เมื่อมีลูกคนที่สอง พ่อแม่ต้องรับมืออย่างไร ไม่โดดเดี่ยวพี่คนโต!! - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
เมื่อมีลูกคนที่สอง

เมื่อมีลูกคนที่สอง พ่อแม่ต้องรับมืออย่างไร ไม่โดดเดี่ยวพี่คนโต!!

Alternative Textaccount_circle
event
เมื่อมีลูกคนที่สอง
เมื่อมีลูกคนที่สอง

เมื่อใดควรมีลูกคนที่สอง

หากคุณพ่อคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงวางแผนการมีลูกคนที่สอง สิ่งที่เป็นคำถามในใจ พ่อแม่หลาย ๆ คน คือ เมื่อไหร่ที่ควรจะมีลูกคนที่สอง ลูกควรมีอายุห่างกันแค่ไหนถึงจะดีกันนะ หากอยากได้คำตอบจากคำถามนี้ เราลองมาคิดตาม หาคำตอบจากประสบการณ์ และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญกันดูดีกว่า

“การศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่าช่วงเวลาที่สั้นกว่า 18 เดือนมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อทารกเพิ่มขึ้น รวมถึงการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำ” ดร.แฮโรลด์ กล่าวใน การศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน JAMA Internal Medicine พบว่าอาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของสตรีมีครรภ์

WHO (องค์การอนามัยโลก) บอกไว้ที่ตัวเลข 24 เดือน (2 ปี) ราชวิทยาลัยสูติ-นรีเวชฯ สหรัฐอเมริกา ให้เลขไว้ที่ 18 เดือน ซึ่งจากการศึกษาพบว่าหากเว้นช่วงการตั้งครรภ์ที่มากเกินไปก็เสี่ยงเช่นกัน โดยพบว่าหากตั้งครรภ์ห่างกันเกิน 5 ปี คุณแม่เองจะเพิ่มโอกาสการเกิดความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษได้

ทั้งหมดนี้เป็นการพูดถึง ระยะห่างที่แนะนำในการตั้งครรภ์ของมารดา ในแง่ของการมองปัญหาสุขภาพ ซึ่งใด ๆ ก็แล้วแต่คงต้องอ้างอิงโดยเฉพาะเจาะจงลงไปถึงปัญหาสุขภาพ และความพร้อมของคุณแม่แต่ละท่าน โดยทางที่ดีที่สุดควรไปปรึกษาคุณหมอของคุณเอง ว่าร่างกายเราพร้อมมีลูกใหม่แล้วหรือยัง

ลูกมีอายุห่างกันแค่ไหนถึงจะดี…

อย่ามัวแต่ดูแลลูกคนเล็ก เมื่อมีลูกคนที่สอง
อย่ามัวแต่ดูแลลูกคนเล็ก เมื่อมีลูกคนที่สอง

ห่างกันไม่ถึง 2 ปี

ข้อดี : 

  • ไม่ต้องเรียนรู้กันใหม่ เราสามารถใช้ประสบการณ์เดิมที่เคยเลี้ยงลูกคนแรกมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องเรียนรู้ใหม่ เช่น การใส่ผ้าอ้อมให้ลูก การชงนม การจับเด็กอาบน้ำ เป็นต้น
  • ประหยัด แม้ว่าการมีลูกเพิ่มจะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น แต่เราสามารถประหยัดในเรื่องของข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้า ของเล่น หนังสือนิทาน ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้
  • วิธีการเล่นกับลูก หากเรามีลูกที่อายุไล่เรี่ยกัน เวลาเราเล่นกับลูกทั้งสองคน ก็สามารถเล่นสนุกไปด้วยกันได้ เพราะความสนใจความสนุกจะคล้ายคลึงกันในเด็กวัยใกล้ ๆ กัน
  • หลายคนยังพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบมักจะอิจฉาพี่น้องใหม่น้อยลง

ข้อเสีย :

  • เหนื่อยจนแทบไม่ได้พัก การที่มีลูกเล็ก ๆ ถึงสองคน เป็นเรื่องยากต่อการดูแล และต้องใช้พลังกายพลังใจอย่างมาก บางทีคุณพ่อคุณแม่อาจจะแทบไม่มีเวลาพัก หรือนอนเลยก็เป็นได้

เคล็ดลับ

สังเกตสัญญาณของความอิจฉาในลูกคนโตของคุณ. “เด็กวัย 1-2 ขวบอาจไม่สามารถแสดงความรู้สึกของตัวเองออกมา หรือแม้แต่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงสับสนและโกรธ ดูแลโอบกอดลูกทั้งสองไม่ให้รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง “เมื่อคุณกำลังกอดทารก และลูกคนโตของคุณอยู่ในห้อง คุณสามารถให้เขาช่วยดูแลน้อง เป็นลูกมือในการหยิบของให้แก่แม่ และที่สำคัญอย่าลืมคำชม”

ห่างกัน 2-4 ปี

ข้อดี : นอกจากจะได้รับข้อดีเหมือนกับการมีลูกห่างกันไม่ถึง 2 ปี แล้ว การที่มีลูกห่างกัน 2-4 ปี ยังมีข้อดีเพิ่มขึ้น ดังนี้

  • ช่องว่างที่ใกล้แต่ไม่ชิดเกินไปนี้มีไว้เพื่อรักษาสติของทุกคน และให้เวลากับเด็กแต่ละคนมากขึ้น
  • พี่น้องยังคงอายุใกล้เคียงกันพอที่จะแบ่งปันความสนใจร่วมกัน

ข้อเสีย :

  • คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกว่าต้องวนกลับมาที่จุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เมื่อลูกคนโต เติบโตพอที่จะดูแลตัวเองได้แล้ว อายุ่ประมาณ 2-4 ปี พ่อแม่ย่อมรู้สึกคลายหน้าที่ลงไป มีเวลาส่วนตัวมากขึ้น แต่เมื่อมีลูกคนใหม่ในช่วงนี้ เหมือนกับว่าเราพ่อแม่ต้องเริ่มกลับไปมีชีวิตประจำวันที่ต้องดูแลเด็กเล็กใหม่อีกครั้ง
  • หาคนมาช่วยดูแลลูก ๆ ยากมากขึ้น เพราะการที่เราจะหาพี่เลี้ยงเด็กที่ต้องรับมือทั้งเด็กในวัย 2-4 ปีที่กำลังซน พร้อม ๆ กับเด็กทารกเล็ก ๆ ย่อมเป็นงานยากที่ใคร ๆ ไม่อยากเลือก

เคล็ดลับ

ลูกคนโตของคุณเคยชินกับการที่คุณมีทุกอย่างเป็นของตัวเอง และตอนนี้ เมื่อใดก็ตามที่คุณไม่มีเวลาที่จะเล่นกับเขา ลูกอาจจะรู้สึกหงุดหงิด และรู้สึกไม่ดีกับน้องได้ การบอกลูกว่า ‘ไม่ ‘ บ่อยๆ อาจยิ่งกระตุ้นให้เกิดความอิจฉาริษยา เพราะคุณจะถูกมองว่า “เข้าข้างน้อง” ทางที่ดี คุณควรมอบหมายงานดูแลน้องในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เขารู้สึกมีความสำคัญ และหน้าที่ดูแลน้อง

พี่น้องควรห่างกันกี่ปี
พี่น้องควรห่างกันกี่ปี

ห่างกัน 5 ปี หรือมากกว่านั้น

ข้อดี :

  • เราจะสามารถเลี้ยงลูกได้ในแบบของแต่ละคน เหมือนกับว่าเรามีลูกคนเดียว สองครั้ง เพราะความที่อายุห่างกันมากจนลูกคนโต สามารถเข้าใจตรรกะ และเหตุผลใด ๆ ได้มากแล้ว จนบางทีลูกคนโตจะมาช่วยเลี้ยงน้องได้ และเข้าใจ ดูแลน้องได้ในแบบที่เด็ก ๆ เขาคุยกัน เพราะเด็กจะเข้าใจในเหตุผลในแบบเด็ก ๆ ด้วยกันเองได้มากกว่าผู้ใหญ่

ข้อเสีย :

  • อุปกรณ์การเลี้ยงเด็กต่าง ๆ ของพี่คนโต อาจล้าสมัย หรือเสียหายไปแล้ว ทำให้เราต้องซื้อใหม่

เคล็ดลับ

การมีลูกคนใหม่อาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่มีลูกคนเดียวมานาน การพูดคุยทำความเข้าใจกับพี่จึงเป็นเรื่องสำคัญ และท่าทีของพ่อแม่ด้วยเช่นกัน การให้ลูกทำหน้าที่ช่วยในการดูแลน้องสำหร้บเด็กโตวัยนี้ นอกจากคำชมแล้ว คุณอาจจะต้องเพิ่มสิทธิพิเศษบางอย่างที่ลูกคนโตควรได้รับจากการดูแลน้องอย่างดี เช่น การยอมให้ลูกนอนดึกขึ้นอีกสักนิด หลังจากที่เขาอ่านนิทานก่อนนอนให้น้องฟัง เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก เพจเลี้ยงลูกโตไปด้วยกัน /www.sanook.com/https://www.parents.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

พี่น้อง กับลำดับการเกิดมีผลต่อบุคลิกภาพเราจริงหรือ?

ชี้ทางพ่อแม่ 2 เทคนิคดีและง่าย เลี้ยงลูกให้ “พี่น้องรักกัน”

ลูกชอบสั่งชอบกรี๊ด ทำอย่างไรดี?

ตำนาน ปีนักษัตร ที่มาที่ไป เกี่ยวข้องกับเจ้าชะตาอย่างไร? มีเฉลย!!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up