7 ภาพการ์ตูนที่ต้องดู! ก่อนมี "ลูกคนแรก" ทั้งซึ้งและน่ารัก - Amarin Baby & Kids
ลูกคนแรก

7 ภาพการ์ตูนที่ต้องดู! ก่อนมี “ลูกคนแรก” ทั้งซึ้งและน่ารัก

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกคนแรก
ลูกคนแรก

ช่วงเวลาที่รู้ว่าจะได้มี ลูกคนแรก เป็นช่วงเวลาที่ทั้งน่ายินดีและสับสนในคราวเดียวกัน เพราะพ่อแม่ป้ายแดง มักจะไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร เตรียมอะไรบ้าง? มาดูภาพการ์ตูนที่ตีแผ่ชีวิตพ่อแม่ลูกอ่อนกันค่ะ

7 ภาพการ์ตูนที่ต้องดู! ก่อนมี “ลูกคนแรก” ทั้งซึ้งและน่ารัก

เมื่อชีวิตคู่ที่มีกันแค่ 2 คน ได้มีสิ่งมีชีวิตที่สุดแสนวิเศษตัวน้อย ๆ เข้ามา อะไรที่ยังไม่เคยทำ ก็จะได้เจอ คุณพ่อคุณแม่ป้ายแดงกำลังจะได้เจอกับชีวิตที่ท้าทายใหม่ ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ ก็อาจจะตื่นเต้น เห่อ และรอคอยกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น แต่เมื่อลูกคลอดปั๊บ คุณพ่อคุณแม่ลูกอ่อนก็จะได้เจอกับความสุขสุดขีด ที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนผ้าอ้อม การอุ้มลูกทั้งคืน เสียงร้องที่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร จนทำให้วันวานอันมีอิสระเสรีแสนหวานเป็นเพียงภาพเบลอ ๆ

เพราะการมี ลูกคนแรก เป็นช่วงชีวิตที่เราจะได้เจอเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อย่านิ่งนอนใจ หลงระเริงว่าเอาอยู่ เตรียมตัวให้พร้อมกันหน่อยนะคะ ลองมาอ่านประสบการณ์ดี ๆ ของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กันหน่อยดีกว่า ในครั้งนี้ ทีมแม่ ABK ขอนำเสนอประสบการณ์จริงจากคู่รักที่สุดแสนจะน่ารักคู่หนึ่ง ที่ได้บอกเล่าประสบการณ์การมี ลูกคนแรก ผ่านการวาดการ์ตูนที่ทั้งน่ารัก ตลก ซาบซึ้ง และประทับใจในคราวเดียวกัน

คู่รักนักวาดการ์ตูนคู่นี้ Yehuda Devir และ Maya Devir ได้เขียนการ์ตูนชื่อ “One of Those Days” โดยการ์ตูนทั้ง 3 เล่มนี้ได้บอกเล่าถึงเรื่องราวและประสบการณ์ความรักของคนทั้งสอง จนได้เดินทางมาถึงการตั้งท้อง ลูกคนแรก และสุดท้ายทั้งคู่ก็ได้มีโอกาสต้อนรับลูกสาวที่แสนน่ารัก “Ariel”

7 ภาพการ์ตูนที่ต้องดู! ก่อนมี “ลูกคนแรก” ทั้งซึ้งและน่ารัก

1.วินาทีสุดซึ้งเมื่อได้ให้นมลูกจากอกเป็นครั้งแรก

ลูกคนแรก
ลูกคนแรก

หลังคลอด ไม่ใช่แม่ทุกคนจะมีน้ำนมให้ลูกทานได้ทันที แม่บางคนอาจไม่มีน้ำนม น้ำนมมาน้อย หรือลูกอาจจะงอแงไม่ยอมดูดนมจากเต้า ดังนั้นเรามาเตรียมตัวเพื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้องกันดีกว่าค่ะ โดยวิธีปฏิบัติมีดังนี้

