เมื่อ กตัญญูหมายถึง สิ่งกดดันลูก"ไม่ได้ขอมาเกิด"จึงอุบัติขึ้น - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ไม่ได้ขอมาเกิด กับขอบเขตความหมาย กตัญญูหมายถึง

เมื่อ กตัญญูหมายถึง สิ่งกดดันลูก”ไม่ได้ขอมาเกิด”จึงอุบัติขึ้น

Alternative Textaccount_circle
event
ไม่ได้ขอมาเกิด กับขอบเขตความหมาย กตัญญูหมายถึง
ไม่ได้ขอมาเกิด กับขอบเขตความหมาย กตัญญูหมายถึง

กตัญญูกตเวที??

นิทานในมังคลัตถทีปนี เล่าเรื่องชายหนุ่มที่หมอสั่งว่าให้ออกไปหากระต่าย เพื่อเอาเนื้อมาทำยารักษาแม่ แน่นอนว่า เขาทำเช่นนั้นเพราะความกตัญญู แต่เมื่อไปเจอกระต่ายในป่า ก็เกิดสงสารและเกิดความคิดขึ้นมาว่า “การฆ่าชีวิตหนึ่งเพื่อชดเชย/ช่วยชีวิตหนึ่ง เป็นสิ่งที่ไม่ควร” เขาจึงตัดสินใจกลับบ้านโดยไม่มีเนื้อกระต่ายติดตัวไป แต่ผลที่ได้คือ เพราะอานุภาพของศีล (ความเมตตาและไม่ละเมิดชีวิตผู้อื่น) แม่ของเขาก็หายป่วย

ที่มา : https://prachatai.com

จากนิทานธรรมะที่หยิบยกมานี้ จะกล่าวได้ว่าชายหนุ่มนั้นเป็นคนกตัญญู หรืออกตัญญูกันแน่นั้น เพราะเขาไม่พยายามที่จะช่วยเหลือแม่ด้วยการฆ่าสัตว์มาให้แม่ได้มีชีวิตดำรงอยู่ต่อไป แต่หากยึดตามแนวคิดพูทธ การฆ่าสัตว์แม้เพื่อเป็นอาหาร ดำรงชีพ หรือทำยาก็ไม่ควรทั้งสิ้น จึงนับเป็นประเด็นให้ถกเถียงกันว่า ความกตัญญูเมื่อไปขัดแย้งกับหลักอื่น ๆ แล้วเราควรเลือกแบบใด แต่ในนิทานก็แสดงให้เราได้เห็นแล้วว่า การแสดงความกตัญญูกตเวทีนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำทางตรงเพียงเท่านั้น การที่ชายหนุ่มอยู่ในศีล ในธรรม ผลบุญเหล่านั้นก็ส่งผลให้แม่ของเขาหายป่วย นี่ก็นับว่าเป็นการแสดงความกตัญญูในอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน

ไม่ได้ขอมาเกิด พ่อแม่เป็นคนอยากได้ลูกเอง
ไม่ได้ขอมาเกิด พ่อแม่เป็นคนอยากได้ลูกเอง

“ไม่ได้ขอมาเกิด” ตรรกะเด็กรุ่นใหม่ หรือถูกกดดัน!!

เมื่อไม่นานมานี้ เราเริ่มได้ยินเด็กยุคใหม่มีคำพูดที่ไม่น่าสบายใจต่อพ่อแม่ขึ้นมาว่า ไม่ได้ขอมาเกิด เขาไม่ได้เป็นคนอยากมาเกิด พ่อแม่ต่างหากที่ต้องการให้พวกเขาเกิดมา หรือลูกไม่ได้ขอเกิด เมื่อคุณสร้างเขาขึ้นมา ก็ต้องรับผิดชอบการกระทำของตนเองในการให้การเลี้ยงดู เป็นต้น จนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ถึงตรรกะของเด็กยุคนี้ ว่ากำลังผิดเพี้ยนกันไปหรือไม่อย่างไร

บุพการี ที่เราได้หยิบยกมาให้ทำความเข้าใจกันไปก่อนหน้านั้น คงจะพอเป็นแนวทางในการหาคำตอบของปัญหาในเรื่องนี้ได้บ้าง เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้สำรวจพฤติกรรมของตัวเองแล้วว่า เราแสดงความเป็นบุพการีต่อลูกมากแค่ไหนกัน สำรวจด้วยใจที่เป็นธรรม เราอาจจะพบต้นเหตุของปัญหาที่แฝงอยู่ในปัญหาที่สังคมกล่าวหาว่า เด็กยุคใหม่มีตรรกะวิบัติก็เป็นได้

