หัวนมบอด แก้ได้
และแม้ว่าหัวนมบอดจะไม่มีอันตรายใด ๆ และไม่ส่งผลเสียใดๆ ต่อร่างกาย แต่อาจเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการให้นมลูกของคุณแม่หลายคนได้ ดังนั้นวันนี้เราจึงนำเทคนิคการแก้ปัญหา “หัวนมบอด” มาฝากกัน ดังต่อไปนี้ค่ะ
1. สร้างความมั่นใจให้คุณแม่
เมื่อคุณแม่ยังอยู่ทีโรงพยาบาลหลังจากคลอดแล้ว พยาบาลต้องให้ความมั่นใจต่อแม่ที่มีหัวนมสั้นหรือหัวนมบอดว่า สามารถให้ลูกดูดนมได้ เพราะถ้าหากขั้นตอนแรกในการอมหัวนมทำได้ดี การที่ลูกดูดนมบ่อย ๆ ก็สามารถแก้ไขภาวะหัวนมบอดได้ การฝึกให้ลูกดูดนมอย่างถูกวิธีตั้งแต่แรก โดยให้ทารกเกิดใหม่ที่มีความตื่นตัว และสามารถอมหัวนมและดูดได้ดีตั้งแต่ต้น จะเป็นทางแก้ไขปัญหาหัวนมบอดได้ดีที่สุด โดยฝึกให้ทารกเรียนรู้วิธีการดูดนมอย่างถูกต้องในช่วงวันสองวันแรกที่เขา เกิดมา
♥ ข้อควรรู้ : วิธีดูดนมของทารกที่ถูกต้อง
– พยายามให้ลูกอ้าปากกว้าง ๆ ใช้หัวนมแตะที่จมูก หรือริมฝีปากลูก เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปาก
– เมื่อลูกอ้าปาก ประคองศีรษะลูกเข้ามาที่หน้าอก ให้คางและริมฝีปากล่างของลูกสัมผัสเต้านมก่อน ควรตรวจดูว่าลูกอมลานหัวนมได้ลึกดีพอ
– อย่าลืมว่าต้องอุ้มลูกเข้ามาหาอกแม่ ไม่ใช่ก้มตัวแม่ไปหาปากลูก
– การดูดที่ถูกต้อง ลูกจะต้องดูดแล้วใช้เหงือกกดทับบนลานหัวนม คือ บริเวณวงสีคล้ำรอบหัวนม เป็นส่วนที่ลูกจะอมเข้าไปด้วยเมื่อ ดูดนมไม่ใช่งับเฉพาะหัวนม ซึ่งเป็นที่เก็บน้ำนมอยู่
– กล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร และ ลิ้นของลูกจะทำหน้าที่ประสานกันเพื่อดูดนม คุณแม่จะสังเกต เห็นขมับและหูของลูกขยับเป็นจังหวะตามการดูด แสดงว่า กล้ามเนื้อขากรรไกรกำลังทำงาน
2. ใช้สองมือสร้างหัวนม
“สร้าง” หัวนมขึ้นมา ด้วยเทคนิคการบีบเต้านมเข้าหากัน เพื่อให้เนื้อเยื่อบริเวณรอบหัวนมยื่นออกมามากขึ้น จากนั้นจึงดึงหัวนมขึ้น โดยหมั่นทำเป็นประจำวันละ 20 ครั้ง จะช่วยให้หัวนมขึ้นมาได้ แต่เป็นวิธีที่ต้องอาศัยเวลาสักหน่อย แล้ว ระหว่างลูกดูด คุณแม่ควรประคองเต้านมโดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบนและนิ้วอื่นๆ อยู่ด้านล่าง กดนิ้วลงพร้อมกับรั้งเต้านมเข้าหาตัว วิธีนี้จะทำให้ลานนมยื่นออกมาและช่วยให้ทารกอมลานนมได้ง่ายขึ้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
3. ที่ปั้มนมช่วยได้
ใช้ที่ปั๊มนม เพื่อช่วยดึงหัวนมให้ยื่นออกมาก่อนจะให้นมลูก โรงพยาบาลหลายแห่งมักมีที่ปั๊มนมไฟฟ้าคุณภาพดีไว้ให้บริการ ซึ่งหากใช้ถูกวิธี ถือเป็นเครื่องมือผู้ช่วยชั้นดีในการดึงหัวนมให้ยื่นออกมาโดยไม่ทำให้เจ็บ
4. ใช้อุปกรณ์ช่วยดึงหัวนม
เป็นอุปกรณ์ที่คิดค้นมาเพื่อแก้ไขปัญหา หัวนมบอดโดยเฉพาะเลยทีเดียว โดยจะช่วยดึงหัวนมให้ขึ้นมาตามปกติ ซึ่งเป็นวิธีในการแก้ไขที่ดี แต่ต้องใช้ระยะเวลา ดังนั้นใครที่จะใช้วิธีนี้จึงต้องมีความอดทนสูงมากเลยทีเดียว การใช้อุปกรณ์ช่วยดึงหัวนมคุณแม่อาจจะใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าปั๊มเพื่อดึงหัว นมออกมาก็ได้ และมีอีกชนิดหนึ่ง คือ ลูกยางแดง ดึงหัวนมทุกวัน วันละ 2 ครั้ง หลังอาบน้ำเช้า เย็น ประมาณข้างละ 10 นาที วิธีการนี้จะช่วยดึงหัวนมของคุณแม่ได้ค่ะ
