2.ภาวะลิ้นโต – ภาวะลิ้นโตที่ว่านี้เป็นภาวะที่วงการแพทย์เรียกกันว่า ลุ่มอาการเบ็ควิท-ไวเดอมานน์ (Beckwith–Wiedemann syndrome) เป็นความผิดปกติของทารกตั้งแต่กำเนิด โดยจะพบว่าลิ้นของทารกนั้นมีขนาดใหญ่กว่าปากของทารกมาก ซึ่งความใหญ่อันผิดปกตินี้สามารถแปรสภาพกลายเป็นโรคมะเร็งได้เลยละค่ะ วิธีการแก้ไขก็คือ คุณหมอจะช่วยทำการผ่าตัดลิ้น และเย็บติดเข้าด้วยกันใหม่ จึงจะช่วยทำให้ทารกที่อยู่ในภาวะนี้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ก็ยังคงต้องเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งนั่นเองค่ะ
3.ปากลูกเล็กเกินไป – เด็กบางคนลิ้นมีขนาดปกติ แต่ด้วยความที่ปากของพวกเขาเล็กเกินไปจึงส่งผลให้ลิ้นนั้นคับปากไม่สามารถเก็บลิ้นของตัวเองเข้าไปได้หมด ซึ่งภาวะปากเล็กนี้มักจะพบในกลุ่มของเด็กพิเศษ หรือเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อเรียกว่ากลุ่มดาวน์ซินโดรมนั่นเองค่ะ
4. ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย หมายถึง ภาวะที่ลูกไม่สามารถที่จะขยับเขยื้อนลิ้นของตัวเองกลับเข้าไปในปากได้ เนื่องจากแรงต้านของกล้ามเนื้อนั้นน้อยกว่าปกติ ทำให้ทารกไม่สามารถดูดนมแม่ได้อย่างเต็มที่ ยกเว้นเสียแต่ว่า คุณแม่จะช่วยประคองทารกเอาไว้ให้ดูดนมในท่าที่เหมาะสม ทั้งนี้ภาวะดังกล่าว ยังคือว่าเป็นภาวะหนึ่งในเป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงกลุ่มดาวน์ซินโดรมได้อีกด้วย