ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ กับการใช้ยาสีฟันที่ถูกต้องในเด็ก โดยสมาคมทันตแพทย์ - amarinbabyandkids

ฟลูออไรด์สาหรับเด็ก กับการใช้ยาสีฟันที่ถูกต้องในเด็ก โดยสมาคมทันตแพทย์ ปี 2560

event

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

ฟลูออไรด์สำหรับใช้ที่บ้าน

ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ : การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 1,000 1,055 1,100 และ 1250 ส่วนในล้านส่วน สามารถลดฟันผุในชุดฟันผสมและฟันแท้ได้เฉลี่ยร้อยละ 23 (ร้อยละ 19-27) โดยความเข้มข้นของฟลูออไรด์ 1,500 ส่วนในล้านส่วน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 เมื่อเปรียบเทียบกับ 1,000 ส่วนในล้านส่วน ในฟันน้านมการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ประมาณ 1,000 ส่วนในล้านส่วนสามารถลดฟันผุได้ร้อยละ 31 สาหรับประสิทธิภาพในการลดฟันผุของยาสีฟันที่มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์น้อยกว่า 600 ส่วนในล้านส่วน ยังไม่ชัดเจน

⇒ ข้อบ่งชี้ : แนะนำให้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในทุกกลุ่มอายุ และทุกระดับความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ เพราะเป็นการป้องกันฟันผุขั้นพื้นฐาน

√ วิธีใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

  • แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งคือ เช้าและก่อนนอน
  • ผลข้างเคียงของการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในเด็กคือ การกลืนยาสีฟัน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปและเพิ่มโอกาสการเกิดฟันตกกระเพื่อลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ แนะนาการใช้ดังตารางที่ 1 และ 2
  • การใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ในเด็กเล็กต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะช่วงก่อนอายุ 2 ปีซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เสี่ยงมากที่สุดต่อการเกิดฟันตกกระของฟันหน้าแท้บน ส่วนการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ในเด็กที่สามารถควบคุมการกลืนได้แล้ว ควรบ้วนน้าแต่น้อยเพื่อให้ฟลูออไรด์อยู่ในช่องปากมากที่สุด
  • ในกรณีที่เด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูงอาจพิจารณาใช้ยาสีฟันที่มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์มากกว่า 1,000 แต่ไม่เกิน 1,500 ส่วนในล้านส่วน โดยผู้ปกครองเป็นผู้แปรงฟันและดูแลไม่ให้เด็กกลืนยาสีฟัน

ตารางที่ 1 ปริมาณยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่แนะนำ

ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

ตารางที่ 2 ปริมาณยาสีฟัน และปริมาณฟลูออไรด์ของยาสีฟันความเข้มข้นฟลูออไรด์ 1,000 ส่วนในล้านส่วน
ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

♥ การใช้ฟลูออไรด์จำเป็นต้องปรึกษาทันตแพทย์ก่อน!

เนื่องจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ไม่ได้ผลเต็มที่ในการป้องกันฟันผุ แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะทำให้เกิดอันตรายได้ การเกิดพิษของฟลูออไรด์ แบ่งได้เป็น

  1. การเกิดพิษชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์เกินขนาด มักเกิดจากการรับ
    ประทานฟลูออไรด์ที่มีอยู่ในยาสีฟัน ยาบ้วนปาก ยาฟลูออไรด์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจะมีอาการรุนแรงเพียงใด ขึ้นกับปริมาณฟลูออไรด์ที่ได้รับเข้าไป ตั้งแต่คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย จนกระทั่งถึงตายได้
  2. การเกิดพิษชนิดเรื้อรัง เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่เกินกว่าขนาดที่สมควรจะ
    ได้รับเป็นระยะเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน อาการที่แสดงออกได้แก่ ฟันตกกระ และจะมีปวดข้อมือ ข้อเท้า ถ้าเป็นมากลุกลามไปยังกระดูกสันหลังจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้หายใจลำบากและตายในที่สุด มักพบในผู้ที่ดื่มน้ำบาดาลในภาคเหนือ

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!

อ่านต่อ >> “การใช้ยาอมบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ในเด็ก” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up