2. ยอมรับในตัวตนของลูก
ยอมรับว่าเด็กก็คือเด็ก ไม่ใช่ผู้ใหญ่ย่อส่วน ทำให้เขายังทำอะไรได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ แต่ก็ต้องการโอกาสในการฝึกฝน บางครั้งอาจงอแง หรือทำอะไรที่ไม่เหมาะสม (ซึ่งต้องการให้ผู้ใหญ่ช่วยสอนและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม) หากไม่มีอะไรฉุกเฉินคุณแม่ควรบอกให้เขารู้ก่อนที่จะทำอะไรกับเขา เช่น อุ้มเขา เปลี่ยนเสื้อผ้า ป้อนอาหาร รื้อของในกระเป๋าของเขา เป็นต้น และฝึกให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเองตามวัย ไม่ต้องช่วยเขาทุกอย่างเพราะมองว่าเขายังเด็ก นอกจากนี้ไม่ควรทำให้เขาต้องเป็นนักเรียนก่อนได้เป็นเด็ก (เช่น เร่งเรียนเขียนอ่าน แทนการได้เล่นตามวัยและความสามารถ)
Must read : คำถาม 15 ข้อ ที่พ่อแม่ควรถามลูกเพื่อให้เข้าใจลูกมากขึ้น
3. สร้างเครื่องมือให้ลูกประพฤติดีมีคุณธรรม
พ่อแม่ส่วนใหญ่ต้องการปลูกฝังให้ลูกเป็นคนดีมีคุณธรรม แต่มักใช้วิธีพร่ำพูดสั่งสอน ซึ่งได้ผลน้อย เพื่อให้ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้คุณหมอแนะนำให้คุณแม่ฝึกฝนลูกให้มีลักษณะดังต่อไปนี้เพื่อเป็นเครื่องมือในการประพฤติดีมีคุณธรรมค่ะ
- ควบคุมตนเองได้ ฝึกให้ลูกรู้จักหยุดตัวเองไม่ทำสิ่งที่ไม่ถูก เช่น แย่งของเล่น และเลือกทำสิ่งที่ถูกต้อง เช่น แบ่งปัน
- จัดการอารมณ์ได้ ลูกคงไม่สามารถเข้าอกเข้าใจคนอื่นหรือรับผิดชอบหรือประสบความสำเร็จได้ หากยังเต็มไปด้วยอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ เช่น กังวล หงุดหงิด ตื่นเต้น หรือโกรธ
- รู้ผิดชอบชั่วดี ยับยั้งชั่งใจได้ เมื่อลูกมีวุฒิภาวะมากขึ้น เขาจะตัดสินใจได้มีเหตุมีผลมากขึ้น แต่สิ่งที่จะทำให้เขารู้จักยับยั้งชั่งใจมักเริ่มจากการที่พ่อแม่ตักเตือนก่อนที่เขาจะสามารถเตือนตัวเองได้
- เห็นอกเห็นใจ เข้าใจความคิดและความรู้สึกของคนอื่นที่แตกต่างจากตัวเอง ซึ่งเด็กจะมีวุฒิภาวะในเรื่องนี้ได้หลังอายุ 4 ขวบ
Must read : คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ สอนลูกอย่างไรให้เป็นคนดี?
Must read : 37 แนวทาง เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม!! ตามคำสอนพุทธ เพื่อให้ลูกเป็นคนดีและมีสุข
อ่านต่อ >> “วิธีง่ายๆ เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนปกติ” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่