ควรให้นมลูกแต่ละครั้งจะให้นานแค่ไหน?
ทารกบางคนอาจจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที แต่ทารกบางคนอาจจะใช้เวลามากกว่านั้น บางคนก็หลับในขณะที่ดูดนม ดังนั้นคุณแม่ต้องสังเกตลักษณะการดูดนมของลูกจะได้รู้ว่าเมื่อไรเด็กหิวเมื่อไรเด็กอิ่มแล้ว การให้นมควรจะสลับข้าง ควรจะสลับข้างที่ให้เป็นครั้งแรก เช่นมื้อที่แล้วให้เต้าขวาเป็นเต้าแรก มื้อนี้ควรจะให้เต้าข้างซ้ายก่อน ลูกอาจจะชอบดูเต้าข้างใดข้างหนึ่งอาจจะใช้เวลาดูดนานกว่าอีกข้างหนึ่งก็ไม่เป็นไรหากมีธุระหรืออยากจะหยุดการให้นม อย่าดึงหัวนมขณะเด็กกำลังดูดนม ให้เอานิ้วแหย่เข้าที่มุมปากเด็กแล้วจึงดึงหัวนมออก
♥ Must read : หลัก 3 ดูด + เข้าเต้า สูตรเด็ดให้นมแม่ได้สำเร็จและยาวนาน
แม่จะรู้ได้ไงว่าลูกกินนมอิ่มแล้ว?
หากให้ลูกดูดนมจากขวดนมก็สามารถวัดได้ง่ายเพราะมีจำนวนออนซ์แสดงไว้บนขวดนม สำหรับกรณีให้ลูกดูดนมจากอกแม่เอง ก็สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ค่ะ โดยสังเกตจากปริมาณปัสสาวะและอุจจาระที่ลูกปล่อยออกมาได้โดยปกติหากลูกได้รับน้ำนมในปริมาณที่พอเพียงก็จะปัสสาวะบ่อยมาก ถ้าใช้เป็นผ้าอ้อมแบบเดิม (ผ้าอ้อมที่มาจากผ้าฝ้ายไม่ใช่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป) ก็จะเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกอย่างน้อยสัก 6-7 ครั้งต่อวันเป็นอย่างน้อย ก็ถือว่าเป็นปกติค่ะ ส่วนเรื่องอุจจาระก็จะมีลักษณะเหลืองๆ เหนียวๆ หรืออาจจะถ่ายอุจจาระวันเว้นวันก็เป็นเรื่องปกตินะค่ะ (กรณีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่)
คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยให้ลูกดูดนมจากอกแม่โดยตรง ไม่ควรกังวลมากเกินไปว่าลูกเราวันนี้กินนมไปมากแค่ไหนแล้วในวันนี้ แค่ให้เขาได้กินนมทุกครั้งที่เขาหิว ตัวคุณแม่ก็จะรู้ได้เองค่ะว่าลูกได้รับน้ำนมพอหรือไม่ ตราบใดที่เขายังปัสสาวะทุกครั้งเมื่อได้กินนม ปากของเขาไม่แห้ง และเมื่อดวงตาของเขาไม่ดูอิดโรย
นอกจากนั้นหากเราเลี้ยงลูกโดยให้เขาดูดนมจากอกของเรานั้น จะสังเกตได้ว่า ลูกจะดูดนมทั้ง 2 ข้างจนหมด และยังสามารถสังเกตได้หลังจากที่เขาดูดนมเสร็จแล้ว เขาจะแสดงท่าทีพอใจและอารมณ์ดีขึ้น มีความสุขหลังจากกินนม นั้นก็แปลว่าเขาอิ่มแล้วค่ะ
อาการเมื่อลูกอิ่มที่มักพบ
- จะไม่สนใจอาหารที่ป้อนอีกต่อไป
- หยุดจะขยับปากงับหัวนมของคุณแม่
- เริ่มผ่อนคลาย สงบลง และมักจะหลับ
แต่ทั้งนี้เมื่อลูกเติบโตขึ้น บางครั้งลูกร้องก็อาจจะไม่ใช่การร้องเพราะหิวเสมอไป บางครั้งลูกอาจจะร้องเพราะผวา ฝันร้าย รวมถึงตกใจเพราะเสียงรอบข้างดังเป็นต้น แต่เราก็ยังสามารถสังเกตได้จากอาการของลูกดังกล่าว รวมถึงดูเวลาว่าห่างจากการกินนมครั้งก่อนแค่ไหนแล้วก็ได้เช่นกัน
ดังนั้นถ้าคุณแม่ไม่แน่ใจว่า ลูกหิวหรือยัง ดูแล้วพุงลูกยังแฟบหรือยังป่องไม่มาก และลูกก็ยังไม่มีอาการของ overfeeding การนำลูกมาเข้าเต้าเพื่อดูดนมก็ไม่ได้มีผลเสียอย่างไร เพราะนอกจากลูกจะได้รับน้ำนมแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้คุณแม่สร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างความอบอุ่นและความไว้วางใจที่ลูกมีต่อคุณแม่อีกด้วย การอุ้มลูกหรือให้ลูกดูดเต้าบ่อยๆ ไม่ได้ทำให้ลูกนิสัยเสียหรือเป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง และไม่ได้ทำให้ลูกกลายเป็นลูกแหง่พึ่งพาตัวเองไม่ได้
ขอเชิญคุณแม่ตั้งครรภ์ และมีลูกวัย 0-6 ปี ร่วมฟังเสวนาฟรี! ในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 สมัครด่วนจำนวนจำกัด!!
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งล่วงหน้า ได้ที่ https://bit.ly/2Sek03w
ลูกน้อยอาจไม่ได้หิวมากอย่างที่คุณคิด!
เด็กบางคนจะชอบดูดนมเพื่อความอุ่นใจ สบายใจ และทำเหมือนว่ายังไม่อิ่ม ทั้งที่นอกจากการดื่มนมแล้ว การกอดหรือการตอบสนองลูกด้วยวิธีอื่นจะช่วยให้ลูกรู้สึกอบอุ่นได้เช่นกัน
ทั้งนี้อยากจะฝากบอกถึงคุณแม่มือใหม่ทุกคนให้รู้ว่า ธรรมชาติสร้างสัญชาตญาณเหล่านี้มาเพื่อเรียกร้องให้คุณแม่อุ้มลูกบ่อยๆ ให้ลูกดูดนมแม่บ่อยๆ ใกล้ชิดลูกตลอดเวลา ไม่ทอดทิ้งลูกไปทำงานอย่างอื่นในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ จนกว่าจะถึงวัยที่ลูกเริ่มปรับตัวได้กับโลกใบใหม่ได้แล้ว อีกไม่นานหรอกค่ะ ลูกก็จะเป็นเด็กเลี้ยงง่ายอารมณ์ดีแน่นอนค่ะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- คลิปสุดน่ารัก ^_^ ทารกร้องงอแงหิวนม แก้หิวโดยอาศัยเพื่อนข้างๆ
- สัญชาตญาณการดูดนมแม่ของทารก
- ลูกทารกกินนมมากเกินไปไหม
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.facebook.com/SuthiRaXeuxPhirocnKic/photos/pb.591075960918555.-2207520000.1492561210./1896515787041226/?type=3&theater
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.siamhealth.net , www.babytrick.com