แม่ตีลูก ผิดกฎหมายแน่! ญี่ปุ่นชงมาตรการห้ามทำโทษลูกแล้ว - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids

แม่ตีลูก ผิดกฎหมายแน่! ญี่ปุ่นชงมาตรการห้ามทำโทษลูกแล้ว

Alternative Textaccount_circle
event

เทคนิคทำโทษลูกแบบไม่ต้องตี แต่ได้ผลดี

  1. เทคนิค “เพิกเฉย”

วิธีนี้เหมาะที่จะใช้กับเด็กเล็ก การไม่ให้ความสนใจในพฤติกรรมไม่ดี เช่น เมื่อเด็กร้องโวยวาย กรี๊ด ลงไปนอนที่พื้น ตีหรือทำร้ายพ่อแม่ โก่งคออาเจียน พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่เด็กต้องการเรียกร้องความสนใจ และต้องการให้พ่อแม่ตามใจ เมื่อไรก็ตามที่พ่อแม่โอ๋ ปลอบ หรือยอมทำตามสิ่งที่ลูกต้องการ เด็กจะเรียนรู้ได้ว่าการทำแบบนี้จะทำให้พ่อแม่ตามใจ ก็จะยิ่งทำพฤติกรรมเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หากคุณพ่อคุณแม่แน่ใจแล้วว่าพฤติกรรมไม่ดีที่ลูกทำนั้นเป็นเพราะการเรียกร้องความสนใจ และแน่ใจแล้วว่าบริเวณที่ลูกจะร้องโวยวายนั้นปลอดภัยเพียงพอ ก็สามารถใช้เทคนิคเพิกเฉยได้ โดยข้อแม้ในการเพิกเฉยนั่นคือการไม่เดินหนีหายไป ควรอยู่ข้าง ๆ ลูก แต่ไม่ควรสนใจในสิ่งที่ลูกกำลังทำ เทคนิคนี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่ทารกวัยก่อน 1 ขวบเป็นต้นไป เช่นเวลาที่เด็กทารกตีหน้าแม่ ทำให้เจ็บ เด็กจะถูกวางลงที่พื้นทันที เป็นการลงโทษด้วยการถูกแยกจากแม่ พ่อแม่ที่ใช้วิธีนี้เมื่อเกิดพฤติกรรมคุกคาม จะช่วยให้ทารกควบคุมตัวเองได้ ที่จริงแล้วเด็กทำพฤติกรรมเหล่านี้เพื่อเรียกร้องความสนใจ ดังนั้นหากพ่อแม่ตอบสนองโดยการไม่สนใจลูกทันทีที่เขาทำสิ่งไม่ดี เป็นเวลา 2-3 นาที จะช่วยให้เขาเรียนรู้ว่าพฤติกรรมนี้ไม่ควรทำอีก เมื่อใช้เทคนิคนี้เหตุการณ์ แม่ตีลูก ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก

time out
การ Time Out เป็นเทคนิคที่นำมาใช้แทนการตี

2. เทคนิค “Time Out”

แม่พริมามักจะใช้วิธีนี้เมื่อลูกทำผิด ทำได้โดย เมื่อลูกทำผิดและเริ่มควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ทั้งจากความโกรธ และความต้องการเอาชนะ พ่อแม่ควรให้ลูกไปอยู่ในที่เงียบ ๆ ที่ไม่มีสิ่งดึงดูดความสนใจ (บริเวณที่ Time Out นั้น ควรจะเป็นสถานที่ ๆ ปลอดภัย ไม่มืด และคุณแม่สามารถมองเห็นได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับสถานที่แคบ ถูกปิดตาย และที่ ๆ มืด) ทั้งนี้เพื่อให้ลูกได้ทบทวนการกระทำของตัวเอง ซึ่งระยะเวลาที่ปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียว เพื่อทบทวนความผิดของตัวเองนั้นขึ้นอยู่กับอายุของลูก เช่น 1 นาที ต่อ 1 ขวบ หรือจนกว่าลูกจะสงบสติอารมณ์ตัวเองได้ โดยก่อนที่จะเริ่ม Time Out ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าที่ลูกต้องถูก Time Out เพราะอะไร วิธีนี้ดูเหมือนง่าย แต่ก็ไม่ได้ง่ายกับเด็กทุกคน แต่รับรองว่าสามารถช่วยให้ลูกได้รู้จักควบคุมตัวเองได้ดี และยังยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้นอีกด้วย และเมื่อ Time Out ครบตามเวลาที่กำหนดแล้ว ในเวลานั้นลูกก็จะสามารถสงบสติอารมณ์ตนเองได้แล้ว (รวมถึงตัวคุณแม่เองด้วย ที่อาจจะสงบสติอารมณ์ของตนเองได้แล้วเช่นกัน) คุณพ่อคุณแม่ควรคุยกับลูกอีกครั้งโดยในครั้งนี้ควรสอนลูกด้วยเหตุผล