  1. คุณแม่ควรรับประทานอาหารครบทั้งห้าหมู่ให้เพียงพอเพื่อบำรุงร่างกายแม่และลูก ตลอดจนเตรียมสะสมอาหารไว้สร้างน้ำนม โดยอาหารที่เน้นคือ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง นม ผัก ผลไม้ และข้าว ไม่จำเป็นต้องทานอาหารที่กระตุ้นน้ำนมเตรียมไว้ก่อน เพียงทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ก็เพียงพอแล้ว
  2. หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารได้ทุกชนิด ยกเว้นยาดองเหล้า สุรา น้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ และห้ามสูบบุหรี่
  3. ใส่ยกทรงทั้งกลางวันและกลางคืนให้พอเหมาะกับขนาดของเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรักษาทรวดทรง
  4. อย่านวดเต้านม เพราะอาจไปกระตุ้นให้มดลูกบีบรัดตัวทำให้คลอดก่อนกำหนดได้
  5. การอาบน้ำตามปกตินั้น เพียงพอสำหรับการทำความสะอาดเต้านมและหัวนม ไม่ควรฟอกหัวนมด้วยสบู่ เพราะจะทำให้หัวนมแตก หรือเป็นแผลได้ง่าย

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

บทความที่เกี่ยวข้อง ป้าหมอเผย วิธีเตรียมเต้า กระตุ้นน้ำนม ก่อนคลอด

2. เหมือนออกไปรบ!! เมื่อคุณพ่อต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมลูก

เปลี่ยนผ้าอ้อมลูก
เปลี่ยนผ้าอ้อมลูก

เปลี่ยนผ้าอ้อมเรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่เล็ก จะทำความสะอาดบริเวณใต้ผ้าอ้อมอย่างไรให้สะอาดไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และต้องทำให้ไวในขณะที่ลูกกำลังดิ้น!! เรามีเคล็ดลับการเปลี่ยนผ้าอ้อมมาฝากค่ะ

เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกสาว

  • การทำความสะอาด ให้เช็ดจากแคมด้านหน้าลงไปที่ก้น และเปิดแคมด้านในทำความสะอาดด้วย
  • เด็กหญิงอาจมีไขหุ้มทารก ซึ่งเป็นส่วนที่ปกป้องผิวของเขาตอนอยู่ในท้องแม่ และออกมาทางช่องคลอดได้ อาจติดอยู่แถวๆ ปากช่องคลอด ไม่ต้องตกใจ แค่เช็ดออกเท่านั้น
  • ถ้าต้องล้างทำความสะอาดมากๆ ต้องล้างให้ดีจริงๆ และไม่ใช้สบู่ เพราะถ้าล้างไม่สะอาดและคราบสบู่ออกไม่หมดอาจทำให้ลูกติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น

เปลี่ยนผ้าอ้อมลูกชาย

  • ก่อนทำความสะอาด ให้วางผ้าอ้อมสะอาดหรือผ้าเช็ดปิดจุ๊จุ๊ไว้กั้นเจ้าจอมทะเล้นพ่นน้ำพุใส่ ข้อนี้ต้องรู้ทัน
  • ทุกครั้งที่ทำความสะอาด นอกเหนือจากบริเวณจุ๊จุ๊แล้ว อย่าลืมยกถุงอัณฑะและเช็ดให้ทั่วด้วย
  • ตอนใส่ผ้าอ้อมผืนใหม่ ช่วยจัดจุ๊จุ๊ของเขาให้นอนลง และให้อยู่ตรงกึ่งกลางผ้าอ้อม กันรั่วนั่นเอง (ถ้าเห็นจุ๊จุ๊ของลูกยืนตรงก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นเรื่องปกติ ค่อยๆ จับให้นอนลงได้)

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกอึเสร็จ ตอนไหน แม่จะรู้ได้ยังไง เมื่อไหร่จะถึงเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อม

3. ตายซะ!! เจ้ายุง!!

