นิสัยไม่ดี ของลูก อาจเกิดจากการบ่มเพาะนิสัยจากพ่อแม่ แต่จัดการได้
6.คุณยอมทำอาหารมื้อพิเศษแก่ลูก ๆ แม้ไม่ใช่เวลารับประทานอาหาร
อาหารมื้อพิเศษไม่ได้หมายความว่าเป็นอาหารมื้อที่มีความสำคัญ การเฉลิมฉลอง แต่หากเป็นคุณยอมตามใจลูกไม่ต้องมานั่งกินข้าว เมื่อถึงเวลารับประทานอาหารปกติ (มื้อเช้า กลางวัน เย็น ) แต่เมื่อเขารู้สึกหิว ลูกสามารถร้องขอให้คุณพ่อคุณแม่ทำอาหารให้แก่เขาได้ทุกเมื่อ แม้ว่าการทำอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการแก่ลูก ๆ ของเราเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่หน้าที่ของพ่อแม่คนใดที่จะทำอาหารตามสั่งสำหรับผู้กินจู้จี้จุกจิกทุกมื้อ หรือเด็กที่ไม่ยอมกินข้าวตามเวลา ถึงแม้ว่าจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม แต่การทำพฤติกรรมเช่นนี้ของคุณจะบ่มเพาะให้ลูกไม่รู้จักจัดการกับความต้องการของตนเอง และวินัย กฎกติกาของสังคมได้ในอนาคต
หยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างไร?
คุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็ง และทำใจยอมรับว่าการที่ให้ลูกอดอาหารในหนึ่งมื้อนั้น ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงสำหรับสุขภาพของเขา ต้องให้ลูกได้เรียนรู้ว่าหากทำตามใจตัวเอง จนลืมกฎระเบียบที่อยู่ร่วมกัน ผลกระทบจะเกิดกับตัวของเขาเอง และเขาต้องยอมรับมัน แต่สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ไม่ได้หมายถึง ภาวะการเบื่ออาหารในเด็ก ที่เราต้องทำการแก้ไขอย่างถูกวิธีต่อไป เป็นเพียงการตามใจตนเองของลูกจนเสียถึงวินัย กฎกติกาที่ควรปฎิบัติ
7.ปล่อยให้ลูกเอาแต่ใจมากขึ้น ๆ
การแสดงให้พวกเขาเห็นว่าพวกเขาสมควรได้รับสิ่งที่ต้องการในเวลาที่พวกเขาต้องการ ตั้งแต่เวลาหน้าจอที่มากขึ้นไป จนถึงขนมที่มากขึ้น และอะไรก็ตามที่พวกเขาต้องการ เรายอมเพราะเรากลัวลูกจะอาละวาด เพิ่มดีกรีของการบ่น อารมณ์ฉุนเฉียว หรือแสดงความก้าวร้าว ไม่ว่าพ่อแม่จะยอมตามใจลูกแม้รู้ว่าไม่ดี ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม จงรู้ไว่ว่าจะเกิดพฤติกรรมเอาแต่ใจเช่นนี้เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่คุณยอมโดยไร้เหตุผล
หยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างไร?
เช่นเดียวกับการช่วยให้พวกเขาเข้าใจวิธีต่อสู้กับความเบื่อ เด็กที่ต้องการทุกสิ่งมากขึ้นจำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างความต้องการและการเอาแต่ใจ หากไม่สอนพวกเขาถึงความแตกต่าง คุณกำลังทำให้พวกเขาผิดหวังไปตลอดชีวิตเมื่อพวกเขาไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เพราะพ่อแม่ไม่สามารถหาทุกอย่างที่ลูกต้องการได้ เมื่อโตขึ้นสิ่งที่ลูกคาดหวัง หรืออยากได้อาจไม่ใช่สิ่งของที่จะสามารถหาซื้อให้ได้ ในทางกลับกัน หากคุณสอนให้พวกเขารู้จักปรับตัว เมื่อไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการ ช่วยให้พวกเขาพัฒนาความรักตนเอง และความเคารพตนเองในระยะยาว รู้จักรับมือกับสถานการณ์การผิดหวังได้ดีกว่า
8.คุณให้รางวัลด้วยสิ่งของเสมอ
แม้ว่ารางวัลจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่เราปรารถนาได้ง่ายขึ้นก็ตาม แต่หากคุณพ่อคุณแม่ทำเป็นประจำ ตอบแทนการทำดีของลูกด้วยของขวัญพิเศษ หรือรางวัลที่เป็นสิ่งของเสมอ ๆ จะทำให้เกิดเป็นนิสัยไม่ดี ลูกจะเข้าใจได้ว่า หากจะทำสิ่งใดต้องได้รับผลตอบแทนถึงจะมีแรงจูงใจที่จะทำ เกิดระบบการให้รางวัลน้อยลง แต่คาดหวังจากเด็กมากขึ้น
หยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างไร?
แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะอยู่ในฐานะที่สามารถให้รางวัล หรือของขวัญได้อยู่เสมอก็ตาม แต่ให้คำนึงว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็ก ๆ ของเราคือ การที่เราอยู่เคียงข้าง ให้ความรัก ให้กำลังใจแก่พวกเขา ในระหว่างที่กำลังทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด และชี้ให้ลูกเห็นถึงผลลัพธ์ที่ดีหากเขามีความตั้งใจทำสิ่งใดก็ตาม ลูกจะรู้สึกได้ถึงความภาคภูมิใจในตนเอง และมีความอดทนพยายามมากกว่าการทำเพื่อหวังผลรางวัล และในทางตรงกันข้าม หากเกิดความผิดพลาด พลาดหวัง ลูกจะรับได้ถึงผลลัพธ์นั้น และเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นได้มากกว่า การมีเป้าหมายเพียงสิ่งของหรือผลรางวัลเพียงอย่างเดียว
9. คุณไม่สามารถเห็นลูกเศร้าใจ หรือลำบากได้
แน่นอนว่าพ่อแม่ย่อมไม่อยากเห็นลูกเสียใจ หรือลำบาก แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงหากเขาไม่เคยมีประสบการณ์เช่นนี้มาก่อน เมื่อถึงคราวที่เขาต้องเผชิญจะสร้างความยุ่งยากใจให้กับลูกมากกว่าเป็นหลายเท่า ถ้าเราไม่สอนให้พวกเขาอดทนตอนนี้ เรากำลังทำให้ลูกไม่สามารถก้าวข้ามปัญหาได้ต่อไปในอนาคตที่เขาเป็นผู้ใหญ่ที่จะต้องมีความรับผิดชอบ และพบโอกาสแห่งการผิดหวัง หรือเผชิญเรื่องที่ต้องอดทนมากกว่าตอนเด็กมากมายนัก การช่วยแนะนำลูกๆ ของเราให้มีความอดทนสามารถช่วยให้พวกเขามีความนับถือตนเองสูงขึ้น และช่วยให้เขาควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น
หยุดพฤติกรรมเช่นนี้ได้อย่างไร?
แน่นอนว่าผู้ใหญ่หลายคนก็อดทนได้ยากเช่นกัน ดังนั้นหากคุณมีปัญหาในการอดทน ให้ทำงานร่วมกับลูกๆ ของคุณเพื่อที่คุณจะได้เรียนรู้ความอดทนไปด้วยกัน เริ่มต้นเล็ก ๆ เช่น การหยุดพักเมื่อคุณรู้สึกหนักใจ และช่วยเด็ก ๆ ในการควบคุมอารมณ์ที่อาจโกรธหรือถูกกระตุ้นมากเกินไป โดยให้พัก หรือหยุดชั่วคราว การหยุดพัก โดยที่รู้วาตนเองกำลังรู้สึกอย่างไร ต้องทำอย่างไรต่อไป เหล่านี้จะช่วยรีเซ็ตสมองของเรา และทำให้เราทุกคนมีความอดทน และเข้าใจมากขึ้น
10. คุณให้ความต้องการของลูกอยู่เหนือความต้องการของตนเองหรือของคู่ครอง
สำหรับพ่อแม่ที่รู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถทำอะไรให้ลูกได้มากพอ หรือทุ่มเทให้กับการเลี้ยงดูจนมากเกินไป ไม่สามารถบาลานซ์ชีวิตให้ลงตัวได้ คุณยอมทำทุกอย่างเพื่อความต้องการของลูก โดยลืมคำนึงถึงความเป็นจริงของชีวิต ว่าชีวิตของเเรามีหลายด้านที่ต้องการดูแลให้ไปได้พร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นความต้องการของคู่ครอง หรือตัวคุณเอง แม้ว่าคุณจะกล่าวว่าสามารถอดได้ ทนได้ แต่นั่นมักจะมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการดูแลที่เราบกพร่องในส่วนอื่น หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ในชีวิตส่วนตัวของคุณพ่อคุณแม่เองด้วย
หยุดพฤติกรรมนี้ได้อย่างไร?
