ทารกแรกเกิดจะมีหนักเท่าไหร่ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะน้ำหนักทารกแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นกับพันธุกรรม รูปร่างและขนาดของพ่อและแม่ ถ้าพ่อแม่ตัวโต สูงใหญ่ ลูกก็จะเติบโตเร็ว ถ้าพ่อแม่ไม่สูง ตัวเล็กลูกก็จะตัวเล็กกว่าเด็กคนอื่นในช่วงอายุเดียวกัน รวมถึงสุขภาพของคุณแม่ และโภชนาการที่ได้รับตั้งแต่ยังอยู่ในท้อง นอกจากนั้น ก็เป็นไปได้ว่า เด็กอาจน้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง ลดลงชั่วขณะที่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ซึ่งแพทย์จะทำการชักประวัติและตรวจร่างกายเพิ่มเติมเพื่อทำการดูแลในขั้นต่อไป ดังนั้นเกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักของทารกจึงเป็นตัววัดที่ถูกต้อง ไม่ใช่น้ำหนักทารกแรกเกิด
ลูกควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไร?
ก่อนอื่นคุณแม่ต้องทำความเข้าใจด้วยว่าในระหว่างที่ทารกแรกเกิดได้เกิดมานั้นจะมีน้ำหนักลดลงได้หลังคลอด ทั้งนี้เป็นเพราะทารกต้องใช้เวลาสักพักให้เคยชินกับการดื่มนม และหากคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่างกายของคุณเองก็ต้องปรับตัวให้เคยชินกับการผลิตน้ำนมด้วย ส่วนใหญ่น้ำหนักของทารกลดลง 10 % ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด แต่เมื่ออายุประมาณ 10 วันจะเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะไม่เกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักในตอนที่เกิดมา เพราะว่าในระหว่างที่เกิดมานั้นทารกแรกเกิดได้มีการถ่ายปัสสาวะและขี้เทาออกมา
ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ลูกอาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 175 ถึง 225 กรัมต่อสัปดาห์และเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ลูกอาจมีน้ำหนักเป็น 2 เท่าของน้ำหนักตอนแรกเกิด และหลังจากนั้นน้ำหนักของลูกน้อยจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นช้าลง กราฟแสดงการเจริญเติบโตเป็นเพียงแค่แนวทางในการสังเกตเท่านั้น น้ำหนักของลูกอาจน้อยกว่าเกณฑ์เป็นครั้งคราว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวนั้นบางครั้งอาจจะเพิ่มหรือลดเพราะมีปัจจัยอื่นที่ทำให้น้ำหนักตัวของลูกเปลี่ยนแปลง เช่น
- ฟันกำลังจะขึ้น
- ไม่สบายหรือมีอาการเจ็บป่วย
- เพิ่งกินนมหรืออาหารเสร็จ
- เพิ่งถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไป
- ถอดหรือใส่เสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป
ดังนั้น คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะอาจเป็นผลจากการยืดตัว การเจ็บป่วย การปรับตัวกับอาหารเสริมหรืออาจเป็นเพราะการใช้พลังงานในการคืบคลานก็ได้ หากคุณแม่รู้สึกกังวลและมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของลูกน้อย ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง
การเจริญเติบโตของลูกน้อย
ประเมินได้จากกราฟแสดงการเจริญเติบโตตามวัย ไม่ว่าลูกจะตัวใหญ่หรือตัวเล็ก ลูกควรจะมีน้ำหนักขึ้นอย่างสม่ำเสมอและอยู่ในเกณฑ์ปกติที่ระบุในกราฟ อ่านต่อ >> กราฟการเจริญเติบโตของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด – 5 ขวบ
คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบกุมารแพทย์เป็นประจำ เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตและสุขภาพของลูกน้อย และถามคำถามและข้อกังวลที่คุณอาจมีได้