5 พฤติกรรมผิดๆ ของเด็ก ที่ทำให้ "ฟันสบกัน" ผิดปกติ - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ฟันสบกัน

5 พฤติกรรมผิดๆ ของเด็ก ที่ทำให้ “ฟันสบกัน” ผิดปกติ

Alternative Textaccount_circle
event
ฟันสบกัน
ฟันสบกัน

5 พฤติกรรมผิดๆ ของเด็ก ที่ทำให้ “ฟันสบกัน”

การดูดนิ้ว (Thumb or Finger Sucking) เด็กมักเลิกพฤติกรรมนี้ได้เองเมื่อโตขึ้น แต่หากอายุเกิน 5 ปีแล้วยังคงดูดนิ้วอยู่ อาจทำให้ฟันหน้ายื่นหรือฟันหน้าไม่สบกันได้

การกัดริมฝีปาก (Lip Biting) จะทำให้ฟันหน้ายื่น

การกัดเล็บ (Nail Biting) จะทำให้ฟันสึกมากกว่าปกติ

การใช้ลิ้นดุนฟัน (Tongue Thrust) ทำให้เกิดพฤติกรรมการกลืนผิดปกติ ลิ้นจะดันฟันหน้าขณะกลืนอาหาร ทำให้ฟันหน้ายื่น ฟันห่าง หหรือฟันหน้าไม่สบกันได้

การหายใจทางปาก (Mount Breathing) ทำให้ฟันหน้ายื่น ฟันหน้าไม่สบ หรือใบหน้ายาวผิดปกติ

การสบฟัน
การสบฟัน

ประเภทของฟันสบ

  • ฟันหน้าสบไขว้หรือฟันกัดคล่อม

เป็นลักษณะของฟันหน้าด้านบนเกิดการสบไขว้ และยื่นไปข้างหน้า ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุที่สัมพันธ์กับความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรบน และล่าง จนทำให้เกิดแนวฟันที่ผิดปกติ ผลที่ตามมาจะทำให้เกิดการเจริญเติบโตของขากรรไกรผิดปกติ กระดูกเบ้าฟันเบ้าลึก มีการสึกของฟันบริเวณฟันใกล้ริมฝีปาก โดยเฉพาะฟันตัด รวมถึงอาจทำให้เกิดโรคปริทันต์หรือฟันอักเสบจากแรงสบฟันขณะเคี้ยวอาหารหรือการเคลื่อนไหวในปาก

  • ฟันหลังสบไขว้หรือฟันกัดเบี้ยว

เป็นลักษณะของฟันหลังที่มีการสบไขว้ร่วมกับขากรรไกร โดยพบเกิดมากบริเวณฟันเขี้ยว ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ การดูดนิ้ว การดูดหัวนมปลอม การสบสะดุด เป็นต้น จนทำให้เกิดการเอียงเบนของขากรรไกรล่างไปด้านหน้าหรือด้านข้าง การเบนเอียงของขากรรไกรล่างไปด้านข้างมีผลทำให้เส้นกึ่งกลางของฟันเบนเอียงไปด้วย กระดูกขากรรไกรรอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สมดุล และคางเอียงไปด้านของฟันสบ จนมีผลทำให้ใบหน้ามีรูปร่างไม่สมดุล

  • ฟันสบลึก

เป็นลักษณะของแนวฟันหน้ายื่นเข้าด้านใน เกิดได้บ่อยในระยะฟันน้ำนมเนื่องจากแนวฟันน้ำนมที่มีลักษณะตั้งตรงจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อฟันกรามแท้งอกขึ้น ผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหามากจะมีผลต่อการทำงานของกระดูกขากรรไกร และกล้ามเนื้อ มีอาการเกิดการสบกันของฟันหน้าล่างกับเนื้อเยื่อเพดาน

  • ฟันหน้าเปิด

เป็นลักษณะของฟันหน้าทั้งด้านบน และด้านล่างไม่ประกบชิดกันจนทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันบน และฟันล่าง ซึ่งเกิดจากการเจริญผิดปกติของขากรรไกรจากการดูดนิ้ว ดูดหัวนมปลอม และสาเหตุอื่น มีผลต่อการกัด และการบดเคี้ยวอาหาร

  • ฟันซ้อนเก

เป็นลักษณะของฟันที่เกิดการซ้อนทับกันอันเกิดจากสาเหตุความผิดปกติระหว่างขนาดของฟัน และส่วนโค้งของแนวฟัน ความไม่สัมพันธ์ของนาดฟันบน และฟันล่าง การสูญเสียช่องว่างจากฟันน้ำนมผุ ฟันน้ำนมหลุดก่อนกำหนด รวมถึงการใช้วัสดุทันตกรรมที่ไม่สมบูรณ์ ลักษณะฟันสบนี้หากไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสเกิดโรคปริทันต์ได้ง่าย รวมถึงเกิดความลำบาก และยากต่อการจัดฟันด้วย

  • ฟันห่างหรือฟันมีช่องว่าง

เป็นลักษณะของฟันที่เกิดมีช่องว่างระหว่างฟันมาก มักพบในฟันตัดบน โดยมีสาเหตุมาจากการพัฒนาที่ผิดปกติในระยะฟันผสมระยะแรก

  • ฟันยื่น

เป็นลักษณะของฟันบนที่ยื่นออกมาด้านหน้า มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว และริมฝีปากบนสั้น หากไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุต่อฟันหน้าบนได้ง่ายเนื่องจากมีลักษณะยื่นออกมามาก นอกจากนั้น ยังมีปัญหาต่อความสวยความงามของฟัน และใบหน้าด้านข้าง

ปัญหาเกี่ยวกับช่องปากและฟัน ไม่ควรรอให้ลูกโตก่อนหรือรอให้ฟันแท้ขึ้นให้ครบก่อน ค่อยไปรักษาทีเดียว เพราะหากลูกมีปัญหาการสบฟัน และไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้มีผลกระทบต่อรูปหน้าและการบดเคี้ยวอาหารเมื่อลูกโตขึ้นได้ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกอาจจะเข้าข่ายว่าลูกอาจจะมี ฟันสบกัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษาและหาวิธีดูแลต่อไป

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ลูกฟันผุ เรื่องไม่เล็ก โทษเยอะเกินคาดคิด!

ลำดับการขึ้นของฟัน และวิธีดูแลฟันลูกอย่างถูกวิธีตั้งแต่ซี่แรก

แปรงฟันแห้ง ช่วยป้องกันฟันผุได้จริง (มีคลิป)

ทันตาภิบาลเตือน! พบ เด็กฟันผุ ทะลุโพรงประสาทฟันจนติดเชื้อ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล, thaihealthlife.co

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up