3. เทคนิค “สอนด้วยเหตุผล”

เราอาจจะคุ้นเคยกับบรรยากาศที่พ่อแม่ชอบบ่นด่าลูกด้วยคำพูดเสียงดังและไม่สุภาพ เมื่อลูกตัวเองทำผิด แต่การใช้วิธีแบบนี้จะทำให้ลูกเรียนรู้ว่าการใช้วาจาที่เสียงดังและไม่สุภาพอย่างที่พ่อแม่ทำนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้เมื่อโกรธ หรือ เมื่อเห็นใครทำผิด เด็กก็เหมือนกระจกเงาที่สะท้อนตัวเรานั่นเองค่ะ ดังนั้นควรสอนและตักเตือนด้วยเหตุผล ควรบอกพวกเขาให้รู้ว่าทำไมสิ่งที่พวกเขาทำลงไปถึงผิด ผิดอย่างไร แล้วต้องแก้ไขอย่างไร การตักเตือนลูกด้วยวาจาที่สุภาพและมีเหตุผลประกอบ ควรมาพร้อมการให้คำแนะนำที่ดี เพื่อให้พวกเขาได้ปรับปรุงตัวเองในวันต่อไป และที่สำคัญลูก ๆ จะสัมผัสได้ว่าการตักเตือนของพ่อแม่คือ การมอบความรักและความหวังดี ไม่ใช่เพราะพ่อแม่โกรธลูก

4. เทคนิค “ทำผิดต้องปรับ”

เทคนิคนี้ เหมาะกับเด็กโตที่พอจะพูดคุยกันเข้าใจได้แล้ว โดยเด็กวัยนี้จะเริ่มมีกิจกรรม สิ่งของ หรือสิ่งที่อยากได้แล้ว วิธีนี้จึงใช้การการตัดสิทธิ์ที่เคยมีเคยได้ หรือ ปรับเป็นเงินหรือสิ่งของที่เป็นของ ๆ โดยก่อนการปรับหรือทำโทษ ควรมีการพูดคุยตกลงกับเด็กว่า เราจะใช้วิธีนี้ในการปรับพฤติกรรม เช่น การงดการดูการ์ตูนที่ชอบ หรืองดขน หรือ การตัดค่าขนมเด็กเมื่อเด็กทำผิด เป็นต้น ซึ่งมูลค่าหรือระยะเวลาในการปรับ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมและการตกลงกัน การทำโทษวิธีนี้จะทำให้เด็กเรียนรู้ว่าทำผิดแล้วต้องรับผิดชอบ และทีหลังถ้าไม่อยากเสียอะไรไปต้องไม่ทำผิดอีก

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำโทษด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การตีนั้น คือการไม่ใช้อารมณ์ในการทำโทษ สิ่งที่ควรคำนึงไว้เสมอคือคนที่เรากำลังทำโทษอยู่นั้นคือลูกของเราเอง แม่ตีลูก ลูกเจ็บแม่ก็เจ็บ การใช้อารมณ์ในการทำโทษคนที่เรารักนั้น ไม่เป็นผลดีทั้งกับผู้ที่ถูกทำโทษและผู้ที่ทำโทษทั้งคู่นะคะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

วิธีการทำ CPR 3 ขั้นตอนง่ายๆ ช่วยชีวิตได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

ลูกเข้าสู่ วัยทอง 2 ขวบ งอแงไร้เหตุผล เพราะอะไรต้องดู!

หมอชี้! วิธีปราบ เด็กร้องไห้ ลูกร้องแบบไหนเรียกเอาแต่ใจ

รวม 84 พฤติกรรม “ทำร้ายจิตใจลูก” สร้างบาดแผลในใจให้ลูกไปจนโต

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.sanook.com, ป้าหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, เพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up