5. อุปกรณ์กดลานนม
ลองสวมปทุมแก้ว เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้คุณแม่ที่มีหัวนมแบนหรือบุ๋ม ปทุมแก้วทำจากพลาสติกและมีสองส่วน ส่วนแรกมีรูตรงกลางเพื่อให้หัวนมยื่นออกมาเมื่อสวมใส่ กับอีกส่วนหนึ่งเป็นทรงกลมซึ่งจะพอเหมาะพอดีเมื่อสวมเสื้อชั้นในทับ ใช้สวมใส่ในระหว่างมื้อนมหรือก่อนให้นมราวครึ่งชั่วโมง แรงกดของปทุมแก้วจะช่วยนวดผิวหนังบริเวณรอบลานนมให้นุ่มและทำให้หัวนมยื่นออกมา
ปทุมแก้วมีสองแบบ แบบหนึ่งจะมีรูกว้างใช้สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาเจ็บหัวนม แต่สำหรับกรณีหัวนมแบนหรือบุ๋ม ต้องใช้ปทุมแก้วแบบรูเล็กกว่า ซึ่งจะพอดีกับฐานนม
6. ใช้กระบอกฉีดยา 20 ml/CC.
วิธีการก็คือนำกระบอกฉีดยาขนาด 20 ซีซี แบบพลาสติก มาดึงส่วนที่เป็นก้านฉีดออก แล้วตัดส่วนปลายกระบอกฉีดออกราวครึ่งนิ้ว จากนั้นใส่ก้านฉีดเข้าไปในกระบอก ฉีดทางด้านที่ถูกตัดปลายออก นำกระบอกฉีดส่วนที่ไม่ถูกตัดปลายมาครอบหัวนมของคุณ จากนั้นค่อย ๆ ดึงก้านฉีดออกจากตัวเพื่อดึงหัวนมให้ยื่นออกก่อนจะให้นมทารก
♥ ฝึกลูกดูดถูกวิธี เพื่อชนะปัญหาหัวนมบอด
ดูเหมือนการให้ลูกดูดนมถูกวิธีเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่เกือบจะทุกปัญหาเลยทีเดียว เรื่องหัวนมบอดนี้ก็เช่นกันค่ะ
ทารกเกิดใหม่ที่มีความตื่นตัวและสามารถอมหัวนมถูกวิธีและดูดนมได้ดีตั้งแต่ต้น จะเป็นทางแก้ไขปัญหาหัวนมแบนหรือบุ๋มได้ดีที่สุด การฝึกให้ทารกเรียนรู้วิธีการดูดนมอย่างถูกต้องในช่วง 1-2 วันแรกที่เขาเกิดมา อันเป็นช่วงที่น้ำนมของคุณแม่ยังไม่ไหลนั้น จึงเป็นหัวใจสำคัญและเป็นเรื่องง่ายมากที่สมควรรีบทำให้เห็นผล ไม่อย่างนั้น อาการคัดตึงเต้านมที่เกิดขึ้นจะมีแนวโน้มทำให้หัวนมที่แบนอยู่แล้วยิ่งยุบลง ไป และทำให้ทารกดูดได้ลำบากขึ้นค่ะ
ดังนั้น คุณแม่จึงควรวางแผนให้ลูกน้อยได้มาอยู่กับคุณแม่โดยเร็วที่สุดภายหลังคลอด เพื่อที่แม่กับลูกจะได้โอกาสฝึกเรื่องการให้นมแม่และการดูดนมอย่างเต็มที่ร่วมกัน
ได้ทราบแล้วนะคะว่า หัวนมบอดไม่ใช่ปัญหาของแม่ให้นมหากรู้วิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งขณะที่คุณแม่อยู่ที่โรงพยาบาลทางเจ้าหน้าที่หรือพยาบาลจะให้คำแนะนำ เบื้องต้นขอให้คุณแม่มีความมั่นใจก่อนว่าสามารถให้นมทารกน้อยได้ด้วยการให้ ลูกดูดนมอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ยังมีตัวช่วยอื่น ๆ ที่จะแก้ไขปัญหาหัวนมบอดได้ อย่ากังวลไปเลยนะคะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ทำอย่างไรดี ? ท่อน้ำนมอุดตันเพราะ “ไวท์ดอท (white dot)” !!
- เต้านมคัด ปวดมาก แก้ไขอย่างไรดี ?
- เคล็ดลับ ทำจี๊ด !!พิ่มน้ำนมคุณแม่ให้ไหลมาเทมา (มีคลิป)
ขอบคุณข้อมูลจาก :www.skhospital.go.th , www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net ,
www.skhospital.go.th , www.breastfeedingthai.com
ขอบคุณภาพจาก : Chutymoony Singnommae