ทารกถูกยุงกัด
ทารกถูกยุงกัด

ยุง สัตว์ตัวเล็ก แต่แฝงไปด้วยพิษสง พาหะนำโรคมากมายที่คร่าชีวิตมนุษย์มาแล้วมากมาย นอกจากจะทำให้ลูกคันแล้ว ตุ่มเล็ก ๆ บนตัวและหน้าลูก สร้างความเสียใจ รำคาญใจ ให้กับพ่อแม่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะลูกที่ยังเล็ก ๆ อยู่ เจ้ายุงก็ดันเลือกที่จะกัดลูก ทำไมไม่มากัดแม่!! เรามีวิธีป้องกันยุงมาฝากค่ะ

ป้องกันอย่างไรให้ลูกปลอดภัยต่อยุง

  1. อาวุธที่ควรมีทุกบ้านไม่แพง กันยุงได้ดี คือ มุ้ง ถึงแม้จะติดตาข่ายมุ้งลวดแต่ยุงก็สามารถเล็กลอดเข้ามาได้ กางมุ้งอีกรอบเพื่อความปลอดภัย
  2. เลือกใส่เสื้อผ้าสีอ่อนๆ เพราะผลการวิจัยพบว่า ยุงชอบสีเข้มๆ มากกว่าสีอ่อน ๆ
  3. โลชั่นทากันยุง ตะไคร้หอม ป้องกันยุงได้ในช่วงสั้นประมาณ 20-30 นาที (สำหรับทารกแรกเกิด ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ได้กับเด็กแรกเกิดเท่านั้น)
  4. น้ำมันยูคาลิปตัสป้องกันยุงได้ในช่วงประมาณ 2-5 ชั่วโมง
  5. ใช้ยาป้องกันยุงชนิดที่ทำจากสารสกัดธรรมชาติ ไม่ควรใช้ชนิดที่เป็นสารเคมี เพราะอาจเป็นอันตรายได้โดยเฉพาะเด็กๆ อย่าทายากันยุงบริเวณร่มผ้า ให้ทาบางๆ ที่แขนขา ฉีดหรือหยดลงบนเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าห่ม หรือผ้าอ้อมเด็ก
  6. หากจะฉีดยากันยุงชนิดที่เป็นสารเคมี ควรฉีดในช่วงกลางวันหรือฉีดทิ้งไว้สักพักก่อนจะเข้าไปอยู่ในบริเวณนั้น เพื่อความปลอดภัย
  7. หลีกเลี่ยงมุมอับ ที่มืด และระมัดระวังช่วงเวลาที่ยุงจะชุมมากที่สุด นั่นก็คือช่วงหัวค่ำและรุ่งสาง ยกเว้นยุงลายที่ออกหากินเวลากลางวัน
  8. กำจัดยุงและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน เช่น แจกันดอกไม้ จานรองขาตู้ ท่อน้ำ หรือบริเวณที่มีน้ำขัง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 วิธีสังเกตตุ่มตามตัวเมื่อ ลูกโดนแมลงกัด

4. ถ่ายรูปลูก..สุดเฟล..ทำไมไม่เป๊ะเหมือนที่คิดไว้น้า?

ถ่ายรูปลูก
ถ่ายรูปลูก

อยากถ่ายรูปให้ออกมาน่ารัก น่าประทับใจ เหมือนคนอื่น แต่ทำไมรูปที่ได้ถึงเฟลอย่างนี้นะ? มาดู 4 เทคนิคถ่ายภาพทารก ให้ปลอดภัย ไม่เฟล มาฝากค่ะ