ความอ่อนล้า ความสัมพันธ์ที่ไม่มีความสุขกับคู่รักหรือเพื่อนและครอบครัวสามารถสร้างความหายนะให้กับชีวิตของเราและลูก ๆ ของเราได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องรู้ว่าไม่จำเป็นต้องทุ่มเททุกสิ่งอย่างเพื่อได้มาซึ่งความต้องการของลูกเพียงอย่างเดียว การกำหนดขอบเขตที่ดีสำหรับสิ่งที่เราทำได้และทำไม่ได้ในแต่ละวัน ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้ดูแลหลีกเลี่ยงความเหนื่อยหน่ายเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เด็กๆ เห็นว่าการดูแลตัวเองและส่งเสริมสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นนั้นให้รางวัลมากกว่าการได้สิ่งที่เราต้องการ มีสิ่งเล็กๆ น้อยๆ มากมายที่เราสามารถทำได้ทุกวันเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะยังคงมีความสุขในความสัมพันธ์ของเรา และเมื่อเรามีความสุข เราก็เป็นพ่อแม่ที่ดีขึ้นด้วย
สรุปสุดท้ายนี้ เราขอหยิบยกคำกล่าวของ คุณหมอโอ๋ เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน จากบทความที่ได้กล่าวถึงแนวคิดสำหรับพ่อแม่ต่อการเลี้ยงดูลูก ๆ ไว้น่าคิด ดังนี้
หมอพบว่าพ่อแม่ปัจจุบันช่างมีความกดดันในการเลี้ยงลูก
อยากให้ลูกออกมาดี เป็นเด็กว่าง่าย ไปไหนใครๆ ก็รัก อยู่ที่ไหนใครๆ ก็ชื่นชม
ยิ่งในยุคโลกออนไลน์ ก็ไม่อยากให้ใครมาว่าลูกตัวเอง
พ่อแม่หลายคนจึงใช้เวลาไปกับการมองหาว่าลูกมีอะไรไม่เหมาะสม คอยเตือน คอยพร่ำสอน คอยต่อว่า คอยกำชับและคอยกำกับ “พฤติกรรม”
เวลาที่มีให้ลูก… จึงเต็มไปด้วยความคาดหวัง
ความคาดหวัง ที่ง่ายต่อการนำมาซึ่ง “อารมณ์เชิงลบ”
บ่น ตำหนิ เปรียบเทียบ ลงโทษ ฯลฯ
…………………………จริงๆ สิ่งที่ลูกๆ ทุกคนต้องการเวลาอยู่กับพ่อแม่ คืออะไรที่แสนง่าย “เวลาแห่งความสุข”
เวลาที่จะได้เล่น ได้ยิ้ม ได้หัวเราะ ได้พบว่าตัวเองใช้ได้ ได้รู้สึกว่าตัวเองมีความหมายกับพ่อแม่…
เวลาที่รู้สึกว่า “ฉันมันก็ดีพอ”
เวลา… ที่พ่อแม่ไม่คอยแต่จ้องมองหาความผิดพลาด แต่เข้าใจในธรรมชาติและชื่นชมสิ่งดีๆ ที่ลูกได้ทำ
………………………เด็กที่มีความผูกพันลึกซึ้งกับคนเลี้ยงดู ร่วมกับความเชื่อว่าตัวเองเป็นคนที่ก็เก่งและใช้ได้ จะฝึกวินัยได้ไม่ยากเย็น
ต่างจากเด็กที่รู้สึกแย่ แถมลึกๆ ก็ไม่ชอบแม่ ไม่ชอบพ่อ จะนำมาซึ่งการดื้อ ต่อต้าน อยากเอาคืนแบบที่เด็กก็ไม่รู้ตัว
ยิ่งบ่น…ยิ่งไม่ทำ
อะไรที่ทำให้พ่อแม่กลุ้มใจ เจ็บช้ำ… ก็ไม่ลังเลอยากจะฝึกวินัยลูกเริ่มจากเรื่องง่ายๆ…
“เป็นความสุขของลูกให้ได้ก่อน”
แล้วคุณจะพบว่า “ลูก” … ไม่ได้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ฝึกวินัยได้ยากเย็น
โดยเฉพาะวินัย…
ที่มาจาก “ข้างใน” และ “ความรัก”
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.slice.ca/เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
[Blogger พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย] พ่อแม่อย่าเห็นลูก “ร้าย” เป็นเรื่องเล่นๆ จนกลายเป็น “ให้ท้าย” ลูก!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่