เมื่อมีลูกคนที่สอง พ่อแม่ต้องรับมืออย่างไร ไม่โดดเดี่ยวพี่คนโต!! - Amarin Baby & Kids
เมื่อมีลูกคนที่สอง

เมื่อมีลูกคนที่สอง พ่อแม่ต้องรับมืออย่างไร ไม่โดดเดี่ยวพี่คนโต!!

Alternative Textaccount_circle
event
เมื่อมีลูกคนที่สอง
เมื่อมีลูกคนที่สอง

เมื่อมีลูกคนที่สอง พ่อแม่ต้องเตรียมตัวเพิ่มจากเมื่อครั้งมีลูกคนแรกอย่างไรบ้าง ไม่ให้เกิดปัญหาตามมา และทำให้จิตใจของคนพี่ต้องรู้สึกโดดเดี่ยว

เมื่อมีลูกคนที่สอง พ่อแม่ต้องรับมืออย่างไร ไม่โดดเดี่ยวพี่คนโต!!

หลาย ๆ บ้านที่มีการวางแผนครอบครัวกันไว้ว่า ต้องการมีลูก และไม่มีเพียงหนึ่งเท่านั้น ไม่ว่าคุณจะวางแผนมีลูกหลายคนด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตามที ไม่ว่าจะเป็น เพราะต้องการมีลูกมากตามค่านิยมของสังคม ต้องการให้ลูกมีเพื่อน เล่นกินนอนด้วยกัน หรือแม้แต่มีลูกคนที่สองแบบไม่ทันได้ตั้งตัวก็ตามที

สิ่งใดบ้าง ที่จะต้องเตรียมรับมือ เมื่อมีลูกคนที่สอง

  • ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

สิ่งที่เราจะต้องคำนึงถึง เมื่อเกิดตั้งท้องลูกคนที่สองแล้ว อันดับต้น ๆ เลย คือ เรื่องเงินทอง ค่าใช้จ่าย ซึ่งแน่นอนย่อมมีเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากที่ครอบครัวมีเพียงเด็กคนเดียว ก็ต้องดูแลรายได้ที่มีเท่าเดิม กับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีสมาชิกใหม่ ถ้ามีเงินออมมากพอที่สามารถใช้ได้ในยามที่ฉุกเฉินการมีลูกคนที่2 ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร

  • หน้าที่การงาน

นอกจากเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีสมาชิกใหม่แล้ว หน้าที่การงานที่เป็นอาชีพหารายได้ของคุณพ่อคุณแม่ ก็ต้องควรคำนึงถึง เพราะถ้าหน้าที่การงานไม่ค่อยดีหรืออยู่ในช่วงวิกฤติการมีลูกก็จะมีความลำบากเลยทีเดียว หากกำลังยุ่งหรือมีงานต้องทำเยอะต่อเนื่องการมีลูกในช่วงนี้แน่นอนว่าจะต้องมีปัญหา ดังนั้นการรับมือในการมีลูกคนที่ 2 คุณแม่จะต้องเตรียมความพร้อมก่อนตัดสินใจที่จะมีลูก และดูเรื่องหน้าที่การงานเป็นหลักด้วย

  • ความพร้อมด้านสุขภาพ

การตั้งครรภ์ เรื่องสุขภาพของคุณแม่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากสุขภาพไม่พร้อมก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่อคุณแม่หรือลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นจึงควรเช็คสุขภาพของคุณแม่ให้ดี โดยอาจไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลดูก่อนก็ได้ ว่าพร้อมที่จะมีลูกได้หรือไม่

เมื่อมีลูกคนที่สอง
เมื่อมีลูกคนที่สอง
  • รับมือกับการดูแลสุขภาพของคุณแม่

เมื่อตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญ คือ เรื่องอาหารการกิน คุณแม่จะต้องดูแลตัวเองให้เต็มที่ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเตรียมความพร้อมสุขภาพให้แข็งแรง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ  5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลสูง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้คุณแม่จะต้องรับมือให้ได้ ภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างจากการมีลูกคนแรก ตรงที่เราต้องแบ่งเวลามาให้กับคนพี่ด้วยเช่นกัน

  • เตรียมห้องนอนให้พี่คนโต

เมื่อมีลูกคนที่สอง หากลูกคนแรกโตในระดับหนึ่งแล้ว คุณแม่ควรเตรียมความพร้อมจัดหาห้องนอนให้กับลูกคนโตหรือเตรียมแยกห้องนอนให้กับพี่คนโต เพราะเมื่อมีลูกอีกคนคุณแม่จะได้ไม่ต้องเหนื่อยจนเกินไป

สำหรับคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้านการมีลูกคนแรกยังไม่น่าห่วงเท่ากับ มีลูกคนที่สอง เพราะถ้าหากกลับไปทำงานแล้วใครจะดูแลลูกน้อย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณแม่จะต้องวางแผนรับมือตั้งแต่ก่อนมีลูกคนที่ 2 ทั้งนี้ถ้ามีญาติพี่น้องปู่ย่าตายายอยู่ที่บ้านด้วยก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่มีสิ่งที่คุณแม่จะต้องเตรียมรับมือนั่นก็คือการหาคนมาช่วยเลี้ยงดู

  • ช่วงวัยของลูกคนแรก

หากลูกคนแรกยังเล็กเกินไป และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การมีลูกคนที่สองในทันทีก็อาจจะทำให้คุณแม่ต้องเหนื่อยกับการเลี้ยงลูกมากกว่าเดิม และดูแลลูกทั้งสองคนได้ไม่เต็มที่ เพราะฉะนั้นช่วงวัยของลูกคนแรกก็ต้องพร้อมด้วย โดยดูว่าลูกช่วยเหลือตัวเองในบางเรื่องได้หรือยัง หรือให้ลูกเข้าโรงเรียนก่อนก็จะดีมาก

  • ความสะดวกในการไปฝากครรภ์

เมื่อตั้งครรภ์คุณแม่จะต้องไปฝากครรภ์ตามนัดเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะนัดต่อเนื่องทุกเดือน และมีความสำคัญเป็นอย่างมากจึงไม่ควรพลาดการไปตรวจครรภ์ตามนัดเด็ดขาด เพราะฉะนั้นจะต้องดูในเรื่องของความสะดวกด้วย ว่าหากมีลูกคนต่อไป จะมีความสะดวกในการไปฝากครรภ์หรือเปล่า

การรับมือ หรือเช็กความพร้อมก่อนการตัดสินใจมีลูกคนที่สอง ก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะการมีลูกไม่ใช่เรื่องง่าย หากไม่พร้อม และจะยากขึ้นไปอีก เมื่อมีลูกคนที่สอง เพราะเราจะต้องรับมือทั้งสองด้าน ทั้งจากคนพี่ และคนน้อง และอาจมีปัญหาอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นก่อนมีลูกอย่าลืมเช็คความพร้อมกันด้วย

เคล็ดลับ เมื่อมีลูกคนที่สอง …

การพูดคุยกับลูกคนโตเป็นสิ่งสำคัญ พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจกับเด็กในเรื่องที่จะเกิดขึ้นในชีวิตของลูกต่อจากนี้ แน่นอนว่าผู้ใหญ่ก็เช่นกัน การเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต ย่อมนำมาซึ่งความไม่เข้าใจ ความกังวลใจ และอีกหลากหลายความคิดที่อาจเตลิดออกไปได้ ดังนั้นหากมีคนมาทำความเข้าใจในปัญหานั้น ๆ เราย่อมเตรียมตัวได้ดีกว่าใช่ไหม เด็กก็เช่นกัน

เมื่อมีลูกคนทีสอง ต้องเตรียมตัวอย่างไร
เมื่อมีลูกคนทีสอง ต้องเตรียมตัวอย่างไร

หากคุณพ่อคุณแม่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นพูดกับลูกอย่างไรดี วันนี้เราขออนุญาตนำไอเดียของคุณหมออรที่ได้กรุณาเขียนให้แง่คิดไว้ในเพจของคุณหมอเอง เพจเลี้ยงลูกโตไปด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่คุณหมอได้ให้ความรู้กับพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกเอาไว้ หากอยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่เพจของคุณหมอได้เลย มีสาระดี ๆ อีกเพียบ

5 ข้อที่อยากบอกลูกสาวในวันที่เค้ากำลังจะกลายเป็นพี่คนโต

1) บอกกับพี่คนโตว่า “หนูกำลังจะมีน้องแล้วนะ” พร้อมกับชี้ไปที่ท้องให้ดู บอกว่าน้องอยู่ในนี้ หรืออาจจะเอารูปอัลตราซาวด์ให้พี่คนโตดูว่านี่ไง น้องของหนูตัวเล็กๆอยู่ในท้องแม่

2) ให้พี่ได้มีส่วนร่วมกับการเลี้ยงน้องตั้งแต่ในท้อง เช่น หยิบยาวิตามินบำรุงครรภ์ส่งให้คุณแม่กิน หรือเล่นบทบาทสมมติป้อนอาหารให้น้องที่ท้องแม่ พร้อมกับหยอดคำชมว่า “หนูเป็นพี่ที่น่ารักมากเลย น้องโชคดีจังที่มีพี่ที่น่ารักอย่างหนู คอยช่วยดูแล”

