำให้ความสัมพันธ์เกิดความแตกแยก
อ่านต่อ >> “6 วิธีระงับใจ ไม่ตะคอกลูก” คลิกหน้า 3
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thaipost.net
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่