แนะ แอพพลิเคชัน ที่พ่อแม่ควรมี NetCare แอพฯ ดีช่วยป้องกัน เด็กติดจอ แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ลูกติดยูทูป ง่ายๆ พ่อแม่ทำได้แค่ปลายนิ้ว
แนะวิธี แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ด้วยแอพพลิเคชัน NetCare
เรียกได้ว่า แท็บเล็ต หรือ สมาร์ตโฟน กับอินเตอร์เน็ต ถือเป็นไอเท็มสำคัญที่เด็กยุคนี้ขาดไม่ได้ เรียกได้ว่าเกือบทุกบ้าน ที่เด็กๆ จะมีติดตัวไว้กันคนละเครื่องก็ว่าได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เหมือนดาบ 2 คมที่มีทั้งด้านเป็นประโยชน์และด้านที่ให้โทษกับเด็กๆ แน่นอนว่าลูกน้อยสามารถค้นหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็วมากขึ้น รวมถึงยังได้รับความบันเทิงต่างๆ ที่มาในรูปแบบภาพยนต์ เพลง และเกม แต่เมื่อใช้เป็นระยะเวลานานจะทำให้เด็กเกิดภาวะเสพติดอินเตอร์เน็ต
- ลูกติดมือถือ ติดจอ แก้ไขอย่างไร ?
- ลูกติดจอ ติดมือถือ แก้ได้ด้วยกฎ 3 ต้อง 3 ไม่
- อุทาหรณ์! ลูกติดจอรุนแรงระงับอารมณ์ไม่ได้
เพราะเมื่อเด็กมีมือถือซึ่งรองรับอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว สิ่งต่างๆ ที่เด็กต้องการอยากรู้ อยากดู อยากเห็น ก็สามารถตอบสนองได้ในเวลาอันรวดเร็ว จนทำให้เด็กใช้เวลากับหน้าจอมากเกินความจำเป็น จนบางครั้งก็อาจจะเกินเลยเวลากิน เวลานอน เวลาพักผ่อน และเวลาเรียน รวมถึงส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายที่เห็นได้ชัดที่สุด ก็คือ ปัญหาสุขภาพตา
- ติดจอ เล่นสมาร์ทโฟนหนัก เสี่ยงภัยทางสายตา
- ลูกสมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย เริ่มเป็นเด็กก้าวร้าว เพราะติดไอแพด
- ผลเสียของการให้ลูกเล่นโทรศัพท์ ทารกดูมือถือนานกระทบต่อความฉลาด!
และอีกสิ่งที่น่ากังวลที่สุดก็คือ ผลกระทบด้านสุขภาพจิต เด็กอาจจะเสพสื่อต่างๆ ผ่านโซเชียลมีเดียหรือการเล่นเกมที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และคิดวิเคราะห์ได้ จนอาจจะก่อให้เกิดอารมณ์ก้าวราวรุนแรงหรือเป็นโรคซึมเศร้าได้ จึงเป็นสำคัญมากที่พ่อแม่ต้องหมั่นดูแลเอาใส่ใจอย่างใกล้ชิด
ดังนั้นหากไม่อยากให้ลูกกลายเป็นเด็กติดจอ ติดมือถือ ทีมแม่ ABK มี แอพพลิเคชั่นสุดเริ่ดจากสำนักงาน กสทช. มาแนะนำ นั่นคือ APP NetCare แอพฯ ดีช่วยป้องกัน เด็กติดจอ แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ลูกติดยูทูป ง่ายๆ พ่อแม่ทำได้แค่ปลายนิ้ว
เป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถช่วย แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ดูแลเรื่องเวลาการใช้สมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตของลูกน้อยอย่างเหมาะสม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถดาวน์โหลดไปติดตั้งบนอุปกรณ์สมาร์โฟนหรือแท็บเล็ตของลูกได้ พร้อมทำการตั้งค่าควบคุมการใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยแอปพลิเคชัน “NetCare” ประกอบด้วย 4 ฟังก์ชันหลัก เพื่อดูแลการใช้งานอินเทอร์เน็ตตามกติกาที่ตกลงกับลูกไว้ ได้แก่
- ฟังก์ชันที่ 1 กำหนดระยะเวลาการใช้งาน โดยสามารถตั้งจำนวนชั่วโมงที่ต้องการให้ใช้งานได้ในแต่ละวัน เช่น วันจันทร์ถึงศุกร์ ใช้ได้ 2 ชั่วโมงต่อวัน วันหยุดหรือเสาร์อาทิตย์ ใช้ได้ 3 ชั่วโมงต่อวัน