3) อ่านนิทานเกี่ยวกับพี่น้องรักกัน อันนี้ช่วยได้มาก ซีรีส์ที่อยากแนะนำเลย คือ น้องเล็กของกุ๋งกิ๋ง มี 3 เล่ม คือ กุ๋งกิ๋งมีน้อง กุ๋งกิ๋งรักน้อง และกุ๋งกิ๋งเล่นกับน้อง ช่วยเตรียมพร้อมลูกคนโตตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จนน้องเกิดออกมา

4) ชวนลูกคนโตเตรียมของขวัญให้น้อง และลองแอบซื้อของขวัญชิ้นเล็กๆไว้ แล้วบอกพี่ว่า #น้องมีของขวัญให้พี่เช่นกัน เพื่อที่พี่จะได้ไม่รู้สึกว่าเค้าไม่ได้เป็นฝ่ายให้อย่างเดียว น้องก็มีของให้เค้านะ (เทคนิคนี้หลายๆคนแนะนำว่าเวิร์คมากค่า หมอก็กำลังเตรียมของขวัญให้เป่าเป้ยอยู่เหมือนกัน)

หลังจากน้องเกิดมาแล้ว สำคัญ คือ ต้องทำให้พี่ยังรู้สึกเป็นที่รัก และได้รับการเอาใจใส่เหมือนเดิม ทุกคนในบ้านรักพี่กับน้องเท่ากันเสมอ

1) บอกพี่ทันทีที่ได้เห็นน้องครั้งแรกว่า “น้องออกมาจากท้องแม่แล้วนะ” และนี่คือน้องที่เค้าช่วยดูแลมาตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่

2) ให้พี่มีส่วนร่วมในการดูแลน้อง เช่น ช่วยหยิบผ้าอ้อมหรือของใช้น้องส่งให้แม่ เพื่อให้พี่รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยดูแลน้อง และชมเชยอย่างเฉพาะเจาะจงทุกครั้ง “หนูเป็นพี่นี่น่ารักมากเลย ช่วยหยิบผ้าอ้อมน้องให้แม่” หรือ “แม่โชคดีจังที่มีพี่อย่างหนูคอยช่วยดูแลน้อง”

3) เอาใจใส่ลูกคนโตเหมือนเดิม หาเวลาทำกิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่เคยทำร่วมกับพี่ก่อนที่น้องจะเกิดมา เช่น เล่านิทานก่อนนอน ถ้าเป็นไปได้ อาจจะฝากน้องไว้กับคุณพ่อหรือญาติคนอื่น แล้วใช้เวลาส่วนตัวกับพี่โดยที่ไม่มีน้องบ้างก็ดีนะคะ

4) หลีกเลี่ยงคำพูดที่ทำให้พี่รู้สึกไม่ดีกับน้อง เช่น “ถ้าน้องเกิดมา หนูจะกลายเป็นหมาหัวเน่าแล้วนะ” ,“ดูสิ เห็นมั้ย น้องไม่เห็นร้องงอแงเหมือนหนูเลย”,“ถ้าดื้ออย่างนี้ แม่จะรักน้องคนเดียวแล้วนะ” เพราะนอกจากจะไม่ทำให้พฤติกรรมของพี่ดีขึ้นแล้ว ยังทำให้พี่ไม่ชอบหน้าน้อง ซึ่งเป็นต้นตอที่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

5)สิ่งที่พ่อแม่ต้องเตรียมใจอย่างสุดท้ายเลยก็คือ #ลูกคนโตอาจงอแงติดแม่มากขึ้น หรือมีพฤติกรรมถดถอย คือ ทำตัวเหมือนเด็กที่ทำอะไรเองไม่ได้ จากที่เคยกินข้าวเองได้ก็อยากให้แม่ป้อน เพราะต้องการให้แม่ดูแลเขาเหมือนเดิม

หน้าที่ของพ่อแม่ คือ เข้าใจ ให้เวลา ไม่ตำหนิที่ลูกงอแง เอาแต่ใจมากขึ้น ชมเยอะๆ ซ้ำๆ บ่อยๆ ว่าลูกเป็นเด็กโต ช่วยเหลือตัวเองได้ เก่งมากแค่ไหน เขาจะได้รู้สึกดี ภูมิใจในตัวเอง และไม่อยากเลียนแบบน้อง

ขอขอบคุณที่มา : เพจเลี้ยงลูกโตไปด้วยกัน

อ่านต่อ >> เมื่อใดควรมีลูกคนที่สอง มีลูกห่างกันแค่ไหนดีนะ คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up