แม่แชร์ 11 วิธีรับมือ ลูกชอบร้องงอแง เทคนิคจากหมอญี่ปุ่น - Amarin Baby & Kids
ลูกชอบร้องงอแง

แม่แชร์ 11 วิธีรับมือ “ลูกชอบร้องงอแง” เทคนิคดีจากหมอญี่ปุ่น!

event
ลูกชอบร้องงอแง
ลูกชอบร้องงอแง

บ้านไหนมีลูกอยู่ในวัยกำลังโต ลูกชอบร้องงอแง ร้องกรี๊ด เกรี้ยวกราด เอาแต่ใจ พ่อแม่ไม่รู้จำทำยังไง? ตามมาดูวิธีรับมือเมื่อ ลูกงอแง ประสบการณ์ตรงจากคุณแม่ที่ได้คำแนะนำจากคุณหมอญี่ปุ่น

แม่แชร์เทคนิคจากหมอญี่ปุ่น วิธีรับมือ ลูกชอบร้องงอแง

เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนต้องเคยเจอปัญหา ลูกชอบร้องงอแง เอาแต่ใจ เกรี้ยวกราด โมโหร้าย ซึ่งลักษระพฤติกรรมของลูกแบบนี้ มักเกิดในช่วงวัยที่กำลังโต ซึ่งเมื่อลูกถูกขัดใจ ก็จะแสดงออกทางพฤติกรรม เช่น ชอบร้องกรี๊ด ลูกงอแง เอาแต่ใจ ตีตัวเอง และตีคนอื่น รวมไปถึงชอบทิ้งตัวลงไปนอนกับพื้น หรือ ลูกชอบปาทำลายของ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกทำไปเรื่อยๆ โดยไม่แก้ไข อาจส่งผลเสียต่อตัวลูกน้อยในอนาคตได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรรีบแก้ไขเพื่อให้ลูกน้อยมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม

ลูกชอบร้องงอแง

ดังนั้นทีมแม่ ABK จึงมีแนวทางในการ รับมือ ลูกชอบร้องงอแง ร้องกรี๊ด เกรี้ยวกราด มาฝาก … ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจจาก “คุณแม่ริ” คุณแม่คนไทยที่ไปอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น โดยมีลูกน้อยสุดน่ารัก ชื่อ “น้องซาริ” ในวัย 1 ขวบ โดยตัวคุณแม่ริเองก็เจอกับปัญหา น้องซาริ ที่อยู่ในวัยกำลังโต ชอบร้องงอแง คุณแม่จึงไปปรึกษาคุณหมอเด็กของญี่ปุ่น และนำคำแนะนำที่ได้จากคุณหมอ มาใช้กับน้องซาริ ซึ่งก็ได้ผลดี คุณแม่ริจึงนำมาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกัน

🌸 โดยคุณแม่ริกล่าวว่า… สำหรับเด็กที่เริ่มโต จะเริ่มมีความงอแง และเกรี้ยวกราดเยอะขึ้น

  • ร้องกรี๊ด
  • ร้องไห้ดังๆ
  • ขว้างปาข้าวของ
  • รายที่หนักๆ ก็หัวโขกพื้น
  • ลงไปนอนดิ้น
  • ทุบตี ฯลฯ

🌸 สาเหตุหลักๆ ส่วนใหญ่มาจาก

  • เพราะลูกยังไม่สามารถทำในสิ่งที่อยากทำได้ เนื่องจากศักยภาพไม่เพียงพอ จนทำให้รู้สึกหงุดหงิด เช่น จะใส่รองเท้าเอง แต่ทำไม่ได้สักที
  • สำหรับเด็กเล็ก เนื่องจากลูกยังพูดหรือสื่อสารไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถบอกความรู้สึก ความต้องการ หรือสื่อความหมายไม่ได้จนรู้สึกหงุดหงิด
  • ลูกยังไม่รู้ทันอารมณ์ของตัวเอง และไม่รู้ว่าจะจัดการกับตัวเองยังไง

🌸 ความรู้สึกที่ไม่ได้ทำในสิ่งที่ต้องการ เป็นรากของอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ ที่ทำให้ลูกกลายเป็นคนหงุดหงิด งอแง โวยวาย และเอาแต่ใจ

ดังนั้นเราจึงต้องพยายามเข้าใจในความต้องการของเด็ก และไม่เล่นกับความรู้สึกเด็ก เพราะเด็กยังไม่รู้จักการล้อเล่นแบบผู้ใหญ่ ( kidding ) ( ถ้าจะ kidding เด็ก ควรเลือกเป็นช่วงเด็กอารมณ์ดีนะ ไม่ใช่ช่วงที่เค้าหงุดหงิด )

อ่านต่อ >> “วิธีรับมือเมื่อลูกร้องไห้งอแง
เอาแต่ใจ และอาละวาด” คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up