แม่ดุลูก ถูกวิธี ด้วยหลัก 6 ข้อนี้เห็นผลดีแน่นอน - amarinbabyandkids
แม่ดุลูก

แม่ดุลูก ถูกวิธี เห็นผลดีแน่นอน!

event
แม่ดุลูก
แม่ดุลูก

แม่ดุลูก

3. ทำให้ลูกมีพัฒนาการบกพร่อง

พ่อแม่ที่ชอบ ดุลูก หรือใช้อำนาจกับลูกบ่อยๆ จะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่มีความผิดปกติในบุคลิกภาพ ดังนี้
• เป็นคนขี้กลัว ขี้วิตกกังวล
• เป็นคนไม่มีเหตุผล ทำอะไรตามอารมณ์
• ก้าวร้าว รุนแรง ตัดสินใจด้วยกำลังมากกว่าความคิด
• สมยอมง่าย ไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าเปิดเผย
• ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
• ไม่รู้จักประนีประนอม ไม่ปรับตัวเข้ากับคนอื่น
• ขาดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

พัฒนาการที่บกพร่องนี้จะกลายเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ขาดความสุขในชีวิต และมีแนวโน้มจะเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้มากกว่าเด็กปกติ

สถานการณ์ใดที่ควร ดุ หรือใช้อำนาจกับลูก

  • พ่อแม่ควรดุหรือใช้อำนาจของตนในการกำหนดขอบเขตเพื่อให้ลูกปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อคนอื่น หรือเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือส่วนรวมและเสริมพัฒนาการทางด้านดี แต่ก็ไม่ควรใช่ความก้าวร้าวรุนแรง ควรใช้ความหนักแน่น เอาจริง อย่างสงบ
  • เมื่อลูกโตขึ้น กฎเกณฑ์และกติกา ซึ่งเป็นขอบเขตจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย อย่าลืมว่าข้อบังคับที่เข้มงวดเกินไปอาจเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ด้วย
  • ในวัยรุ่น กติกาต่างๆ ต้องยืดหยุ่นมากขึ้นไปอีก และควรมีการประนีประนอมกันเสมอ
  • บางสถานการณ์แทนที่จะใช้อำนาจตัดสิน ก็อาจใช้วิธีเกลี้ยกล่อมจูงใจ ชี้แจงอย่างจริงจังแต่นุ่มนวล ไม่เป็นการพยายามเอาชนะกันทางความคิดแต่ฝ่ายเดียว เด็กก็รับฟังและเชื่อผู้ใหญ่เหมือนกัน
  • บางเหตุการณ์พ่อแม่อาจคาดล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดผลเสียอย่างรุนแรง แต่เด็กอาจไม่ยอมรับและจะทำทันที กรณีนี้พ่อแม่อาจใช้อำนาจเพื่อหยุดยั้งเขาก่อน แต่หลังจากนั้นแล้วควรมีการพูดคุยกันจนเขารู้สึกยอมรับได้ (อย่างจริงใจ มิใช่จำใจยอมรับ)

ปัญหาใหญ่จะเกิดเมื่อพ่อแม่มักคิดว่าปัญหาเรื่องเล็กน้อยทุกเรื่องเป็นเรื่องใหญ่ไปหมด และจะใช้แต่อำนาจจัดการอย่างเดียว แบบนี้จะเป็นปัญหาให้เด็กไม่ยอมรับได้มากๆ เด็กจะไม่ยอมพ่อแม่ พ่อแม่ก็ยิ่งไม่ยอมกับเด็ก ในที่สุดก็โกรธกันไม่พูดกัน หลังจากนั้นเด็กก็จะมีแนวโน้มไม่ฟังผู้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทางออกที่ดีคือควรเลือกใช้อำนาจกับเรื่องที่รุนแรงจริงๆ เท่านั้น เหตุการณ์อื่นๆ ที่ไม่น่ากลัวควรหาวิธีการแบบนั้น ที่ไม่น่ากลัวควรหาวิธีการแก้ไขแบบอื่น เช่น การจูงใจ แนะนำมากกว่าการใช้อำนาจ

ทั้งนี้จิตแพทย์ยังกล่าวอีกว่า การขึ้นเสียง หรือส่งเสียงดังเพื่อดึงความสนใจให้ลูกฟังหรือเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ผล เพราะการทำเช่นนั้น เป็นเหมือนการปิดประตูการสื่อสาร

โดยนักจิตวิทยาแนะนำว่า เมื่อใดก็ตามที่ลูกเริ่มแผลงฤทธิ์ ทางที่ดีให้คุณพ่อคุณแม่ใช้วิธี “กระซิบ” เพราะวิธีการสื่อสารแบบนี้ต่างจากที่พวกเขาได้ยินตามปกติ พวกเขาจะหยุดพูดและสนใจฟังคุณ ก็เพราะเด็กๆ อยากรู้มากๆ ว่าคุณพ่อคุณแม่จะพูดอะไร

ทั้งนี้เรื่องการกำหนดกฎเกณฑ์ภายในบ้าน เพื่อสอนให้ลูกได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ รวมไปถึงวินัย และการอยู่ร่วมกันในครอบครัว เป็นการสอนให้ลูกรู้ว่าเมื่อมีกฎเกณฑ์ภายในครอบครัวก็ต้องปฏิบัติตาม  โดยพ่อแม่ควรกำหนดกฎเกณฑ์กติกาภายในบ้าน โดยเริ่มง่ายๆ ได้ดังนี้

  • กฎ กติกา ต้องชัดเจน ปฏิบัติได้ และเข้าใจง่าย
  • ถ้าลูกโตพอ บางเรื่องก็ควรให้ลูกได้ส่วนร่วมในการกำหนดกฎ กติกาภายในบ้านด้วย
  • กฎกติกาต้องมีเหตุผล เหมาะสมกับวัยของเด็กที่จะปฏิบัติได้ ไม่บังคับให้เด็กทำตามความต้องการของพ่อแม่
  • ควรสร้างทางเลือก เพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือก หรือตัดสินใจด้วยตนเอง
  • เมื่อวางกฎ กติกาแล้ว ต้องใช้และยึดถืออย่างสม่ำเสมอ
  • สร้างขั้นตอนของการทำโทษเมื่อผิดกฎ กติกา เริ่มจากเตือนทันทีเมื่อลูกทำผิดกฎ หรือกำหนดบทลงโทษเป็นขั้นตอน โดยต้องรับรู้ร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูกตั้งแต่แรก
  • ชื่นชมเมื่อลูกปฏิบัติได้ตามกฎ กติกาที่วางไว้พ่อแม่ต้องจัดการอารมณ์ของตัวเองก่อน ถ้ากรณีที่ลูกไม่เชื่อฟัง ต้องมีเทคนิคในการลงโทษที่ลูกเหมาะสมกับวัยด้วย

อ่านต่อ >> 6 วิธี แม่ดุลูก ให้ได้ผล ลูกเชื่อฟัง 100%” คลิกหน้า 3


ข้อมูลอ้างอิงจาก : www.thaichildrights.org , www.manager.co.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up