นิสัยไม่ดี ก้าวร้าว งอแง หากลูกนิสัยไม่น่ารัก อย่าลืมว่าพฤติกรรมเขาเกิดจากพ่อแม่ มาสังเกตสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังทำให้ลูกนิสัยไม่ดีหรือเปล่า
10 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังบ่มเพาะ นิสัยไม่ดี แก่ลูก!!
คำว่า “พ่อแม่” ไม่เพียงเป็นแค่ผู้ให้กำเนิดเท่านั้น แต่หากหมายรวมถึง ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลลูก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัจจัยพื้นฐาน อาหารการกิน การศึกษาเล่าเรียน ความปลอดภัยความเป็นอยู่แล้ว การที่จะเป็นพ่อแม่ที่ดีได้ต้องไม่ควรละเลยการอบรมสั่งสอนให้ลูกมีนิสัยที่ดี เช่น ความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ความซื่อสัตย์ สุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นต้น
การเลี้ยงลูกสำหรับพ่อแม่ทุกคนไม่ใช่เรื่องง่าย ในบางครั้งเรามีความตั้งใจที่จะอบรมเลี้ยงดูลูกเป็นอย่างดี แต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่เป็นดั่งหวัง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น??? อยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองย้อนกลับมามองที่วิธีการของตัวคุณดูว่า วิธีการดังกล่าวใช้ได้ผลกับลูกเราจริงหรือไม่ เพราะบางทฤษฎีอาจเหมาะกับเด็กคนหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะสมกับเด็กทุกคน นอกจากนี้อยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนเข้าใจว่า ตัวเราเองก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีลักษณะการดำเนินชีวิตที่ไม่ได้ถูกต้องไปเสียทุกเรื่อง ในบางครั้งเราอาจทำนิสัยบางอย่างจนเคยชิน จนลืมดูไปว่าสิ่งเหล่านี้อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดการบ่มเพาะนิสัยที่ไม่ดีแก่ลูกก็เป็นได้
10 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังบ่มเพาะ นิสัยไม่ดี แก่ลูก !!
1. ยอมเสมอเมื่อลูกต่อรอง
ทักษะแรกๆ ที่เด็กๆ ทดสอบกับพ่อแม่ คือ การเจรจาต่อรอง เมื่อพวกเขายังเล็ก พวกเขาจะขอขนมเพิ่มหรือนิทานอีกหนึ่งเรื่องเพื่อเลื่อนเวลาเข้านอน โตขึ้นมาหน่อยก็อาจจะเป็นการขอต่อเวลาเล่นเกมส์อีกสักนิด หรือแม้แต่ขอนอนต่ออีกห้านาทีในตอนเช้าเวลาตื่นไปโรงเรียน และอีกห้านาทีไปเรื่อย ๆ เป็นต้น ถึงแม้ว่าทักษะการเจรจาเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการในวัยเด็ก (และเป็นทักษะที่ดีเมื่อพวกเขาเข้าทำงาน ) แต่หากคุณพ่อคุณแม่ยอมให้ลูกต่อรองตามใจของเขาเสมอ จนเสียวินัย และเป็นพ่อแม่เองที่ต้องคอยมาแก้ปัญหา สิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกขาดระเบียบวินัย และโยนความรับผิดชอบของตนเองไปเป็นภาระคนอื่นได้
หยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างไร?
กำหนดขอบเขตกับลูกของคุณให้ชัดเจน หากลูกต่อรองต้องยอม และตั้งอยู่บนเหตุผลของทั้งสองฝ่าย พ่อแม่จะต้องไม่ยอมทำตามข้อต่อรองของลูกไปเรื่อย ๆ การปล่อยให้พวกเด็กต่อรองทำตามแต่ในสิ่งที่ต้องการ และพ่อแม่ยอมจะไม่ช่วยให้ลูกเลิกนิสัยนั้น และอาจติดตัวเป็น นิสัยไม่ดี ในอนาคตเมื่อเขาโตขึ้น แบบสำนวนที่ว่า “ผลัดวันประกันพรุ่ง”
2.เมินเฉย การตี ซึ่งเป็นพฤติกรรมเริ่มต้นของการเกิดความรุนแรง
คุณเป็นพ่อแม่ที่ทำให้พวกลูกไม่เข้าใจว่าทำไมการตีจึงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้อยู่หรือเปล่า?? ในช่วงวัยเด็ก วัยเตาะแตะ เป็นวัยที่เด็กกำลังเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม เด็กจะบ่มเพาะนิสัย และแสดงออกตามความเข้าใจของตนเองที่ได้รับการเลี้ยงดูมา บ่อยครั้งที่เรามักเห็น คุณพ่อคุณแม่บางคนหยุดเสียงร้องไห้ลูกด้วยการลงโทษคนอื่น หรือสิ่งอื่น ให้ลูกรู้สึกพอใจ เช่น เมื่อลูกหกล้มร้องไห้ ก็ให้เดินไปตีพื้นว่าเป็นต้นเหตุให้เขาล้ม ต้องโดนทำโทษ หรือการที่ยอมให้ลูกตีตัวเอง เมื่อโกรธเพียงเพราะเห็นว่าเขายังเด็ก พ่อแม่ทนได้ เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้จะเป็นการบ่มเพาะ นิสัยที่ไม่ดีแก่ลูกในเรื่องของการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา
หรือแม้แต่ในทางกลับกัน การไม่แก้ไขลูกของคุณเมื่อถูกตี ก็เป็นสัญญาณเตือนถึงการบ่มเพาะนิสัยการยอมจำนนต่อความรุนแรงที่ไม่เป็นธรรมเช่นกัน
หยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างไร?
