หยุด! ทำโทษลูก รุนแรง...ระวังผิดกฎหมาย - amarinbabyandkids
ทำโทษลูก

หยุด! ทำโทษลูกรุนแรง…ระวังผิดกฎหมาย

Alternative Textaccount_circle
event
ทำโทษลูก
ทำโทษลูก

5 ไม้เด็ด วิธีลงโทษลูก ของคุณแม่ชาวตะวันตก

เมื่อลูกทำกระทำผิด มีคุณพ่อคุณแม่มากมายกังวลว่าใช้วิธีการอะไรมาลงโทษลูกดี การทำโทษลูก ไม่ได้มีแต่ตีหรือดุลูกเท่านั้น อันที่จริง ในสายตาของคุณแม่ชาวตะวันตก การลงโทษลูกเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ตั้งแต่เป็นทารกจนถึงเรียนหนังสือ เมื่อลูกทำผิดมักใช้วิธีการลงโทษ 5 ข้อ เพื่อแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูกดังต่อไปนี้

  1. ใช้ท่าทีที่สงบเพื่อสยบความเอาแต่ใจของลูก

ในประเทศแถบยุโรป การตีลูกเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ดังนั้น มีผู้ปกครองจำนวนน้อยมากที่จะลงไม้ลงมือกับลูก คุณแม่ชาวตะวันตกเหล่านี้ นิยมใช้ท่าทีที่สงบเยือกเย็นมาแก้ปัญหา เพราะบางครั้งเด็กมักตั้งใจที่จะทำผิด เพื่อดึงดูดความสนใจจากพ่อแม่ หรือหวังว่าการเอาแต่ใจของตนครั้งนี้จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตนเองต้องการได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ตกไปในกับดักของเด็ก เด็กก็จะไม่ทำผิดแบบเดียวกันนี้อีกต่อไป

ยกอย่างเช่น เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกร้องไห้งอแงส่งเสียงดังแบบไม่มีเหตุผลในสถานที่สาธารณะ ถ้าไม่ส่งผลกระทบต่อคนอื่น คุณแม่ชาวตะวันตกมักจะทำเหมือนไม่เห็นสภาพนี้ ให้ลูกพูดหรือร้องไห้ต่อไป แต่ถ้าจะส่งผลกระทบกับคนอื่น คุณแม่ก็จะอุ้มเด็กออกไปทันที และวางลูกลงในสถานที่ค่อนข้างกว้างขวางและเงียบ ไม่รบกวนคนอื่น แล้วปล่อยให้ลูกร้องงอแงต่อไป จนกว่าลูกจะหยุดการกระทำที่ไม่ถูกต้องนี้

การใช้ท่าทีสงบเยือกเย็นนี้ ก็เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบถึงผลพวงจากการผิดของตนเอง เข้าใจว่าพ่อแม่ไม่ให้การสนับสนุนการกระทำนี้ของตน แล้วเด็กก็จะได้หลีกเลี่ยงกระทำผิดนี้ต่อไป

ทำโทษลูก
เครดิตภาพ : wisegeek
  1. ก่อนลงโทษลูกต้องเตือนให้รู้ล่วงหน้าก่อน

ขณะที่พ่อแม่อยากลงโทษลูก ควรเพิ่มความใจเย็น ระงับความโกรธไว้ก่อนแล้วใช้วิธีเตือนให้ลูกรู้ล่วงหน้าว่าทำอย่างนี้จะต้องถูกลงโทษ บอกลูกให้รับรู้อย่างชัดเจนก่อนว่า ถ้าทำผิดซ้ำอีกจะถูกตีมือ 5 ครั้ง หรือว่ายึดของเล่น หรือลงโทษให้เขียนหนังสือสารภาพผิด เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะสามารถทำให้ลูกเข้าใจความคิดเห็นของพ่อแม่ได้อย่างรวดเร็ว

ยกตัวอย่างเช่น มีเด็กอายุ 4 ขวบ มีอยู่ครั้งหนึ่งคุณแม่พาเด็กคนนี้ไปรับประทานอาหารในร้านอาหาร เด็กซนมาก เจตนาทิ้งมีดและส้อมลงบนพื้นรอคุณแม่หยิบมันขึ้นมา หลังคุณแม่ช่วยหยิบขึ้นมา เด็กก็ทิ้งอีกครั้ง ขณะนั้น คุณแม่ก็กล่าวเตือนว่า ถ้าแม่หยิบมีดและส้อม แล้วลูกทิ้งอีกครั้ง แม่ก็ไม่อนุญาตให้ลูกกินข้าวแล้ว หิวข้าวแล้วก็ไม่ให้กิน เด็กฟังแล้วก็รีบนั่งดีๆ

แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังว่า ถ้าพูดแล้วต้องทำจริง คือ ถ้าลูกยังเจตนาทำอีก และอยากจะท้าทายอำนาจของพ่อแม่ การลงโทษของพ่อแม่ต้องดำเนินไป อย่าให้ลูกมีโอกาสที่รอดจากการทำโทษ เพราะถ้าพ่อแม่ไม่ลงโทษ ก็ยากที่จะสั่งสอนลูกได้ในอนาคต เพราะการลงโทษของคุณเสียประสิทธิภาพ

  1. ใช้สายตาที่เข้มงวดหยุดการกระทำผิดของลูก

พ่อแม่จะใช้สายตาที่เข้มงวดหยุดการกระทำผิดของลูก เพื่อให้ลูกตระหนักว่าความผิดพลาดของตัวเองจะเป็นปัญหาต่อตัวเองและคนอื่นๆ จำเป็นต้องหยุดทันที ขณะที่คุณใช้สายตาที่เข้มงวดสั่งสอนลูก อาจจะย่อตัวลงและมองตาเด็ก บอกว่าตรงไหนที่ทำผิด เด็กจึงจะแก้ไขข้อบกพร่องได้ถูกจุด

ยกตัวอย่างเช่น มีเด็กเพิ่งเข้าเรียนระดับประถม คุณแม่พบว่าลูกเรียนพูดคำหยาบจากเด็กคนอื่น คุณแม่โกรธมาก แต่เธอไม่ตี และใช้สายตามองลูกอย่างเข้มงวดแทน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การกระทำที่พูดคำหยาบของลูกทำให้แม่ไม่ดีใจ หลังจากลูกเห็นสายตานี้ของคุณแม่ก็หยุดพูด คุณแม่ท่านี้ยังสั่งสอนลูกด้วยความอดทนว่า การพูดคำหยาบเป็นการกระทำที่ไม่ดีเหมือนขาดการอบรมลงสอน เราไม่ควรพูดคำหยาบไปแกล้งคนอื่น เพราะเป็นการกระทำที่ทำให้คนรู้สึกความอับอาย ผลคือลูกของเธอฟังแล้วก็ไม่พูดคำหยาบต่อไป

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ “วิธีลงโทษลูก ของคุณแม่ชาวตะวันตก ข้อ 4-5” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up