ความสูง เป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับคุณพ่อคุณแม่ว่าลูกจะตัวเตี้ยไหม ลูกสูงเท่านี้ได้มาตรฐานหรือยัง มาดู กราฟความสูง เด็กผู้หญิง และ เด็กผู้ชาย พร้อมปัจจัยที่มีผลต่อความสูงของเด็กกันค่ะ
กราฟความสูง เด็กผู้หญิง /ชาย และปัจจัยที่มีผลต่อความสูง
แน่นอนว่าเรื่องการเจริญเติบโตและความสูงในแต่ละช่วงวัยของลูกเป็นสิ่งที่คุณแม่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและเฝ้าดูอยู่เสมอ ในบางครอบครัวที่มีลูกตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจจะได้พบกับปัญหาที่ว่าทำไมมีหนึ่งคนถึงสูงไม่เท่าพี่น้อง หรือเด็กที่เมื่อถึงวัยย่างเข้าสู่วัยรุ่น เด็กๆก็จะเริ่มเปรียบเทียบความสูงกับเพื่อนในวัยเดียวกัน หากสูงไม่ทันเพื่อนก็จะทำให้เด็กรู้สึกเป็นปมด้อย คุณแม่ที่กำลังกังวลเรื่องนี้อยู่ วันนี้มีคำแนะนำดีๆมาฝากนะคะ
โดยทั่วไปเด็กเล็กตั้งแต่หนึ่งขวบไปจนถึงก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นเด็กจะมีความสูงโดยเฉลี่ย 5 – 6 เซนติเมตรต่อปี พอเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ความสูงก็จะเพิ่มเป็นประมาณ 10 เซนติเมตรต่อปีและจะหยุดสูงเมื่ออายุประมาณ 18 ถึง 20 ปี โดยเด็กบางคนอาจจะหยุดสูงได้ก่อนหน้านี้หรือบางคนอาจจะหยุดสูงหลังจากอายุ 20 ปีก็เป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างรวมถึงพันธุกรรม
ทั้งนี้เด็กผู้หญิงจะมีความแตกต่างกับเด็กผู้ชายตรงที่เด็กผู้หญิง จะเริ่มสูงช้าลงหลังจากมีประจำเดือนแล้ว
นอกเหนือจากพันธุกรรมแล้ว การขาดสารอาหารบางอย่างก็อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่เด็กไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น
ปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตจะขึ้นอยู่กับฮอร์โมนสามชนิด
- โกรทฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลังมาจากต่อมพิทูอิทารีใต้สมอง ซึ่งทำงานร่วมกันกับตับ
- IGF-1 (Insulin-like Growth Factor 1) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับ และควบคุมโดยโกรทฮอร์โมน
- ไทรอยด์ ถ้าต่อมไทรอยด์ไม่ผลิตฮอร์โมนออกมาได้เพียงพอก็จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตไม่เต็มที่
ปัจจัยที่ทำให้ลูกตัวเตี้ย
คราวนี้เรามาว่ากันถึงสาเหตุที่ว่าทำไมโกรทฮอร์โมนถึงไม่ผลิตฮอร์โมนออกมาเต็มที่
-
ได้รับธาตุสังกะสี (zinc) ไม่เพียงพอ
สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อร่างกายตั้งแต่ระบบการย่อยจนถึงการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ แต่ร่างกายของเราไม่สามารถผลิตแร่ธาตุสังกะสีขึ้นได้เองตามธรรมชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับจากจากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยอาหารที่มีแร่สังกะสีอยู่มากคือเนื้อแดงและอาหารทะเล
นอกจากการคำนึงถึงการบริโภคอาหารที่มีธาตุสังกะสีให้เพียงพอแล้วแล้ว ยังจะต้องคำนึงสาเหตุที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับธาตุสังกะสีได้อย่างเพียงพอด้วย โดยปัจจัยเหล่านั้นได้แก่ การรับประทานธัญพืชที่มีไฟเตทมากเกินไป โดยไฟเตทส่งผลกระทบทำให้การดูดซึมทั้งแร่สังกะสีและแคลเซียมลดลง รวมถึงการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และความเครียดก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายไม่สามรถดูดซึมธาตุสังกะสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปริมาณแร่ธาตุสังกะสีที่ต้องการได้รับต่อวัน (ข้อมูลจาก stanfordchildrens.org)
- เด็กอายุ 4 – 8 ปี ให้รับประทานแร่ธาตุสังกะสีได้ประมาณวันละ 5 มิลลิกรัม
- เด็กอายุ 9 – 13 ปีให้รับประทานแร่ธาตุสังกะสีได้ประมาณวันละ 8 มิลลิกรัม
- อายุ 14 – 18 ปีให้รับประทานได้ประมาณวันละ 11 มิลลิกรัม(เด็กผู้ชาย) และ 9 มิลลิกรัม(ในเด็กผู้หญิง)
- ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานวันละ 11 มิลลิกรัม
- ถ้าอยู่ในช่วงให้นมบุตรให้รับประทานสังกะสีประมาณ 12 มิลลิกรัม
อย่างไรก็ตามเราไม่ควรที่จะรับประทานอะไรมากเกินกว่าที่กำหนดโดยสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าได้รับธาตุสังกะสีในปริมาณที่มากเกินไปด้วยเช่น ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกไม่สบายท้องหรือไม่อยากอาหาร
2. การอดอาหาร
เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นอาจจะอยากมีหุ่นหอมเพรียวโดยใช้วิธีการอดอาหาร วิธีนี้จะทำให้เด็กขาดแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายโดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโปรตีนจำเป็นอย่างมากต่อการเจริญเติบโต ดังนั้นการรับประทานโปรตีนให้เพียงพอ ก็เป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้โกรทฮอร์โมนทำงานได้ดี
3. การนอน
เป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการทำงานของโกรทฮอร์โมน เพราะโกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมามากเมื่อเรานอนหลับ ยิ่งถ้าเข้าสู่ช่วงวัยกำลังโตหรือวัยรุ่น การนอนที่ไม่ดี นอนน้อยหรือนอนไม่หลับ จะไปกดการทำงานของโกรทฮอร์โมน เด็กควรจะนอนให้ได้ไม่ต่ำกว่า 7 – 9 ชั่วโมง
4. การขาดวิตามิน D
บทบาทสำคัญของวิตามิน D นอกเหนือจากการช่วยดูดซึมแคลเซี่ยมแล้ว ยังช่วยเรื่องการรักษาสมดุลการทำงานของฮอร์โมนชนิดต่างๆในร่างกายให้เป็นปรกติ ปัญหาของเด็กที่ขาดหรือได้รับวิตามิน D ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา คือการอยู่แต่บ้านที่ทำให้เด็กเปลี่ยนพฤติกรรมหันไปสนใจกับเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น การไม่ได้ออกไปรับแสงแดดนอกบ้าน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบกับการส่งเสริมการทำงานของโกรทฮอร์โมน ดังนั้นเด็กควรจะได้ออกนอกบ้านไปรับแสงแดดอ่อนๆในตอนเช้า หรือช่วงเย็นที่แสงแดดไม่แรงมากในทุกๆวัน สำหรับแหล่งอาหารที่มีวิตามิน D ได้แก่ ไข่ ตับ นม(ที่มีผสมวิตามิน D) และโยเกิร์ตเป็นต้น ปริมาณวิตามิน D ที่เด็กอายุมากกว่า 1 ปี ควรได้รับต่อวันคือ 600 – 1000 IU
อ่านต่อ…กราฟความสูง เด็กผู้หญิง /ชาย และปัจจัยที่มีผลต่อความสูง คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่