หยุด โรคแพ้ไม่เป็น โรคร้ายเด็กรุ่นใหม่ ยุคการแข่งขันสูง - amarinbabyandkids

หยุด “โรคแพ้ไม่เป็น” โรคร้ายของเด็กรุ่นใหม่ ในยุคการแข่งขันสูง

Alternative Textaccount_circle
event

โรคแพ้ไม่เป็น

สอนลูกให้รู้จักแพ้ ห่างไกล โรคแพ้ไม่เป็น (ต่อ)

  1. สอนให้ลูกหัดชื่นชมคนอื่น

ลักษณะอย่างหนึ่งของคนที่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา คือ การรู้จักชื่นชมคนอื่น ซึ่งหมายถึง เรายอมรับความสามารถของผู้อื่น ที่จะนำไปสู่การพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นจากการมองเห็นความดีของคนอื่นนั่นเอง เช่น เพื่อนของลูกวาดภาพได้ที่ 1 ก็ควรสอนให้ลูกรู้จักชื่นชม พร้อมกับให้กำลังใจว่า “ถึงลูกจะไม่ได้ที่ 1 แต่ลูกก็เป็นคนเก่งของพ่อแม่ วันนี้ลูกทำได้ดีที่สุดแล้วนะ” เป็นต้น

  1. ไม่จำเป็นต้องให้ลูกชนะทุกครั้ง

เวลาที่พ่อแม่เล่นกับลูก ไม่จำเป็นต้องให้ลูกชนะทุกครั้ง ลองให้ลูกแพ้ดูบ้าง ให้ลูกยอมรับความเป็นจริงว่าการแข่งขันกันนั้นก็มีแพ้มีชนะ ครั้งแรกลูกอาจเสียยใจไม่ยอมแพ้ ไม่อยากแพ้ ก็ไม่เป็นไร พอลูกอารมณ์ดีก็ชวนมาเล่นกันใหม่ให้แพ้บ้างชนะบ้าง  หรือหาโอกาสให้ลูกได้เล่นกับกลุ่มเพื่อนอย่างอิสระ เขาจะได้เรียนรู้กฎกติกา ผลแพ้ชนะ และไม่หวั่นต่อความผิดหวังพ่ายแพ้

  1. หานิทานมาเล่าเปรียบเทียบให้ลูกฟัง

การยกตัวอย่างจากนิทาน เป็นวิธีหนึ่งที่ได้ผลดี คุณพ่อคุณแม่ลองหานิทานมาเล่าเปรียบเทียบให้ลูกฟังเป็นเรื่องง่ายๆ ที่สอนให้เข้าใจถึงเรื่องน้ำใจนักกีฬา จะช่วยให้ลูกทำความเข้าใจกับการแพ้ชนะได้ง่ายขึ้น ผ่านการดำเนินเรื่องของตัวละครในนิทานที่เด็กๆ คุ้นเคยค่ะ

จริงอยู่ ความพ่ายแพ้ย่อมนำมาซึ่งความเสียใจ ผิดหวัง เป็นเรื่องธรรมดา แต่ลูกจะแสดงออกอย่างไรหลังจากเกิดความรู้สึกเหล่านั้น เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้วัคซีนป้องกัน “โรคแพ้ไม่เป็น” เพื่อให้ลูกสนุกกับการแข่งขัน ไม่ว่าแพ้หรือชนะก็ตามค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ บทความน่าสนใจ คลิก

สอนลูกเป็น “ผู้แพ้” อย่างชาญฉลาด

วิธีสอนลูกโตไปไม่ดูถูกคนอื่น รู้แพ้ ชนะ ให้อภัย

บทเรียนจากความพ่ายแพ้ มีคุณค่าเสมอ ตัวอย่างที่ดีที่ควรสอนลูก


ขอบคุณข้อมูลจาก manager.co.thkruwantida.blogspot.com, เฟซบุ๊คสมนึก หงษ์ยิ้ม

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up