คุณบุณฑริกา แซ่ตั้ง เจ้าของเพจ “ไม่อยากกลับบ้าน” เปิดประเด็น “พวกเขา(พ่อแม่ผู้ปกครอง)มีอำนาจในการตัดสินใจ บางคนแทบชี้เป็นชี้ตายได้เลยด้วยซ้ำ นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการควบคุมจิตใจของลูกอีก ลูกบางคนต้องเรียนหนังสือหรือเลือกคณะที่ตัวเองไม่ได้อยากเรียนแต่พ่อแม่เลือกให้ เพราะพ่อแม่เป็นคนจ่ายค่าเล่าเรียน แล้วเขาก็ยกเรื่องบุญคุณขึ้นมาเป็นข้ออ้างในการทำร้ายร่างกายและจิตใจลูก นั่นเป็นเพราะความเข้าใจที่มีต่อเด็กมีไม่มากพอ พ่อแม่ยึดถืออำนาจมากเกินไปว่าฉันมีภาระในการเลี้ยงดูแล้ว ฉันก็มีอำนาจในการบังคับจิตใจหรือแม้แต่ร่างกายของลูกได้เสมอ”

“ปู่ย่าบอกว่าที่บ้านมีบุญคุณมาก เลี้ยงดูเรามา เป็นบุญแค่ไหนแล้วที่ได้เกิดมาเป็นคน การทำให้พ่อแม่รู้สึกแย่เป็นบาปกรรม นรกจะกินหัว เด็กสัมผัสและประเมินได้อยู่แล้วว่าใครมีอำนาจเหนือกว่าเขา และยิ่งโดนตอกย้ำลงไปอีกด้วยคำว่าบาปกรรม ความเชื่อเรื่องอำนาจมันเลยฝังหัว แล้วเป็นสิ่งที่ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ ห้ามขัดขืน” คุณจอมเทียน จันสมรัก นักกิจกรรมด้านความรุนแรงทางเพศ เสริม

ความเชื่อที่ว่าพ่อแม่เป็นผู้มีพระคุณ ทำให้พ่อแม่เชื่อว่าตัวเองมีอำนาจเหนือลูกและสามารถกำหนดชีวิตของลูกได้ พ่อแม่หลายคนเลือกใช้วิธีการที่รุนแรงในการอบรมสั่งสอนลูก ตั้งแต่การบังคับ ด่าทอ ไปจนถึงการตบตี เมื่อรู้สึกว่าลูกไม่ได้ดั่งใจ โดยอ้าง “ความรัก” และ “ความหวังดี” มาเป็นเหตุผลอธิบายการกระทำความรุนแรงนั้น ๆ โดยไม่คิดว่าการกระทำดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อลูกผู้ถูกกระทำหรือไม่ ซึ่งคุณนิดนก-พนิตชนก ดำเนินธรรม นักเขียนและคุณแม่ท่านหนึ่ง กล่าวว่า เมื่อไรก็ตามที่เราเอาคำว่ารักไปผูกกับความรุนแรง เด็กจะเชื่อมโยงความรักกับการใช้กำลังและความรุนแรง และจะก่อให้เกิดผลเสียตามมาในอนาคต

ที่มา : https://www.sanook.com
ให้อิสระทางความคิดลูก พ่อแม่เป็นผู้ให้คำแนะนำจะดีกว่าไหม
ให้อิสระทางความคิดลูก พ่อแม่เป็นผู้ให้คำแนะนำจะดีกว่าไหม

เก็บมาฝาก…กตัญญู ในมุมมองหมอเวชศาสตร์วัยรุ่น!!

