สำหรับลูกน้อยในเรียนพร้อมจะร่วมมือทำงานกับผู้อื่นและสนุกกับการแสดงความสามารถใหม่ๆ ซึ่งนั้นก็ถือเป็นโอกาสดีที่คุณพ่อคุณแม่จะได้วางมือจากภาระจุกจิกลงสักหน่อย และปล่อยให้ผู้ช่วยงานบ้านคนใหม่ได้ลงมือทำอะไรบ้าง และสิ่งที่ลูกน้อยวัยเรียน (4 ขวบขึ้นไป) สามารถฝึกทำได้แล้ว คือ
1. เก็บที่นอน
เครื่องนอน ผ้าปูที่นอนอาจผืนใหญ่เกินกว่าแขนสั้นๆ แต่พวกเด็กๆ ช่วยเปลี่ยนปลอกหมอน ตบหมอนให้ฟู และจัดเรียงตุ๊กตายัดนุ่นให้เข้าที่เข้าทางได้ หรือถ้าคุณแม่ไม่รำคาญรอยผ้ายับๆ ก็ปล่อยให้เขาสนุกกับการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนด้วยตัวเองดูสักครั้ง
2. จัดโต๊ะอาหาร
โต๊ะกินข้าว โต๊ะอาหารเป็นลานแสดงความสามารถสำหรับหนูๆ เพราะทุกคนในครอบครัวจะได้เห็นผลงานของเขา ปล่อยให้ลูกจัดโต๊ะขณะที่คุณกำลังวุ่นหน้ามันอยู่หน้าเตา (ถึงเด็กๆ จะวางช้อนกับส้อมสลับกันบ้างก็ไม่เป็นไรหรอก) ถ้าบนโต๊ะมีที่ว่าง คุณอาจอนุญาตให้เขานำผลงานชิ้นเอก เช่น ตัวต่อเลโก้ งานปั้นดินน้ำมัน ฯลฯ มาตั้งตกแต่งไว้กลางโต๊ะหรือจัดดอกไม้ใส่แจกันแบบง่ายๆ
3. เก็บของเล่นกองโต
ให้คุณแม่หาซื้อกล่องหรือถังสีสวยๆ มาสัก 2 – 3 ใบ หลังจากลูกเล่นของเล่นกองใหญ่เสร็จก็ให้เขาจัดเก็บของเล่น ทั้งหมดใส่ถังเหล่านี้ จะแยกตามประเภท สี หรือจัดอันดับของเล่นที่ชอบที่สุดก็ตามใจ หลังจากนั้นก็ให้ลูกอุ้มถังไปเก็บใส่ชั้นหรือลังของเล่นเอง
4. ซักผ้า รีดผ้า
เครื่องแต่งกาย งานซักรีดไม่มีวันหมดไปจากโลก ลองให้ลูกช่วยเบาแรง พับผ้า กลับด้านกางเกง จับคู่ถุงเท้า แล้วหอบเสื้อผ้าของตัวเองไปใส่ลิ้นชัก
5 เทคนิคชวน ลูกทำงานบ้าน แบบราบรื่น!
สำหรับ เด็กบางคนที่คุณพ่อคุณแม่ ยังไม่เคยฝึกลูกทำงานบ้านตั้งแต่เล็กๆ การฝึกในช่วยวัยเรียน ซึ่งลูกโดตแล้ว อาจต้องมีเทคนิคในการชวนลูกช่วยงานบ้านกันเล็กน้อย ซึ่งหากคุณแม่อยากให้ลูกช่วยงานบ้านแบบไม่อิดออด ลองเทคนิคของแจน โฟล ผู้เขียน “Darn Good Advice Parenting” กันดูค่ะ
- ให้ลูกเลือก “งาน” ที่ชอบ คุณพ่อคุณแม่อาจกำหนดตัวเลือกให้จากงานบ้านที่เหมาะกับวัย และควรเป็นงานที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยดูแลอยู่ใกล้ๆ ได้ตลอดเวลา เช่น ให้อาหารน้องหมา เอาขยะไปทิ้งถังหน้าบ้าน เก็บจานชามไปใส่อ่างล้างจาน ฯลฯ
- อธิบาย “คำสั่ง” ให้ชัดเจน ถ้าลูกไม่เคยทำงานนั้นๆ มาก่อน ก็ทำให้ลูกดูเป็นตัวอย่างทีละขั้น อย่าคาดหวังว่าพวกเขาจะทำได้สมบูรณ์แบบตั้งแต่ครั้งแรกๆ ปล่อยให้หนูๆ ทำเท่าที่ทำได้ แล้วค่อยตามเก็บงานให้เรียบร้อยทีหลังก็แล้วกัน
- กำหนด “เส้นตาย” สำหรับเด็กๆ การกำหนดเส้นตายจะดีกว่าคำสั่งลอยๆ แทนที่จะพูดว่า “เก็บจานชามไปใส่อ่างเร็วๆ สิ” หรือ “เก็บของเล่นลงกล่องเดี๋ยวนี้!” ลองชี้ให้ลูกเห็นขั้นตอนต่อไป “หนูต้องเก็บจานชามใส่อ่างก่อน ถึงจะเปิดทีวีได้” หรือ “หนูเก็บของใส่กล่องเสร็จค่อยออกไปเล่นนะ”
- รักษาน้ำเสียง เด็กๆ มักจะออกปากบ่นหรืออิดออดเมื่อต้องลุกขึ้นไปทำงานบ้านอยู่แล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรบอกลูกด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลแต่มั่นคง “ไม่ว่าหนูจะบ่นยังไง หนูก็ต้องไปพับเสื้อผ้าเก็บเข้าตู้ หนูจะร้องไห้ก็ได้ ร้องไห้เสร็จเมื่อไรก็ไปพับผ้านะ”
ที่สำคัญ การให้ลูกทำงานบ้าน คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมชื่นชม เมื่อลูกทำได้ดี สิ่งนี้จะเป็นกำลังใจ เสริมให้ลูกกระตือรือร้นได้ และนั้นก็จะเป็นหนทางให้ลูกรู้สึกสนุกและวางใจกับการงานบ้าน ว่าเป็นเรื่องดี เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจของพ่อแม่
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!
- ชีวิตลูก ต้อง (ฝึกให้) ลูกรับผิดชอบเองได้
- 17 ไอเดียดีๆ ที่จะทำให้การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องง่าย
- สุดเจ๋ง!! วิธีสอดแทรก “งานบ้าน” ให้ลูกช่วยทำ ผ่อนแรงคุณแม่และฝึกวินัยเชิงบวกไปในตัว
- แบ่งงานให้หนูช่วยทำบ้าง
บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids