วิธีลงโทษลูก ไม่ได้มีแค่การตี ผลักดันแก้กฎหมายหยุดความรุนแรงต่อเด็ก
วิธีลงโทษลูก หยุดทำร้ายเด็ก

วิธีลงโทษลูก ไม่ได้มีแค่การตี ผลักดันแก้กฎหมายหยุดความรุนแรงต่อเด็ก!!

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีลงโทษลูก หยุดทำร้ายเด็ก
วิธีลงโทษลูก หยุดทำร้ายเด็ก

 

“ก้าวไกล” ยื่น “ชวน” ผลักดันแก้ ป.แพ่ง ม.1567(2) ห้ามผู้ปกครองลงโทษเฆี่ยนตีหรือลงโทษด้อยค่าลูก หวั่นเด็กกลายเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว

เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 1 กันยายน ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล (ก.ก.) พร้อมด้วย น.ส.ภัสริน รามวงศ์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรค ก.ก. และ น.ส.พนิดา มงคลสวัสดิ์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.สมุทรปราการ เขต 1 ร่วมแถลงข่าวหลังพรรค ก.ก. ยื่นเสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ (31 สิงหาคม)

โดยนายปดิพัทธ์กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 1567(2) เป็นกรณีห้ามผู้ปกครองลงโทษทารุณบุตร จากเดิมบัญญัติไว้ว่า “ผู้ปกครองมีสิทธิทำโทษบุตรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนตามสมควร” ซึ่งคำว่า ตามสมควร มองว่าเป็นคำที่กว้างเกินไปและไม่มีสิทธิเด็กกำกับไว้ แม้จะสอดคล้องกับสุภาษิตรักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี แต่ด้วยหลายบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป การลงโทษบางครั้งทำให้เด็กกลายเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว ส่งผลต่อวงจรความรุนแรงในสังคมระยะยาววิธีลงโทษลูก

นายปดิพัทธ์กล่าวต่อว่า จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ ก้าวแรกเชื่อว่าต้องแก้ไขกฎหมายที่บังคับใช้เป็นเวลานานและไม่เหมาะสม ซึ่งกฎหมายเดิมยังบังคับใช้มานาน จนขณะนี้ก็ยังไม่มีการแก้ไข และทุกปีก็จะเกิดการทารุณกรรมเรื่อยๆ พรรค ก.ก.จึงเสนอให้เพิ่มถ้อยคำ เพื่อขยายคำว่าตามสมควร เป็นว่า “แต่ต้องไม่เป็นการกระทำทารุณกรรม หรือทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจ ไม่เป็นการเฆี่ยนตี หรือทำโทษอื่นใด อันเป็นการด้อยค่า” เพื่อป้องกันการลงโทษที่เป็นการทารุณกรรมทั้งร่างกายและจิตใจ การกดขี่อัตลักษณ์ทางเพศ ทั้งนี้ พรรคก้าวไกลเชื่อว่าการแก้ไขกฎหมายเพียงมาตราเดียวนี้คือ สิ่งที่จะปกป้องเด็กจากการถูกทารุณกรรมทุกรูปแบบได้ จึงขอให้สภาผู้แทนราษฎรสนับสนุน โดยได้ยื่นเรื่องต่อสภา แล้วเพื่อให้ทันการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยหน้า

น.ส.ภัสรินกล่าวว่า นอกจากจะเป็นการแก้กฎหมายเพื่อปกป้องเด็กแล้ว การแก้กฎหมายฉบับนี้ยังสอดคล้องกับหลักการในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก และข้อเสนอแนะของนานาประเทศต่อไทยภายใต้กลไก Universal Periodic Review หรือ UPR รอบที่ 2 พ.ศ.2559 ถึง พ.ศ.2563 ที่รัฐบาลไทยยอมรับว่าจะเร่งในการปรับแก้กฎหมายดังกล่าว แต่ก็เนิ่นช้าเกินกรอบเวลามากว่า 2 ปีแล้ว ไม่เหมือนกับกรณีการปรับแก้กฎหมายอาญาน.ส.ภัสรินกล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องปรับเกณฑ์อายุความรับผิดจาก 10 ปี เป็น 12 ปี ที่รัฐบาลได้เร่งดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการแก้กฎหมายเพียงมาตราเดียวไม่ใช่เรื่องยาก แต่สะท้อนว่ารัฐบาลจริงใจในการแก้ปัญหาหรือไม่มากกว่า และหากมีการแก้มาตรา 1567 (2) ได้จริง เราก็จะได้รับการยอมรับจากนานาประเทศในด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้น

ที่มา : https://www.matichon.co.th

 

จำกัดความคำว่า “ลงโทษ” ให้ชัดเจน !!

จากแนวคิดการแก้กฎหมายดังกล่าวข้างต้น มีจุดประสงค์ให้มีความชัดเจนในการจำกัดความหมายของคำว่า “ลงโทษ” ที่ผู้ปกครอง พ่อแม่สามารถกระทำกับเด็กในปกครอง ได้ตามสมควร ซึ่งเป็นคำว่า “ตามสมควร” นั้นดูจะเป็นความหมายที่กว้างเกินไป หากเราไม่สามารถจำกัดความหมายนี้ลงไปให้ชัดเจนได้จะทำให้เกิดโทษแก่เด็ก เพราะบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่ ผู้ปกครองจะไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือเด็กได้ หากได้รับการกล่าวอ้างว่า การกระทำรุนแรงต่อเด็กนั้น ยังเป็นการลงโทษตามสมควร เท่านั้น ซึ่งมักมีข่าวปรากฎให้เห็นถึงการลงโทษเด็กจากบุคคลในครอบครัวที่เกินกว่าเหตุ กว่าเด็กจะได้รับการช่วยเหลือ ก็บอบช้ำมากเสียแล้ว

รวมข่าวทารุณกรรมเด็กจากคนในครอบครัว ขอบคุณภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์
รวมข่าวทารุณกรรมเด็กจากคนในครอบครัว ขอบคุณภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์

ตีลูก = ผิดกฎหมาย

การตื่นตัวในเรื่องของสิทธิมนุษยชนเด็กในต่างประเทศนั้น มีความเป็นรูปเป็นร่างมากกว่าในประเทศไทยมาก โดยเร็ว ๆ นี้ ในเวลส์ ก็เป็นอีกหนึ่งที่เริ่มประกาศใช้กฎหมายห้ามลงโทษลูกด้วยวิธีการทำร้ายร่างกายทุกรูปแบบ มีความผิดข้อหาทำร้ายร่างกาย ก่อนหน้านี้ สกอตแลนด์เป็นประเทศแรกในสหราชอาณาจักรที่นำร่องออกกฎหมายห้ามผู้ปกครองลงโทษเด็กด้วยการทำร้ายร่างกายเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2020

“ช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์สำหรับสิทธิมนุษยชนเด็ก” เวลล์เริ่มใช้กฎหมายห้ามพ่อแม่ รวมถึงผู้ปกครองลงโทษลูกด้วยวิธีการทำร้ายร่างกายทุกรูปแบบ โดยให้มีผลตั้งแต่วันนี้ (21 มีนาคม) เป็นต้นไป

กฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อป้องกันการทำร้ายร่างกายเด็กโดยอ้าง ‘ความสมเหตุสมผล’ ผู้ปกครองหรือใครก็ตามที่ทำร้ายร่างกายเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการตบ ตี หรือเขย่าตัวแรงๆ จะถูกจับกุมและดำเนินคดีตามกฎหมายในข้อหาทำร้ายร่างกาย โดยกฎหมายฉบับนี้จะบังคับใช้กับพลเมืองเวลส์ทุกคน รวมถึงผู้มาเยือนด้วย

จูลี่ มอร์แกน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงบริการสังคมของเวลส์เปิดเผยว่า นี่เป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์สำหรับสิทธิมนุษยชนเด็ก เรากำลังทำให้การลงโทษเด็กด้วยการทำร้ายร่างกายกลายเป็นอดีต พร้อมกล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แนวคิดและทัศนคติของผู้คนเปลี่ยนไปแล้ว เหลือครอบครัวไม่มากที่ยังใช้วิธีการลงโทษทางร่างกาย “วัฒนธรรมได้เปลี่ยนไปแล้ว และฉันคิดว่ากฎหมายนี้จะตอกย้ำความจริงข้อนั้น”

ที่มา : https://thematter.co

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยเราจะเริ่มตระหนักถึง สิทธิมนุษยชนเด็ก ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะเยาวชนจะเติบโตขึ้นมาเป็นประชากรที่มีคุณภาพมากน้อยเพียงใด นั่นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในวัยเด็กด้วยเช่นกัน การที่เด็กได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีในวัยเด็ก ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดปัญหาต่ออนาคตของเด็กผู้นั้น แต่จะก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นมาได้ในอนาคตเช่นกัน มาร่วมกันผลักดัน สอดส่อง และปลูกฝังความรู้ ค่านิยม และวิธีการไม่ให้เด็กถูกละเมิดในสิทธิ และถูกทำร้ายทั้งร่างกาย และจิตใจกันไปมากกว่านี้อีกเลย

 

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

สู่ขวัญ บูลกุล เผย เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็นคนเก่งและดี

เมื่อ กตัญญูหมายถึง สิ่งกดดันลูก”ไม่ได้ขอมาเกิด”จึงอุบัติขึ้น

พ่อแม่เช็กด่วน! หลังจิตแพทย์เตือน! เลี้ยงลูกระวังเสี่ยง ภาวะเด็กถูกเร่ง

รวม 84 พฤติกรรม “ทำร้ายจิตใจลูก” สร้างบาดแผลในใจให้ลูกไปจนโต

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up