  1. งดใช้แฟลช เด็กทารกที่เพิ่งคลอดออกมาไม่นานนั้น ควรใช้แสงไฟธรรมชาติ และต้องหลีกเลี่ยงการใช้ดวงไฟไม่ให้ส่องกระทบดวงตาของเด็ก
  2. ถ่ายในห้องที่สว่าง ดวงตาของเด็กนั้นบอบบางมาก ให้หลีกเลี่ยงการใช้แฟลช แต่จะทำอย่างไรให้ได้ภาพสวย? จะถ่ายนอกสถานที่นั้นก็ยังไม่ควร เพราะว่าผิวของเด็กแรกเกิดก็ยังบอบบางเช่นกัน เพราะฉะนั้นควรเลือกถ่ายภาพทารก ในห้องที่แสงเหมาะสม ผ่านทางหน้าต่าง และเลือกใช้ช่วงเวลาที่แสงดีที่สุด
  3. จัดท่านอนที่ปลอดภัย เด็กทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะยังคงนอนหลับ และเวลาถ่ายรูปหากต้องการได้มุมสวยๆ ก็มักจะเน้นให้เห็นสรีระของเด็ก เป็นมุมเสยเพื่อให้เห็นใบหน้าที่ชัด โดยใช้วิธีสังเกตท่าทางการนอนและสีหน้าของเด็กจังหวะต่างๆ จะช่วยสื่ออารมณ์และมีเรื่องราวอยู่ในภาพมากขึ้น เช่น ขณะที่กำลังอมยิ้ม หาว หรือขยับตัว ภาพทารกที่สื่อความหมายมากที่สุด คือ ในอ้อมอกของแม่ การจับสีหน้าของเด็กทารกที่ให้ภาพออกมาได้สวยคือช่วงเวลาที่ทารกอารมณ์ดี หรือช่วงที่กำลังนอนหลับสบาย เช่น ช่วงที่เพิ่งทำความสะอาดตัวใหม่ ๆ ช่วงหลังให้นมแม่ เป็นต้น
  4. เตรียมสถานที่ที่ปลอดภัย การเตรียมสถานที่ในการถ่ายภาพเด็กทารกในกรณีที่ถ่ายเฉพาะตัวเด็ก ควรจะจัดให้ตัวเด็กอยู่ในระดับเดียวกับกล้อง ซึ่งอาจจะใช้ เก้าอี้นอนหรือเบาะนุ่มๆ ที่หนุนให้สูง โดยมีผ้ารองตัวเด็กให้เด็กรู้สึกนุ่มสบายและไม่ระคายผิว เพราะจะทำให้เด็กทารกตื่นหรืองอแงได้ การถ่ายเจาะโคลสอัพโดยถ่ายหน้า มือ หรือเท้า ของเด็กก็นับเป็นการถ่ายภาพเด็กทารกที่นิยมกันมากขึ้น โดยใช้เลนส์โคลสอัพ ในการถ่าย เน้นให้ฉากหลังเบลอ จะทำให้ภาพออกมาชัดและสวย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ไอเดีย ถ่ายภาพลูก สุดจี๊ด พร้อมเทคนิคถ่ายภาพแบบมือโปร!

5. ลูกเจ็บ..แม่เจ็บยิ่งกว่า

วัคซีนทารก
วัคซีนทารก

ในวัยผู้ใหญ่ เราห่างหายจากการฉีดวัคซีนกันมานาน อีกทั้งการฉีดวัคซีนก็ไม่ได้เจ็บอะไรมากสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่สำหรับลูกตัวน้อยนี่สิ ที่ต้องฉีดวัคซีนแทบทุกเดือน บางเดือนต้องฉีดพร้อมกัน 2 เข็ม แถมฉีดแต่ละทีลูกก็ร้องไห้จ้าเพราะเจ็บ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จะต้องเตรียมใจกับสถานการณ์นี้นะคะ เข้าใจดีว่าสงสารลูก แต่อย่างไรคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องอดทนเพื่อให้ลูกแข็งแรงค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตารางวัคซีน 2564 ปีนี้มีปรับรายละเอียด? ลูกต้องฉีดอะไร ตอนไหนบ้าง เช็กเลย!

รวมแพ็กเกจวัคซีนเด็ก โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ปี 2564

6. การนอนอย่างเต็มอิ่มคืออะไร? ทำไมจำไม่ได้แล้วนะ?

ลูกตื่นทั้งคืน
ลูกตื่นทั้งคืน

สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จะสูญเสียไปก็คือการนอนอย่างเต็มอิ่มค่ะ ตั้งแต่คลอด ลูกคนแรก จะไม่มีวันไหนที่คุณจะได้นอนเต็มอิ่มอีกเลย จนกว่าลูกจะโต ก่อนอื่นคุณแม่ต้องเข้าใจด้วยว่าระยะเวลา 9 เดือนที่เจ้าตัวเล็กนอนอยู่ในท้องที่เต็มไปด้วยน้ำคร่ำ เมื่อยามที่คุณแม่เดินไปมา ก็เปรียบเสมือนว่าได้ไกวเปลทำให้ทารกในท้องนอนหลับสบาย ส่วนตอนกลางคืนที่คุณแม่หลับสนิทลูกน้อยในท้องกลับตื่นจนถีบท้องคุณแม่สะดุ้งอยู่หลายครั้ง เพราะคุณแม่ไม่ได้เคลื่อนไหวตัวนั่นเอง จนกระทั่งคลอดออกมาทารกก็ยังคงเคยชินกับช่วงเวลาที่นอนและตื่นเหมือนตอนอยู่ในท้อง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกแรกเกิดนัั้นนอนกลางวัน มากกว่ากลางคืน แม้จะปลุกให้กินนมก็ไม่ค่อยอยากจะตื่นนั่นเองค่ะ