ถ้าเรามองกันแค่คำพูดที่สาดใส่กันไปมา เราก็จะเห็นแต่ “เด็กอกตัญญู” กับ “พ่อแม่ชอบทวงบุญคุณ”
แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป ใต้คำว่า “พ่อแม่อย่าทวงบุญคุณ” เราอาจจะพบความโกรธ ความอึดอัดคับข้องใจ ความต้องการความเข้าใจ และ ความต้องการ “การยอมรับ” ในตัวตน
ใต้คำว่า “เด็กอกตัญญู” เราก็จะเจอ ความหวั่นไหว ความต้องการถูกมองเห็นคุณค่า การอยากได้รับการยอมรับจากคนที่รัก การอยากได้ความรู้สึกมั่นคงทางจิตใจ
ใต้คำเหล่านี้ มี “ความต้องการ” ที่ “เข้าใจได้” ในทั้งสองฝ่าย ซ่อนอยู่เสมอ
หมอมีสิ่งที่อยากแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันในสถานการณ์แบบนี้นะคะ
1. อย่ารีบตัดสิน ตีตรา “ เด็กอกตัญญู” “ไม่รู้จักบุญคุณพ่อแม่” คำพูดเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้การสื่อสารใดๆ เข้าถึงใจของกันและกัน
2. จงดีใจที่ได้ยินหรือได้เห็น นี่เป็นสัญญาณบางอย่าง ที่บอกถึงความอึดอัดคับข้องใจ? ความโกรธ? สิ่งสะท้อนความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่? การได้รับรู้สิ่งเหล่านั้นในวันนี้ “ถือเป็นเรื่องโชคดีของชีวิต”
3. แทนการตัดสิน ให้มองหาที่มาของคำพูดร้ายๆ นั้นอยู่เสมอ “ลูกกำลังรู้สึกอะไรนะ” “เค้ากำลังมีความต้องการอะไร”
4. ทำความเข้าใจ ความต้องการ “ที่ไม่ได้รับการตอบสนอง” ของลูกเสมอ และมองว่าเราจะช่วยให้ลูกได้รับมันอย่างไร ในฐานะที่มนุษย์คนหนึ่งควรจะได้รับ
5. ความต้องการการยอมรับในตัวตน ความคิด การตัดสินใจ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะนี่เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
6. สื่อสาร “ความต้องการ” ที่แท้จริงของเราออกไปได้ “แม่ต้องการความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย” “แม่ต้องการรู้สึกว่าตัวเรามีความหมายกับคนที่แม่รัก”
7. ตามธรรมชาติมนุษย์ เรามักจะทำดีกับคนที่เรารัก อย่ากังวลว่าลูกจะไม่กตัญญู เท่ากับควรกังวลว่าเราจะไม่ใช่คนที่ลูกรัก
8. ความรัก เป็นความรู้สึกที่หลายครั้งบังคับกันไม่ได้
9. คนเรารักกัน ที่การ ”ใจดีต่อกัน” ไม่ใช่แค่การเป็นแม่เป็นพ่อ หรือบอกว่าหวังดีแต่กลับเลี้ยงดูแบบทำลาย ทำร้ายตัวตน
10. ความกตัญญู ไม่ได้เกิดจากการสอนให้จำ หรือสั่งให้ทำ ความกตัญญูที่แท้ เกิดจากการอยากตอบแทนสิ่งดีๆ ที่เราได้รับ
11. เป็นสิ่งดีๆ ในชีวิตลูก
12. สอนลูกขอบคุณสิ่งต่างๆ ในชีวิต สอนลูกตอบแทนอะไรกลับไปเท่าที่ทำได้ แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ “เป็นตัวอย่างที่ดีเสมอ”
13. อย่ากังวลคำพูดใคร ถ้าคนเรารักพ่อแม่ ต่อให้ใครหน้าไหนมาบอกว่าไม่ต้องดูแล คำพูดเหล่านั้น มันก็ไม่เคยมีความหมาย
14. *** ในความเป็นจริง พ่อแม่ทุกคนไม่ได้รักลูก พ่อแม่หลายคนก็ทำร้ายลูก อย่าทำให้มายาคติ ว่าพ่อแม่ดีงามอยู่เสมอ ทำให้เราต้องตัดสินใคร จากการไม่เข้าใจบริบทของเค้าจริงๆ
15. พ่อแม่ก็คือมนุษย์ มนุษย์ผู้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบและดีพร้อม จงทำให้เด็กๆเข้าใจความไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบนั้น ขอโทษกันและกันได้ในความผิดพลาด
อีกคำถามสำคัญที่เราควรหันกลับมาถามตัวเอง ในฐานะพ่อแม่
“ การต้องหวังพึ่งพิงลูกในชีวิตข้างหน้า นำมาสู่ความสุขของเราทุกคนจริงๆ หรือ?”
“จะดีกว่ามั้ย ถ้าเราอยู่ในรัฐที่มีสวัสดิการยามแก่ ให้เรารู้สึกมั่นคงปลอดภัย ไม่ต้องหวังพึ่งใคร … ที่ก็ต้องมีชีวิตของตัวเอง”
ผู้อยากให้เรามองอะไรเข้าไปที่ความรู้สึกและความต้องการของกันและกันจริงๆ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

แก้ปัญหาลูกติดมือถือ ง่ายๆ ด้วย คู่มือตารางเวลา จากกรมสุขภาพจิต

ความจริง 10 ข้อ พ่อแม่ต้องรู้ก่อน เลือกโรงเรียนให้ลูก

11 ประโยค ปลอบใจลูก ที่พ่อแม่ควรพูดยามลูกร้องไห้

ยกเลิกเลยไหม? ปักชื่อนักเรียน เมื่อชื่อนำไปสู่คดี ลักพาตัว

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up