ฮิคิโคโมริ โรคอันตรายของเด็กที่อยู่แต่ในห้อง กลัวการเข้าสังคม - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ฮิคิโคโมริ

ฮิคิโคโมริ โรคอันตรายของเด็กที่อยู่แต่ในห้อง กลัวการเข้าสังคม

Alternative Textaccount_circle
event
ฮิคิโคโมริ
ฮิคิโคโมริ

การรักษาโรค ฮิคิโคโมริ

จากการวิจัยล่าสุดของ The National Center for Biotechnology Information (NCBI) ของสหรัฐอเมริกา โดยใช้ The Structured Clinical Interview for DSM‐IV Axis I Disorders พบว่า โรคฮิคิโคโมริเป็นโรคที่เกิดขึ้นร่วมกันปัญหาทางจิตเวชหลายอย่าง เช่น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลีกเลี่ยง (Avoidant personality disorder) โรคกังวลต่อการเข้าสังคม (Social anxiety disorder) และ โรคซึมเศร้า (Depression) และมีบางส่วนที่มีอาการคล้ายกับกลุ่มอาการออทิสติก (Autistic spectrum disorders) รวมถึงอาการแฝงหรืออาการนำของโรคจิตเภท (Latent or prodromal states of schizophrenia) ด้วย ดังนั้น หากสงสัยว่าลูกอาจเป็นโรคฮิคิโคโมริ ควรพาเด็กไปพบกับจิตแพทย์ เพื่อวินิจฉัย หาสาเหตุว่าแท้จริงแล้วป่วยเป็นโรคทางจิตประเภทใด เมื่อวินิจฉัยแล้วก็จ่ายยา หรือทำจิตบำบัดเฉพาะโรคไปตามการวินิจฉัยนั้น

hikikomori
ความรักและความเข้าใจ ไม่คาดหวังและยอมรับความผิดหวัง ช่วยป้องกันให้ลูกห่างไกลจากฮิคิโคโมริได้

หลักคิด ท่าน ว. วชิรเมธี เตือนสติพ่อแม่ เลี้ยงลูกให้เป็น

การเลื้ยงดูเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและรักษาโรคฮิคิโคโมริได้ ดังนั้นทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงขอนำหลักคิดของท่าน ว. วชิรเมธี ถึงการเลี้ยงดูลูกอย่างมีสติและเข้าใจลูก ดังนี้

  1. พ่อแม่ส่วนใหญ่ มีความคาดหวังกับลูกสูงมาก จนบางครั้งเกิดเป็นความ “พลาดหวัง” เพราะถูกกดดันมากเกินไป ซึ่งบางครั้งไม่เพียงแต่อยากให้ลูกได้รับการศึกษาเท่านั้น แต่อยากให้ลูกเทียมหน้าเทียมตาคนอื่นด้วย เพราะหันไปทางนี้ก็เพื่อนพ่อ ทางนั้นก็เพื่อนแม่ ส่งผลให้ลูกต้องถูกใส่ความรู้เต็มไปหมด แต่ขาดทักษะความเป็นมนุษย์ในการใช้ชีวิต ดังนั้นพ่อแม่ควรเลิกยัดเยียดความคิดว่าลูกจะต้องทำอันนั้น อันนี้ ขอให้กลับมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เน้นความสุขของเด็กเป็นศูนย์กลาง
  2.  ในด้านความคาดหวังของพ่อแม่นั้น ท่าน ว. วชิรเมธี ให้หลักคิดว่า คนเรามีความหวังให้สูงได้ แต่จะต้องเรียนรู้ และพร้อมยอมรับที่จะอยู่กับความผิดหวังให้ได้ด้วย ดังนั้น ความหวังของพ่อแม่ สามารถจัดสภาพแวดล้อมให้ลูกเดินตามทางที่หวังได้ แต่ถ้าลูกไม่สมหวัง พ่อแม่ต้องรู้ว่า โลกนี้อยู่ 2 ด้าน คือ ชื่นชม และขมขื่น ซึ่งการเลี้ยงลูกของมารดา คือการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง ถ้าลูกทำได้ก็ควรชื่นชม แต่ถ้าไม่เป็นดั่งหวัง ก็จะต้องยอมรับ และไม่ทุ่มความผิดหวังไปที่ลูก แล้วบอกลูกเป็นคนที่ใช้ไม่ได้
  3. คิดบวก-พูดบวก ลูกไม่เสีย Self การใช้คำพูดกับการสอนลูก กับเรื่องนี้ ‘ท่านว.วชิรเมธี’ ให้มุมมองว่า เรื่องทัศนคติเชิงบวก กับการใช้คำพูดทางบวก มีผลต่อลูกมาก ถ้าพ่อแม่ยิ่งตอกย้ำทัศนคติ และคำพูดด้านลบทุกวันๆ เด็กจะทำอะไรไม่เป็นเลย
  4. ให้ความรู้ ความรัก และเวลา งานเลี้ยงลูกของบิดามารดาเปรียบเสมือนงานปั้นพระของศิลปิน ต้องทุ่มเททั้งชีวิต ผลสัมฤทธิ์จึงจะออกมาดั่งที่ปรารถนา ดังนั้น ถ้าต้องการให้ลูกเป็นเด็กดี มีความสุข พ่อแม่ต้องมีความรู้ในการเลี้ยงลูก ให้ความรักกับลูก (เมื่อลูกได้รับความรักเต็มที่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาความรักจากสิ่งอื่นหรือคนอื่น) และมีเวลาให้ลูก

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ใช้ธรรมะสอนลูกอย่างไร…ให้เป็นคนดี! โดย ท่าน ว.วชิรเมธี

วิธีสอนลูกเข้มแข็ง ด้วยวัคซีนใจ 8 เข็ม

5 วิธีช่วย เด็กขี้อาย ก่อนกลายเป็นคนไม่กล้าเข้าสังคม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com, มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว, Mthai, Kapook

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up