ตามปกติแล้วเด็กทารกแรกเกิดต้องการเวลานอนหลับพักผ่อนมากกว่าเด็กโต แต่ห้วงเวลาการหลับและตื่นจะสั้น และมีหลายช่วงเวลาที่ตื่นเมื่อหิว ซึ่งทารกแรกเกิด จนถึงอายุ 2 เดือนต้องการเวลานอน 11-18 ชั่วโมงต่อวัน และระหว่าง 2 -10 เดือน ต้องการเวลานอน 11-15 ชั่วโมงต่อวัน โดยปกติทารกแรกเกิดจะนอนในเวลากลางวันนานมาก และใช้เวลานานในตอนกลางคืนกว่าจะหลับได้นั้นจะมีอาการ หลับๆ ตื่นๆ ไปตลอดคืน เด็กทารกจะตื่นบ่อยในช่วง 3 เดือนแรก เพื่อขอกินนมแม่บ่อยๆ เป็นการกระตุ้นให้แม่สร้างน้ำนมแม่มากขึ้น ดังนั้นแม่จะเหนื่อยมากในช่วง 3 เดือนแรก การนอนแบบสับสนช่วงเวลาของเด็กทารกนี้ จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะช่วงแรกเกิดจนถึง 3 เดือนเท่านั้น (หรือบางคนอาจมากกว่านั้น) ถือเป็นช่วงที่สำคัญและลำบากสำหรับคนเป็นแม่มากที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตารางการนอนของทารก นอน/ตื่นกี่ครั้ง นอนนานแค่ไหน?

7. เมื่อลูกไม่ชอบอาบน้ำ!

อาบน้ำทารก
อาบน้ำทารก

ทุกครั้งเวลาที่ตัวลูกแตะโดนน้ำ ลูกจะร้องไห้โวยวายไม่ยอมอาบ ส่วนพ่อแม่ก็กลัวจะทำลูกหล่น ยิ่งลูกดิ้น สถานการณ์ก็ยิ่งแย่ลง เป็นสถานการณ์ที่ต้องทำแทบจะทุกวัน และก็ต้องลุ้นตัวเกร็งกันแทบจะทุกวันเลยล่ะค่ะ มาดูเทคนิคการอาบน้ำเจ้าตัวน้อย อย่างถูกต้องและปลอดภัยกันค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ขั้นตอน วิธีอาบน้ำเด็กแรกเกิด ถูกต้อง ปลอดภัย (มีคลิป)

ลูกคนแรก
ลูกคนแรก

เมื่อได้ผ่านวันเวลาที่แสนจะยุ่งเหยิง วุ่นวาย แต่มีความสุขมาได้แล้ว มนุษย์พ่อมนุษย์แม่มือใหม่จะรู้สึกภูมิใจและไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้ ตัวเองจะเลี้ยงเจ้าตัวเล็กให้โตขนาดนี้ได้เลยค่ะ ช่วงเวลาเหล่านี้แหล่ะค่ะ เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่เรียกว่า “มีชีวิตที่คุ้มค่า”

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

รู้ได้อย่างไรว่าลูกกินอิ่ม ใช้สูตรคำนวณปริมาณกินนมช่วยสิ

after birth 8 อาการลูกแรกเกิด แม่ (ไม่ต้อง) กังวล

เตือนใส่ หน้ากากอนามัยเด็ก -เบบี๋อันตรายมากกว่าป้องกัน

วิธีชงนม ไม่มีฟอง ช่วยป้องกันทารกท้องอืดได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : mymodernmet.com, www.yehudadevir.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up