พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ของเด็กวัย 0-3 ปี
- เดินได้เอง (12-15 เดือน) เมื่อลูกตั้งไข่ได้ดีแล้ว ลูกจะเริ่มก้าวขา โดยในช่วงแรก ๆ จะก้าวได้เพียงไม่กี่ก้าว ก็อาจจะเปลี่ยนไปอยู่ในท่านั่งและคลานแทน (เพราะเร็วกว่า) แต่เมื่อลูกเดินได้คล่องแล้ว ก็จะไม่ค่อยกลับมาคลานแล้วค่ะ เพราะลูกเตรียมพร้อมที่จะวิ่งแล้วค่ะ!
(อ่านต่อ ลูก 1 ขวบยังไม่เดิน ช้าไปไหม?)
- วิ่ง (18 เดือน) ช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องระวังกันอยู่ตลอดเวลา เพราะในช่วงนี้ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลูกเริ่มทำงานประสานกันได้ทั้งร่างกายแล้ว ทำให้เด็กในวัยนี้ มีความสุขที่จะเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา (ก็ร่างกายหนูพร้อมแล้วค่ะ/ครับ)
- เกาะราวขึ้นบันไดหรือเตะบอล (19-21 เดือน) โดยการเกาะขึ้นราวบันได จะเริ่มใช้เพียงขาข้างใดข้างหนึ่งก้าวนำขึ้นไปก่อน จะยังไม่สามารถใช้ขาทั้งสองข้างก้าวขึ้นบันไดสลับกัน และสำหรับการเตะบอล ลูกจะเริ่มใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก (ตา) ให้สัมพันธ์กันกับการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
(อ่านต่อ 4 อุบัติเหตุไม่คาดฝันในบ้าน พ่อแม่ห้ามประมาท)
- ลงบันไดพร้อมเกาะราวหรือขว้างลูกบอล (2 ปี) เช่นเดียวกันกับ การเกาะราวขึ้นบันไดและการเตะบอล คือ เริ่มแสดงให้เห็นถึงการทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่
สำหรับทารกบางคน พัฒนาการอาจจะไม่ตรงตามที่ระบุไว้ อาจจะข้ามพัฒนาการบางขั้นตอนไปได้ เช่น ลูกไม่พลิกคว่ำ พลิกหงาย แต่กลับนั่งได้เร็ว เป็นต้น การข้ามขั้นตอนนี้ ไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใดค่ะ แต่การช่วยเหลือที่มากจนเกินไปของพ่อแม่ ก็อาจะเป็นสาเหตุให้ลูกไม่มีโอกาสในการพัฒนากล้ามเนื้อในด้านนั้น ๆ จนทำให้เกิดความล่าช้าได้ เช่น อุ้มลูกไว้ตลอดเวลา โดยไม่ปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสได้คลานหรือนั่งเองเลย เป็นต้น ดังนั้น พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูกมีโอกาสเคลื่อนไหว และใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของตนเองตาม วัย และหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกใช้รถหัดเดิน เพราะนอกจากไม่ได้ช่วยลูกให้เดินได้ด้วยตัวเอง แต่กลับยิ่งทำให้ มีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้าได้ ลูกมักเดินด้วยปลายเท้า เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
วิธีสังเกตว่าพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ล่าช้าหรือเคลื่อนไหวผิดปกติหรือไม่?
แม้ว่าพัฒนาการของเด็กทารกแต่ละคนไม่เหมือนกัน เด็กบางคนอาจมีพัฒนาการบางอย่างล่าช้า แต่กลับมีพัฒนาการอีกอย่างที่พัฒนาได้รวดเร็วจนเกินไป ทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จึงได้ให้ข้อสังเกตมาว่า หากลูกอยู่ในช่วงวัยต่อไปนี้ แล้วยังไม่สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ ควรรีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและวางแผนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
- อายุ 5 เดือน แล้วยังคอไม่แข็ง
- พลิกคว่ำ พลิกหงายได้ก่อนอายุ 3 เดือน
- มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อย เช่น รู้สึกว่าลูกตัวอ่อนผิดปกติ
- มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น ตัวเกร็ง อุ้ม จัดท่าได้ยาก เวลาจับยืนแล้วปลายเท้าชอบจิกพื้น เป็นต้น
- มีการถนัดของการใช้แขนขาข้างใดข้างหนึ่งก่อนอายุ 18 เดือน
พัฒนาการของเด็กในวัยแรกเกิดจึงถึง 3 ปี เป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะบ่งบอกถึงความแข็งแรง และความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขของคุณพ่อคุณแม่ ที่ได้เห็นลูกเจริญเติบโตอย่างสมวัยอีกด้วย
อ่านต่อบทความดี ๆ ได้ที่นี่
ระวังลูกนั่งหลังโก่ง-ค่อม เสี่ยงพัฒนาการช้า!
10 กิจกรรมเล่นกับลูก เสริมสร้าง พัฒนาการทารกแรกเกิด
ฝึกลูกนั่งกระโถน ก่อนวัย 1 ขวบ ด้วย 6 เทคนิคง่ายๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่