- ฟังก์ชันที่ 2 กำหนดช่วงเวลาการใช้งาน โดยสามารถระบุช่วงเวลาที่ให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เช่น ระหว่าง 1 ทุ่มถึง 2 ทุ่ม
- ฟังก์ชันที่ 3 พักการใช้งานบางแอปพลิเคชัน เช่น ต้องการปิดยูทูป แต่เปิดเว็บไซต์ หรือกูเกิลเพื่อใช้ค้นหาข้อมูลได้
- ฟังก์ชันที่ 4 พักการใช้งานอินเทอร์เน็ตทันที นอกจากนี้ ยังมีปุ่มSOS ที่เครื่องลูกไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เมื่อกดใช้งานแอปพลิเคชันจะทำการโทรหาผู้ปกครองทันที พร้อมส่งตำแหน่งที่อยู่ (Location) ไปยังอีเมลที่ผู้ปกครองลงทะเบียนไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนในครอบครัวด้วย
สำหรับการติดตั้งเพื่อใช้งานแอปพลิเคชัน “NetCare” ทำได้ง่าย ๆ โดยการดาวน์โหลด netcare.nbtc ในระบบ Android ที่ Play Store (สำหรับเครื่องเด็กใช้งานได้ใน Version ไม่เกิน 8.0) และสำหรับระบบ iOS สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพื่อใช้เป็นเครื่องแม่ได้ที่ https://netcare.nbtc.go.th/
แนะนำการใช้งานแอปพลิเคชัน NetCare แก้ปัญหาลูกติดมือถือ
แอปพลิเคชัน NetCare (สาธิต) ช่วยแก้ปัญหาลูกติดมือถือ
ขอบคุณคลิปจาก : กสทช. / NBTC Thailand
- ให้ลูกดูมือถือ แท็บเล็ต โทรทัศน์ ตอนกินข้าวช่วยให้กินง่ายจริงหรือ?
- แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ง่ายๆ ด้วย คู่มือตารางเวลา จากกรมสุขภาพจิต
- แม่ต้องรู้! Youtube Kids (ยูทูป คิดส์) คืออะไร กับ 5 ฟังก์ชั่น ควบคุมเนื้อหา เวลาที่ลูกดู
ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่จะใช้แอปเข้าควบคุมลูกๆ พ่อแม่ควรจะอธิบายและทำข้อตกลงกันก่อน ไม่ควรจะห้ามแบบเด็ดขาดจนเกินไป แต่ควรทำข้อตกลงแบ่งเวลาการเล่นให้เหมาะสม รวมถึงหมั่นพาลูกออกไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ผ่อนคลายและใช้เวลาร่วมกับครอบครัวให้มากขึ้น เช่น กินอาหารพร้อมหน้าพร้อมตา โดยทุกคนต้องไม่ก้มดูหน้าจอ, การออกกำลังกายเล่นกีฬาร่วมกัน เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้รับความรักและการดูแลเอาใส่ใจอย่างเต็มที่ก็เป็นอีกหนึ่งทางแก้ปัญหาลูกติดมือถือ ที่ดีและควรทำที่สุด
ทั้งนี้สำหรับวิธี แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ติดจอ ถือเป็นหนึ่งในเรื่องของ TQ: Thinking Quotient หมายถึง ความฉลาดในการคิดดีและมีคุณค่า สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและงานต่าง ๆ ได้ เช่น ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดประยุกต์ ฯลฯ ได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในยุคนี้ที่เด็กสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ มากมายได้อย่างง่ายดาย แต่ยังไม่รู้ว่าอะไรผิดถูก ยังกลั่นกรองไม่เป็น พ่อแม่จึงต้องสอนให้ลูกรู้จักคิดเป็น ไม่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง การบูลลี่ การล่อลวง หรือสิ่งไม่ดีต่างๆ โตขึ้นลูกจะสามารถเป็นคนที่แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถคิดไตร่ตรองสิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด และคิดเลือกทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงาน กสทช. , www.matichon.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่