สิ่งสำคัญคือต้องสอนลูกให้มีความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมตามวัย ใช้การแบ่งปันเป็นเครื่องมือในการหยุดการปะทุที่รุนแรง เมื่อเราแบ่งปัน ทุกคนมีความสุข และนั่นคือบทเรียนสำคัญที่เด็กๆ (หรือแม้แต่ผู้ใหญ่) หลายคนต้องได้เรียนรู้ว่าการแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงเสมอไป
3.คุณไม่เคยมอบหมายงานให้ลูกทำ ได้ด้วยตนเอง
แม้ว่าในปัจจุบันหน้าที่หลัก ๆ ของเด็ก คือ การเรียน พ่อแม่บางคนจึงเข้าใจว่าความรับผิดชอบของลูก คือ การเรียนหนังสือให้ได้เกรดดี ๆ ไม่ต้องทำอย่างอื่น แต่ในความจริงแล้ว หากคุณพ่อคุณแม่ลองสอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบตนเองง่าย ๆ ด้วย “งานบ้าน” คุณจะประหลาดใจในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูก
หยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างไร?
หนึ่งในงานหลักที่เราต้องสอนลูก ๆ ของเรา คือ การดูแลทรัพย์สิน ข้าวของเครื่องใช้ และ ห้องส่วนตัวของพวกเขาอย่างไร การมอบหมายหน้าที่ในการดูแล รักษา จัดการข้าวของเครื่องใช้ตัวเอง การทำความสะอาดห้องส่วนตัว การจัดกระเป๋าไปเรียนเอง หรือการจัดกติกาในการซื้อเครื่องเขียนว่าจะซื้อได้เมื่อไหร่ ไม่ใช่ว่าซื้อใหม่ทุกครั้งที่ลูกทำหาย พฤติกรรมประจำวันต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากจะเป็นการสอนลูกในเรื่องความรับผิดชอบแล้ว ยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูก ในเรื่องของการเห็นคุณค่าในตนเอง เขาสามารถจัดการชีวิต (บางเรื่อง) ของเขาได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่คอยแต่รับฟังคำสั่งจากพ่อแม่เท่านั้น
สิ่งที่พ่อแม่ควรระวัง คือ การที่ไม่ถูกใจเมื่อเห็นลูกเก้ ๆ กัง ๆ ในการจัดการเรื่องที่เรามอบหมายให้ แล้วรีบเข้าไปช่วย หรือจัดการเสียเอง สิ่งนั้นจะเป็นสัญญาณบอกลูกของคุณว่าคุณไม่ไว้วางใจในความสามารถของพวกเขาที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง สิ่งสำคัญคือต้องถอยหลัง และปล่อยให้พวกเขาลงมือทำในงานประจำวันง่าย ๆ อย่ากลัวที่จะสอนลูกให้รู้จักวิธีหั่นผักและผลไม้ ช่วยลูก ๆ ของคุณในการวางแผนว่าพวกเขาต้องการให้ห้องของพวกเขาถูกจัดอย่างไร หรือแม้แต่ให้พวกเขาช่วยล้างจาน ซักผ้า หรืองานอื่น ๆ มันอาจจะขัดกับลัทธินิยมความสมบูรณ์แบบของคุณ แต่ในระยะยาว มันจะสอนให้ลูกเคารพตัวเองเหนือสิ่งอื่นใด
4.หยุดพฤติกรรมอาละวาดของลูกด้วยการตามใจ
Temper Tantrum คือ การร้องอาละวาด โวยวาย ล้มตัว ชักดิ้นชักงอของลูกน้อยเป็นการแสดงอารมณ์โกรธหรือไม่พอใจของเด็ก พบได้บ่อยหลังอายุ 1 ขวบ พบมากขึ้นเมื่ออายุ 2-3 ปี และควรจะดีขึ้นหลังอายุ 4 ปี
เด็กอาจมีปัญหาจากการเลี้ยงดูที่เข้มงวดเกินไป และการที่เด็กมีความเป็นตัวของตนเองมากเกินไปจึงเกิดอารมณ์โกรธที่รุนแรง เมื่อไม่ได้ดั่งใจ
หยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างไร?
