พัฒนาการ กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อ ตา มือ ปาก ในวัย 0-3 ปี - Page 2 of 3 - Amarin Baby & Kids
พัฒนาการ กล้ามเนื้อมัดเล็ก

พัฒนาการ กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อ ตา มือ ปาก ในวัย 0-3 ปี

Alternative Textaccount_circle
event
พัฒนาการ กล้ามเนื้อมัดเล็ก
พัฒนาการ กล้ามเนื้อมัดเล็ก

พัฒนาการกล้ามเนื้อตา

การเคลื่อนไหวของลูกตา เริ่มพัฒนาตั้งแต่ 1 เดือน เพราะทารกในวัยแรกเกิดจะยังมองเห็นได้ไม่ชัดนัก แต่การมองเห็นจะค่อย ๆ ชัดขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถเคลื่อนไหวตามวัตถุต่าง ๆ ที่ลูกสนใจได้ดีขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

  • 1 เดือน สามารถจ้องมองวัตถุที่ห่างจากใบหน้าประมาณ 8 นิ้วได้
  • 2 เดือน สามารถมองตามวัตถุผ่านแนวกึ่งกลางตัวได้
  • 4 เดือน สามารถมองตามวัตถุในแนวราบ 180 องศาได้
ลูกมองตาม
ลูกจะสามารถจำหน้าแม่ และมองตามแม่ที่กำลังเดินไปมาได้

พัฒนาการกล้ามเนื้อรอบ ๆ ปาก

การทำงานของกล้ามเนื้อที่อยู่บนใบหน้า ได้แก่ ปาก ลิ้น และขากรรไกร จะส่งผลต่อการเคี้ยว การกลืนและการออกเสียงพูด เด็กจะต้องมีกำลังกล้ามเนื้อ ช่วงของการเคลื่อนไหว ที่สามารถทำงานประสานกันได้อย่างเหมาะสม ถ้าเด็กมีการเคลื่อนไหว หรือกำลังกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ จะส่งผลให้มีความยากลำบากต่อการรับประทานอาหารและการออกเสียงได้ โดยมีหลักเกณฑ์ในการสังเกตพัฒนาการกล้ามเนื้อรอบ ๆ ปาก ดังต่อไปนี้

  • วัยแรกเกิด ทารกจะสามารถดูด และ กลืน ของเหลวได้เท่านั้น
  • อายุ 3 เดือน มีความสามารถในการเปิด ปิด ปากได้ดีขึ้น
  • วัย 4-6 เดือน ทารกจะสามารถควบคุมการเปิด ปิด ปาก ได้เป็นอย่างดี และยังสามารถกระดกลิ้นขึ้น ลง ได้ ซึ่งความสามารถในการกระดกลิ้นนี้ จะช่วยให้ทารกสามารถดูดกลืนอาหาร เคี้ยวอาหาร และลำเลียงอาหารเข้าไปด้านในช่องปากได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงวัยนี้ ทารกจะเริ่มแสดงอาการอยากทานอาหารอย่างอื่นมากกว่านมแม่หรือนมผง นั่นเป็นเพราะกล้ามเนื้อรอบ ๆ ปาก พร้อมแล้วนั่นเองค่ะ
  • ในช่วงวัย 7-9 เดือน ทารกจะมีพัฒนาการกล้ามเนื้อตา และมือที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้การทำงานประสานกันระหว่าง มือ ตา และ ปาก จะช่วยให้ลูกสามารถหยิบอาหารชิ้นเล็ก ๆ เข้าไปได้ด้วยตัวเอง และสามารถเคี้ยวอาหารนิ่ม ๆ ได้บ้างเล็กน้อย การให้ลูกทานอาหารชิ้นเล็ก ๆ ที่ละลายได้ง่าย จะช่วยฝึกลูกให้ทานอาหารที่หยาบได้เร็วขึ้นในช่วงนี้ค่ะ
  • วัย 10-12 เดือน ในช่วงนี้ลูกจะเริ่มคล่องในการเคี้ยว และสามารถแยกแยะได้ว่าอาหารชนิดไหนต้องเคี้ยวก่อน อาหารชนิดไหนกลืนได้เลย กล้ามเนื้อริมฝีปาก ก็จะแข็งแรงขึ้น ทำให้สามารถอมข้าวหรือน้ำในปากได้
  • อายุ 1 ขวบขึ้นไป เด็กในวัยนี้ควรจะทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน และ อาหารว่าง 2-3 มื้อต่อวัน โดยควรทานอาหารที่มีความหยาบหรือเหลวที่หลากหลาย ดังนั้น พัฒนาการการเคี้ยว กลืน อาหาร และการควบคุมการทำงานประสานกันระหว่าง เหงือก ลิ้น ริมฝีปาก จะทำได้ดีขึ้น ในช่วงนี้ ลูกจะเริ่มพูดเป็นคำที่มีความหมายได้บ้างแล้ว เพราะสามารถควบคุมกล้ามเนื้อรอบ ๆ ปากให้เป็นไปตามที่ต้องการจะเปล่งเสียงได้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ พัฒนาการ กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อ ตา มือ ปาก ในวัย 0-3 ปี

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up