พ่อแม่ปรับวิธีเลี้ยงลูกด่วน! 7 พฤติกรรมเด็ก ที่ควรพบจิตแพทย์
3. ชอบลักขโมย
พฤติกรรมนี้ หากเกิดในเด็กเล็ก อาจเป็นเพราะ เด็กไม่เข้าใจเรื่องความเป็นเจ้าของ และการเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้อื่น หากลูกไม่ได้รับการสอนในเรื่องนี้เพราะอาจเห็นว่ายังเล็กอยู่ ยังไม่สามารถเข้าใจได้ ก็อาจนำลูกไปสู่การทำพฤติกรรมนี้เมื่อโตขึ้นได้ พฤติกรรมการขโมยของเด็กนี้ ไม่ได้เป็นเพราะอยากได้สิ่งของที่มีค่าหรือไม่มีค่าเหล่านั้น แต่เป็นเพราะไม่สามารถยับยั้งชั่งใจต่อแรงกระตุ้นนั้น ๆ ได้
วิธีการรับมือ : คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้เด็กรู้ถึงผลจากการกระทำนี้ ว่าจะกระทบต่อสิ่งใดรอบ ๆ ตัวได้บ้าง รวมถึงกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในสังคม และควรเริ่มสอนให้ลูกรู้ขอบเขตส่วนตัวของตนและของผู้อื่น โดยต้องเคารพสิทธิส่วนตัวของลูกเองด้วย ว่าลูกก็มีสิทธิในสิ่งของของตัวเองด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การให้ความรักความเอาใจใส่กับลูก ก็จะช่วยลดพฤติกรรมนี้ได้ เพราะเมื่อลูกได้รับความรักจากพ่อแม่จนเต็มแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องหาสิ่งของอื่น ๆ มาทดแทน
4. ชอบทำร้ายตัวเอง
เช่น ตบหน้าตัวเอง เอาหัวโขกกำแพง กัดมือตัวเอง เป็นต้น สาเหตุมาจากลูกรู้สึกโกรธแต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้ ซึ่งในเด็กเล็ก อาจเป็นเพราะยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้เหมือนผู้ใหญ่ หรือรู้สึกไร้ตัวตน ไม่มีคนรักหรือสนใจ จึงต้องการเรียกร้องความสนใจ โดยการทำร้ายตัวเอง เพื่อให้พ่อแม่ เพื่อน หรือผู้อื่นแสดงความเป็นห่วงในตนเอง
วิธีการรับมือ : ในเด็กเล็ก ควรเบี่ยงเบนความสนใจลูกไปสู่สิ่งอื่น ๆ แทน เด็กส่วนใหญ่จะลืมเหตุการณ์ตรงนั้นแล้วสนใจสิ่งใหม่ ๆ ได้ สำหรับเด็กโต ควรสร้างความไว้วางใจ ทำให้ลูกเห็นว่าพ่อแม่เป็นที่พึ่งให้ลูกได้ พ่อแม่เห็นคุณค่าในตัวลูกเสมอ โดยหากลูกรู้สึกไร้ตัวตปรับความคิดลูกให้ไว้ใจคนรอบข้าง และที่สำคัญคือพ่อแม่ก็ต้องเป็นที่พึ่งให้ลูก ในยามที่ลูกรู้สึกไร้คุณค่า และควรหากิจกรรมให้ลูก โดยการพาลูกไประบายความรู้สึกผ่านการเล่นกีฬา ให้ได้ทำกิจกรรมที่ได้ออกแรง เพื่อผ่อนคลายความเครียด
5. กลัวหรือหลีกหนีสังคม
เป็นโรควิตกกังวลกลัวชนิดหนึ่งที่เกิดจากความหวาดกลัวว่าจะถูกประเมินในแง่ลบจากผู้อื่น กลัวว่าตนเองจะทำอะไรที่น่าอายต่อหน้าผู้อื่น วิตกกังวลว่าตัวเองจะเผลอทำพลาดให้ต้องอับอาย กลัวต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนรอบข้าง ซึ่งดูเหมือนอาการตื่นเต้นทั่วไปในคนปกติ แต่สำหรับเด็กที่เป็นโรคกลัวการเข้าสังคมจะประหม่ามากและไม่สามารถบังคับตัวเองให้ไม่ขลาดกลัวการเข้าสังคมได้ และมักจะพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมและมีความกลัวถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
วิธีการรับมือ : เพิ่มความมั่นใจในตัวเองให้กับลูก และส่งเสริมให้ลูกกล้าเข้าสังคม ฝึกทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ทักษะการผ่อนคลายความเครียดความวิตกกังวล ทักษะการพูดต่อหน้าสาธารณะ ทักษะการเผชิญกับสิ่งใหม่ให้กับลูก
6. มีพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ
สำหรับพฤติกรรมการลอกเลียนแบบในเด็กเล็กนั้น เป็นเพราะต้องการลองทำ และเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก แต่หากเกิดขึ้นในเด็กโต พฤติกรรมการลอกเลียนแบบที่เป็นปัญหาคือ การลอกเลียนแบบทุกการกระทำของสิ่งที่ลูกสนใจ จนไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งที่กำลังลอกเลียนแบบอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก ควรจะทำหรือไม่ เช่นการใช้ภาษาที่ผิดแปลกตากการ์ตูนที่ลูกดู การเลียนเสียงการ์ตูนที่ชื่นชอบ เป็นต้น เด็กที่มีพฤติกรรมนี้ มักจะขาดปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว เอาแต่ใจ หรือก้าวร้าวเมื่อถูกขัดใจ
วิธีการรับมือ : พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก เพื่อให้ลูกได้ลอกเลียนแบบ และควรคัดกรองสื่อที่ลูกดูให้ดี ไม่ควรให้ลูกดูสื่อที่มีความรุนแรง หรือสื่อที่ไม่เหมาะสมกับวัยของลูก และเมื่อลูกกำลังดูการ์ตูนหรือสื่ออื่น ๆ อยู่ ควรนั่งอยู่ข้าง ๆ ลูกและดูไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่จะคอยสอนว่าพฤติกรรมใดบ้างที่ไม่ควรลอกเลียนแบบ
7. โรคซืมเศร้า
เป็นโรคที่เด็กก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอาการของโรคนี้ จะทำให้เด็กวิตกกังวลมาก ๆ จนส่งผลถึงชีวิตประจำวัน เช่น กินไม่ได้ หรือกินเยอะตลอดเวลา นอนไม่หลับ หรือรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา และไม่มีความสุข
วิธีการรับมือ: โรคซึมเศร้าควรได้รับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกวิธี หากสงสัยว่าลูกเข้าข่ายที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ไม่ควรรักษาหรือรับมือเอง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
พฤติกรรมเด็ก เหล่านี้ สามารถรับมือได้หากพฤติกรรมนั้น ๆ ยังไม่รุนแรงมาก โดยคุณพ่อคุณแม่ควรปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดู สภาพแวดลอมในครอบครัวให้ดีขึ้น แต่หากปรับเปลี่ยนแล้ว ยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้พาลูกและตนเองไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
วิจัยเผย! แท้จริงแล้ว..ระหว่างพ่อ vs แม่ ลูกนิสัยเหมือนใคร?
ฝึกระเบียบลูก ทั้งที ต้องฝึกให้เหมาะสมกับนิสัย
ลูกติดจอ ติดมือถือ แก้ได้ด้วยกฎ 3 ต้อง 3 ไม่
ข้อมูลอ้างอิงจาก : honestdocs.co, พ.ญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, โรงพยาบาลพระราม 9, โรงพยาบาลพญาไท
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่