หากคุณเป็นพ่อแม่ที่อดทน อับอายต่อการอาละวาดของลูก และเลือกที่จะใช้การตามใจลูกเป็นการแก้ปัญหา สิ่งนั่นคือ การบ่มเพาะ นิสัยไม่ดี ให้กับลูกโดยไม่รู้ตัว เรามีคำแนะนำจากคุณหมอเมื่อลูกอาละวาดมาฝาก ดังนี้
- ระหว่างที่เด็กร้องอาละวาด ไม่ควรตามใจ เพราะหากร้องแล้วได้รับความสนใจ หรือ การตอบสนองเด็กจะไม่เลิกทำสิ่งเหล่านี้ เพราะเข้าใจว่าทำแล้วได้สิ่งที่ต้องการ
- ผู้ปกครองอาจเลือกใช้วิธีเมินเฉย ให้เด็กอยู่ในมุมสงบ จนกว่าเด็กจะนิ่งลง โดยผู้ปกครองอาจอยู่ใกล้ ๆ ในระยะที่มองเห็นเด็กได้
- บางครั้งอาจให้ใช้วิธีเบนความสนใจของเด็ก เพราะโดยทั่วไปอาการเหล่านี้ใช้วลาไม่นาน
- ไม่ควรโวยวาย ดุหรือตำหนิเด็กในขณะนั้น เพราะจะยิ่งทำให้เด็กอาละวาดรุนแรงขึ้น และไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
- เมื่อเด็กสงบลงแล้ว ผู้ปกครองควรเข้าไปปลอบโยนชักชวนทำกิจกรรมอื่น อาจจะอธิบายเหตุผลสั้น ๆ เพื่อให้เด็กเข้าใจว่าเพราะเหตุใดจึงไม่อนุญาตให้ทำสิ่งนั้น
- ทุกคนในบ้านที่มีส่วนเลี้ยงดูเด็ก ควรปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน
ที่มา : ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
5. คุณทำตามข้อเรียกร้องของลูก เมื่อลูกบอกว่า “เบื่อ”
บ่อยครั้งที่คุณมักพบว่า ลูกของคุณไม่สนใจทำกิจกรรมอื่นใด นอกจากสิ่งที่เขาชอบเพียงอย่างเดียว เช่น เมื่อพ่อแม่ให้หยุดห่างออกจากหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นโซเซียล การเล่นเกม การดูยูทูป หรือกิจกรรมอื่นใดก็ตาม เด็กมักจะบ่นว่า เบื่อ ไม่มีอะไรทำ ในบางกรณี ความเบื่อนั้นเกิดจากการไม่แน่ใจว่าต้องทำอะไร แสดงให้เห็นว่าลูกไม่มีความใส่ใจในโลกภายนอก หรือตัวคุณเองที่ไม่ได้สร้างบรรยากาศภายในบ้านที่มีความน่าสนใจพอที่จะทำให้ลูก ๆ ของคุณสนใจได้เลย
หยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างไร ?
แทนที่จะทำตามข้อเรียกร้องเมื่อพวกเขาบ่นว่าเบื่อ ปล่อยให้ลูกกลับไปทำกิจกรรมเดิม ให้ใช้โอกาสนี้สร้างพลังให้กับลูกๆ ของคุณ ลองเสนอคำแนะนำที่เป็นทางเลือกสองทาง สองข้อเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาทำได้ (เช่น ช่วยพับผ้าหรือทำการบ้านให้เสร็จ หรือแม้แต่อ่านหนังสือ) การให้อำนาจในการเลือกแก่เด็ก โดยมีตัวเลือก จะช่วยให้พวกเขามีความรู้สึกร่วมได้มากกว่า เด็กจะรู้สึกว่าพวกเขาได้ทำตามสิ่งที่ตนเองต้องการ มากกว่าทำตามคำสั่ง และทำให้ลูก ๆ ได้ตระหนักข้อหนึ่งว่า พวกเขามีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้ แม้จะกำลังเบื่อแต่เขาก็สามารถหาอะไรมาทำแก้เบื่อได้ และจะดีขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไป
อ่านต่อ >>> นิสัยไม่ดี ของลูก อาจเกิดจากการบ่มเพาะนิสัยจากพ่อแม่ แต่จัดการได้ คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่