4. เชื่อมโยงพฤติกรรมกับผลที่เกิดขึ้น
ลูกควรเรียนรู้ว่าผลที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะดีหรือร้าย ล้วนแต่เกิดจากการกระทำและการตัดสินใจของเขา แนนซี่ ไอเซนเบอร์ก นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยอริโซน่ากล่าวว่า “เด็กมีแนวโน้มที่จะเห็นแก่ตัวน้อยลง ใส่ใจคนอื่นมากขึ้นหากพ่อแม่ชี้แนะให้เขารู้ว่าพฤติกรรมของเขาส่งผลต่อคนอื่นอย่างไร ดังนั้นการฝึกวินัยจึงควรสอนมากกว่าแค่ลงโทษ เช่น แทนที่จะดุว่าลูกที่ทำน้ำหกและบังคับให้เช็ด คุณควรชี้ให้เห็นว่าหากน้ำเจิ่งนองจะทำให้คนอื่นลื่นล้มได้ หรือแม้แต่ผลดีที่เกิดขึ้นหลังจากเขาช่วยเหลือคนอื่น เป็นต้น
5. ให้โอกาส
ลูกจะเชื่อมั่นและเข้าใจตนเองได้ เขาต้องเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงไม่ใช่พ่อแม่พร่ำบอกเขา ซึ่งประสบการณ์ตรงเหล่านี้เกิดจากการที่คุณแม่ให้โอกาสเขาได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียน เล่นกีฬา หรือทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ช่วยงานบ้าน ในเด็กที่ยังเล็กหากเขาได้เล่นโดยไม่มีข้อกำหนดตายตัวจะช่วยให้เขาเรียนรู้และสังเกตว่าเขาทำอะไร และเกิดผลอย่างไร ค่อยๆ พัฒนามาเป็นความสามารถและความชอบ จนค้นพบสิ่งที่ตัวเองทำได้และอยากทำในที่สุด ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการทำงานในอนาคต
การอบรมเลี้ยงดูพื้นฐานทั้ง 5 ข้อนี้เป็นหลักคิดเบื้องต้น ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะอื่นประกอบด้วย เช่น ฝึกเป็นโค้ชทางอารมณ์ให้ลูก ฝึกวิธีฟังและพูดกับลูก ฝึกวิเคราะห์และปรับพฤติกรรมลูก เป็นต้น เป็นกำลังใจให้คุณแม่นะคะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- 13 คาถาการเลี้ยงลูกที่ดี ที่พ่อแม่ควรรู้!
- ตัวอย่างเด็กดี ผู้เสียสละและช่วยเหลือสังคม
- อย่าปล่อยให้บุหรี่เป็นจุดเริ่มต้น “ดับอนาคตลูก”
ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร